วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำ คณะที่เปิดสอนใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์
คณะจิตวิทยา
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
คณะแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
กด CTrL + F แล้วพิมพ์หาชื่อคณะได้ลย

ปล. ทำเป็น Link ในบทควมไม่เป็น T__T



คณะครุศาสตร์

การจัดการเรียนการสอน ในแต่ละมหาวิทยาลัย ก็อาจจะมีแตกต่างกันบ้าง เล็กน้อยแต่ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือสาขาวิชา เช่น สาขาปฐมวัย (สอนเด็กอนุบาล) สาขาประถม(แล้วแยกออกไปว่าจะสอนวิชาเอกอะไร) สาขามัธยม (แล้วก็แยกออกไปว่าจะเรียนเอกการสอนวิชาอะไร) สาขา การศึกษานอกระบบ (เป็นครูสอน กศน.)แล้วก็มีสาขาอื่นๆอีกที่เป็นวิชาเสริม ที่ไม่ใช่วิชาการ เช่น พลศึกษา สุขศึกษาคหกรรมศาสตร์ศึกษา ธุรกิจศึกษา เกษตรกรรม เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว เป็นต้น
การเรียน ตอนนี้เป็นหลักสูตรใหม่ รุ่นที่ 2 จะเรียน 5 ปี ปี1 จะเรียนวิชาพื้นฐานพอปี2 -4 ก็จะเรียนวิชา เกี่ยวกับ ครู และวิชาอื่นๆที่จำเป็น เช่น จิตวิทยาต่างๆ พอปี5 จะออกฝึกสอนทั้งปี และจะมีการทำรายงานประมาณเกือบจะเป็นวิจัยอีกด้วย
คณะนี้ มุ่นเน้นผลิตบัณทิต ให้จบมาเป็นครู ฉะนั้นแล้ว เรียนมา 5 ปี ก็ควรที่จะเป็นครู เป็นครูได้ทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือเอกชน

คณะครุศาสตร์ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นศาสตร์ทางด้านการศึกษา และ วิชาทางด้านครู แต่คณะเราก็ไม่ได้เรียนวิชาครูอย่างเดียวนะครับน้องๆบางวิชาก็ค่อนข้างเน้นหนักไปในทางการพัฒนาสังคมและชุมชนทั้งนี้แล้วขึ้นอยู่กับสาขาวิชาเอกด้วย สำหรับพี่ขอแนะนำคณะครุศาสตร์ ซึ่งผลิตบุคลากรทางการศึกษามารับใช้สังคม อย่างมีคุณภาพตลอด คณะเรามีหลากหลายภาควิชา และแต่ละภาควิชาก็มีสาขาแยกย่อยลงไปอีกดังจะกล่าวคร่าวๆดังนี้
1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ดูแลเด็กระดับอนุบาลจนถึงก่อนประถมศึกษา เป็นสาขาวิชาที่สนุกสนานมากๆ พี่ๆบอกว่ามีการสอนเด็กเล็ก เล่นกับเด็ก ดูแลเด็ก สรุปแล้วรักเด็กไงจ้ะ สาขานี้มีผู้หญิงเยอะมาก ผู้ชายแทบหาไม่ได้เลย (สาวๆแผนกนี้น่ารัก และสดใสเหมือนเด็กอนุบาลไง)
2. สาขาวิชาประถมศึกษา ก็สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ไง มีหลายเอก ประมาณ 5 เอกนะ คือ ไทย สังคม อังกฤษ วิทย์ คณิต สาขานี้ก็เรียนค่อนข้างหนักนะ เพราะเรียนถึง 3 เอกแน่ะ คือ
เอกประถม/ไทย/สังคม อะไรประมาณเนี้ย ขึ้นอยู่กับการสอบเอนทรานซ์เข้ามาและจะเลือกสาขาวิชาอะไร แผนกนี้ก็สนุกสนาน เฮฮาดี สมกับครูประถมนะจ้ะ
3. สาขามัธยมศึกษา
3.1 มัธยมศึกษา(วิทยาศาสตร์) ก็พวกเอก คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และอีกหลายเอกที่เป็นวิทยาศาสตร์
3.2 มัธยมศึกษา(มนุษย์/สังคม) เอก ไทย สังคม อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จิตวิทยา ฯลฯ ทั้งมัธยมวิทย์/ศิลป์ จะเรียนค่อนข้างลึก และหนัก สำหรับมัธยมวิทย์ เรียนหนักมากๆ แต่พี่ๆก็บอกว่าไม่ยากเท่าไรหรอก ถ้าขยันซะอย่าง
4. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน แผนกนี้เรียนเกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยจ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นครู ทำงานได้ทุกอย่างเพราะหลักสูตรนั้นกว้างและยืดหยุ่นมากๆ
5. สาขาการสอนวิชาเฉพาะ
1. ดนตรีศึกษา ก็เรียนดนตรีนั่นเอง
2. ศิลปศึกษา เรียนศิลปะ Art
3. ธุรกิจศึกษา
สำหรับดนตรีกับศิลปะ ก็จะเน้นการปฏิบัติจริงนะจ้ะ เป็นไงพอจะเข้าใจป่ะ ว่าคณะครุศาสตร์ของเรามีอะไรบ้าง ใครที่รักจะเป็นครูก็เลือกเข้ามาเลยนะ











