ท่านผู้อ่านเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเด็กมัธยมไทยถึงใช้เวลาว่างไปในการกวดวิชากันค่อนข้างมาก บางครั้งเมื่อเลิกเรียนตอนบ่ายแล้วก็ต้องรีบไปสยามให้ทันคอร์สกวดวิชา ฟิสิกส์ เสร็จแล้วก็รีบไปเรียนต่อคอร์สคณิตศาสตร์ที่อีกตึกนึงซึ่งห่างออกไปเกือบกิโล ทำเช่นนี้ซ้ำๆเป็นกิจวัตรประจำวัน บางครั้งมากกว่า 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งอันนี้ยังไม่รวมวันเสาร์อาทิตย์ที่บางคนถึงขั้นต้องออกไปเรียนกันตั้งแต่เช้ายันมืดเลยทีเดียว
ทั้งๆที่เด็กหลายๆคน ก็ไม่ได้เรียนย่ำแย่อะไร กลับกัน เด็กหลายๆคนที่กวดวิชากันหนักๆนั้นเป็นกลุ่มท้อปของห้องเสียด้วยซ้ำ และตรงกันข้าม เด็กที่ไม่เอาดีทางด้านการเรียน (ที่หลายคนเรียกว่าเด็กเกเร) ก็แทบจะไม่กวดวิชากันเลย มันเกิดอะไรขึ้นกัน มาลองดูเหตุผลที่ต้องเรียนกวดวิชาที่ผมได้รวบรวมมาจากหลายๆที่นะครับ
1. ไม่ชอบครูผู้สอน
2. เรียนในห้องเรียนไม่รู้เรื่อง
3. เรียนในห้องเรียนไม่ทันเพื่อน
4. เรียนทันเพื่อนอยู่แล้ว แต่กลัวเพื่อนจะแซง
5. เรียนได้ที่ 1 ของโรงเรียนอยู่แล้ว แต่อยากเก่งกว่าที่ 1 ของโรงเรียนอื่น
6. มาตรฐานแต่ละโรงเรียนต่างกัน
6. อยู่บ้านเฉยๆบางทีก็เบื่อ
7. กวดวิชาได้เจอเพื่อนใหม่ๆ
8. ผู้ปกครองให้ไปเรียน
9. มีความเชื่อว่าเรียนเยอะไว้ก่อนได้เปรียบ
10. เรียนตามเพื่อน
11. ต้องการสูตรลัดที่โรงเรียนไม่สอน
จริงๆแล้ว มีเหตุผลมากกว่านี้อีกเยอะนัก แต่ส่วนมากก็จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกันคือ เรียนเพราะอยากเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คณะที่มีชื่อเสียง ที่จำกัดปริมาณของผู้เข้าเรียน ประเภทว่าคนสมัครเป็นหมื่นแต่รับได้ร้อยคน จึงทำให้เกิดการแข่งขันสูงมาก การอยู่เฉยๆ หรือเรียนแค่วันละ 6 ชั่วโมงตามหลักสูตร ย่อมไม่เพียงพอต่อการแข่งขันแน่นอน ยิ่งเพื่อนๆที่เป็นคู่แข่ง เรียนเอาๆ ซึ่งเปรียบได้กับม้าแข่งที่ จ้ำไม่หยุด แล้วเราจะมามัวเป็นม้าแข่งที่จ้ำๆหยุดๆได้อย่างไร
ในบางครั้งการเรียนกวดวิชามาราธอนมากเกินไป แทนที่จะส่งผลดี กลับส่งผลร้ายให้กับตัวผู้เรียนอย่างจัง นอกจากเรื่องสุขภาพแล้ว ส่วนที่สำคัญอย่างนึงคือ มันจะไม่รู้จริง เนื่องจากโครงสร้างสมองของมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงอายุ 14-17 ปี มักจะมีสมาธิที่สามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ประมาณไม่เกิน 30 นาที แล้วแต่บุคคล หากมากกว่านั้นแล้ว จะเกิดอาการ สมาธิหลุด เอาดื้อๆได้ ซึ่งไม่ส่งผลดีแน่ๆ อุตส่าห์มาเรียนกวดวิชาเพราะว่าเรียนตามเพื่อนไม่ทัน แต่ดันมาสมาธิหลุดในโรงเรียนกวดวิชาทำให้ตามเพื่อนที่กวดวิชาไม่ทันอีก วิธีแก้ปัญหานี้ไม่ยาก แต่บางครั้งสภาพแวดล้อมก็ไม่เอื้ออำนวยนัก วิธีที่ว่านี้คือ พักเบรค สัก 10-20 นาที เพื่อให้สมองหายล้า และกลับมาพร้อมเรียนต่ออีกรอบนึง วิธีนี้สามารถเอาไปใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่จำกัดเฉพาะกับการเรียนกวดวิชากันนะครับ
เขียนไปเขียนมาชักออกทะเล ขอจบไว้เท่านี้ก่อนล่ะกันครับ
ทั้งๆที่เด็กหลายๆคน ก็ไม่ได้เรียนย่ำแย่อะไร กลับกัน เด็กหลายๆคนที่กวดวิชากันหนักๆนั้นเป็นกลุ่มท้อปของห้องเสียด้วยซ้ำ และตรงกันข้าม เด็กที่ไม่เอาดีทางด้านการเรียน (ที่หลายคนเรียกว่าเด็กเกเร) ก็แทบจะไม่กวดวิชากันเลย มันเกิดอะไรขึ้นกัน มาลองดูเหตุผลที่ต้องเรียนกวดวิชาที่ผมได้รวบรวมมาจากหลายๆที่นะครับ
1. ไม่ชอบครูผู้สอน
2. เรียนในห้องเรียนไม่รู้เรื่อง
3. เรียนในห้องเรียนไม่ทันเพื่อน
4. เรียนทันเพื่อนอยู่แล้ว แต่กลัวเพื่อนจะแซง
5. เรียนได้ที่ 1 ของโรงเรียนอยู่แล้ว แต่อยากเก่งกว่าที่ 1 ของโรงเรียนอื่น
6. มาตรฐานแต่ละโรงเรียนต่างกัน
6. อยู่บ้านเฉยๆบางทีก็เบื่อ
7. กวดวิชาได้เจอเพื่อนใหม่ๆ
8. ผู้ปกครองให้ไปเรียน
9. มีความเชื่อว่าเรียนเยอะไว้ก่อนได้เปรียบ
10. เรียนตามเพื่อน
11. ต้องการสูตรลัดที่โรงเรียนไม่สอน
จริงๆแล้ว มีเหตุผลมากกว่านี้อีกเยอะนัก แต่ส่วนมากก็จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกันคือ เรียนเพราะอยากเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คณะที่มีชื่อเสียง ที่จำกัดปริมาณของผู้เข้าเรียน ประเภทว่าคนสมัครเป็นหมื่นแต่รับได้ร้อยคน จึงทำให้เกิดการแข่งขันสูงมาก การอยู่เฉยๆ หรือเรียนแค่วันละ 6 ชั่วโมงตามหลักสูตร ย่อมไม่เพียงพอต่อการแข่งขันแน่นอน ยิ่งเพื่อนๆที่เป็นคู่แข่ง เรียนเอาๆ ซึ่งเปรียบได้กับม้าแข่งที่ จ้ำไม่หยุด แล้วเราจะมามัวเป็นม้าแข่งที่จ้ำๆหยุดๆได้อย่างไร
ในบางครั้งการเรียนกวดวิชามาราธอนมากเกินไป แทนที่จะส่งผลดี กลับส่งผลร้ายให้กับตัวผู้เรียนอย่างจัง นอกจากเรื่องสุขภาพแล้ว ส่วนที่สำคัญอย่างนึงคือ มันจะไม่รู้จริง เนื่องจากโครงสร้างสมองของมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงอายุ 14-17 ปี มักจะมีสมาธิที่สามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ประมาณไม่เกิน 30 นาที แล้วแต่บุคคล หากมากกว่านั้นแล้ว จะเกิดอาการ สมาธิหลุด เอาดื้อๆได้ ซึ่งไม่ส่งผลดีแน่ๆ อุตส่าห์มาเรียนกวดวิชาเพราะว่าเรียนตามเพื่อนไม่ทัน แต่ดันมาสมาธิหลุดในโรงเรียนกวดวิชาทำให้ตามเพื่อนที่กวดวิชาไม่ทันอีก วิธีแก้ปัญหานี้ไม่ยาก แต่บางครั้งสภาพแวดล้อมก็ไม่เอื้ออำนวยนัก วิธีที่ว่านี้คือ พักเบรค สัก 10-20 นาที เพื่อให้สมองหายล้า และกลับมาพร้อมเรียนต่ออีกรอบนึง วิธีนี้สามารถเอาไปใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่จำกัดเฉพาะกับการเรียนกวดวิชากันนะครับ
เขียนไปเขียนมาชักออกทะเล ขอจบไว้เท่านี้ก่อนล่ะกันครับ
Credit http://iam.hunsa.com/tewmathonline/article/71496
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น