คณะจิตวิทยา

จิตวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และกระบวนการทางจิต โดยการศึกษาพฤติกรรมของคนเรามีทั้งที่สังเกตง่ายๆ และพฤติกรรมที่ซับซ้อนได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย เพื่อค้นหาสาเหตุและทำความเข้าใจลักษณะธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์ คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในบริบทต่างๆ เช่น เหตุใดวัยรุ่นจึงมีอารมณ์รุนแรง หรือเหตุใดพนักงานจึงไม่ค่อยมีแรงจูงใจในการทำงาน หรือ ทำไมคนแต่ละคนจึงมีความอดทนต่อปัญหาได้แตกต่างกัน เหล่านี้เป็นหน้าที่ของนักจิตวิทยา ในการศึกษา “พฤติกรรมและจิตของมนุษย์”

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. มีความรอบรู้ด้านจิตวิทยา สามรถวิเคราะห์และแก้ไข ปัญหาพฤติกรรมมนุษย์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

2. สามารถนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการพัฒนาการประเทศ

3. มีศักยภาพในการค้นคว้าและติดตามความเจริญก้าวหน้า ทางวิชาการระดับสากล มีความใฝ่รู้ มีทักษะในการสื่อสารจัดการ การเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามในการทำงาน

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา เป็นหลักสูตรปริญญาตรี ได้เปิดการเรียนการสอนขึ้นในคณะจิตวิทยา ปี

การศึกษา 2544 ด้วยโครงสร้างหลักสูตรที่มีลักษณะกว้างสำหรับผู้ที่ต้องการเลือกเรียนจิตวิทยาเฉพาะทาง โดยหลักสูตรได้จัดให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกกลุ่มรายวิชาที่เน้นหนักทางด้าน

- จิตวิทยาทั่วไป - จิตวิทยาการปรึกษา และคลินิก

- จิตวิทยาสังคม - จิตวิทยาพัฒนาการ

- จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ - จิตวิทยาชุมชน

นอกจากนี้ หลักสูตรยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกวิชาโทจากต่างคณะได้ เพื่อให้เกิดการผสมผสานศาสตร์ทางจิตวิทยากับศาสตร์อื่น ซึ่งจะทำให้เกิดการประยุกต์ในวงกว้าง

คำถามที่มักพบเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของจิตวิทยา

จิตวิทยาเรียนจบแล้วไปทำอะไรได้บ้าง

1. เป็นนักจิตวิทยาในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหามนุษย์ เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน

2. บุคลากรด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน

นักจิตวิทยาต่างจากจิตแพทย์อย่างไร

นักจิตวิทยา คือผู้ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ อันครอบคลุมทั้งพฤติกรรมปกติทั่วไปของผู้ที่มีสุขภาพจิตปกติสมบูรณ์ และพฤติกรรมของผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ปกติ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตไม่ปกตินั้น นักจิตวิทยาจะเน้นการให้คำปรึกษา หรือการใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการทางจิตวิทยาแก่ผู้มารับคำปรึกษาหรือบำบัดทางจิตใจ ในขณะที่จิตแพทย์จะเน้นการใช้ยาในการรักษาความผิดปกติทางจิตของคนไข้เป็นหลัก

ด้วยความรู้ทางจิตวิทยาในด้านต่างๆ และความรู้ที่กว้างขวางที่เลือกได้ตามความสนใจ ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร จะสามารถเลือกสาขาวิชาเฉพาะสำหรับศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น รวมทั้งเลือกประกอบอาชีพตามความรู้ความเข้าใจ แก้ไขปัญหา และพัฒนามนุษย์ด้วยหลักวิชาทางวิทยาศาสตร์ต่อไป











คณะทันตแพทยศาสตร์

ทันตแพทย์ หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ “หมอฟัน” เป็นการศึกษาในเรื่องของฟัน อวัยวะในช่องปากและอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยออกเสียงและส่งเสริมบุคลิกภาพ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความสามารถในการตรวจวินิจฉัย วางแผน และบำบัดรักษาโรคในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบูรณะเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันโรคฟันผุแก่ชุมชน เผยแพร่ความรู้ทางทันตสุขศึกษาและทำการวิจัยทางด้านทันตแพทยศาสตร์

หลักสูตร

ใช้เวลาศึกษา 6 ปี โดยแบ่งออกเป็นภาควิชา คือ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีวเคมี ชีววิทยาช่องปาก ชีววิทยาช่องปาก ชีววิทยาของเซลล์และเนื้อเยื่อ จุลชีววิทยา เภสัชวิทยา ทันตพยาธิวิทยา ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมจัดฟัน เวชศาสตร์ในช่องปาก ศัลยกรรมช่องปาก ทันตกรรมบูรณะ ทันตสาธารณสุข ทันตกรรมป้องกัน ทันตกรรมอนุรักษ์ โอษฐวิทยา ทันตกรรมหัตถการเกี่ยวกับวิธีรักษารากฟันและอุดฟัน รังสีวิทยาเกี่ยวกับการเอกซเรย์ของฟันและในช่องปาก ศัลยศาสตร์-ถอนฟัน และการผ่าตัดที่เกี่ยวกับบนใบหน้า ทันตกรรมสำหรับเด็กเกี่ยวกับสภาพฟันต่างๆของเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ปริทันตวิทยาเกี่ยวกับการรักษาเหงือก และทันตกรรมชุมชนที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตสามารถรับใช้สังคมในชนบทโดยทำงานในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆได้

1.ในชั้นปีที่ 1-2 จะเรียนเตรียมทันตแพทย์ที่คณะวิทยาศาสตร์ โดยเรียนวิชาในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

2.ในชั้นปีที่ 3-4 เรียนในภาควิชาปรีคลินิก เกี่ยวกับวิชาการในวิชาชีพทันตแพทย์อันเป็นพื้นฐานของวิชาแพทย์ทั่วไป

3.ในชั้นปีที่ 5-6 จะเรียนด้านภาคคลินิกที่เน้นหนักในทางปฏิบัติงานคลินิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจบำบัดรักษาทางทันตกรรม การส่งเสริมและป้องกันโรคของฟัน เหงือก และเนื้อเยื่อในช่องปาก เป็นต้น ซึ่งต้องปฏิบัติกับผู้ป่วยทางคลินิกในโรงพาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จนกระทั่งเมื่อเรียนถึงชั้นปีที่ 6 นักศึกษาต้องพร้อมในการออกปฏิบัติงานอย่างเต็มตัว โดยต้องรับราชการชดใช้รัฐบาลตามสัญญาและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

4.เมื่อบัณฑิตได้ขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลป์สาขาทันตกรรมแล้ว ก็จะสามารถประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ได้

ลักษณะของอาชีพนี้

หมอฟันจะเป็นผู้ที่ทำการรักษาโรคฟัน ความผิดปกติของฟัน และช่องปากด้วยกรรมวิธี โดยการให้ยา หรือการศัลยกรรมซึ่งขึ้นอยู่ที่ความจำเป็นว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่น

- ใช้เครื่องเอกซเรย์ทดสอบตามความจำเป็น เพื่อจะได้ทราบถึงลักษณะของความผิดปกติ

- พิจารณาผลของการตรวจ การทดสอบและเลือกวิธีรักษา

- หารูฟันผุ ทำความสะอาด อุดรูฟัน และถอนฟันที่เป็นโรคหรือฟันที่ไม่มีประโยชน์แล้ว

- พิมพ์และจำลองแบบของเหงือก และส่วนอื่นๆของปาก เพื่อใช้ในการประดิษฐ์ใส่ฟันปลอมซ่อมฟันปลอมทั้งชนิดที่เป็น

ซี่และทั้งปาก

- ใส่เครื่องยึดเพื่อจัดฟันที่มีลักษณะผิดปกติหรือเกให้เป็นระเบียบและสวยงาม

- ให้ยาชาหรือยาสลบตามความจำเป็นในการรักษา การดัดฟัน การตัด รากฟันกระดูกขากรรไกรและใบหน้า คลินิกการ

ถอนฟัน และศัลยศาสตร์ในช่องปาก

- ให้ยาชาหรือยาสลบตามความจำเป็นในการรักษา การดัดฟัน การตัด รากฟันกระดูกขากรรไกรและใบหน้า คลินิกการ

ถอนฟัน และศัลยศาสตร์ในช่องปาก

คุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้

- ผู้เรียนต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและต้องมีความมานะอดทน เพื่อการเรียนรู้อยู่ในห้องเรียน ห้องสมุด และห้องแล็บตลอดเวลาจึงจะเรียนได้ดี

- การเรียนคณะนี้ต้องเน้นหนักความถนัดโดยเฉพาะความชำนาญในการใช้เครื่องมือ เช่น ในการประดิษฐ์ ตกแต่ง บูรณะฟันที่สึกหรอ เป็นรู เป็นโพรง หรือหักถอนถือได้ว่างานทางทันตแพทย์เป็นงานประเภทฝีมือที่ละเอียดอ่อนประเภทหนึ่ง

- ผู้เรียนควรมีสุขภาพดี แข็งแรงสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพดีรู้หลักจิตวิทยาและมนุษยสัมพันธ์ในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี

- ผู้เรียนควรเป็นผู้ที่มีฐานทางการเงินดี เพราะการเรียนต้องใช้เวลาเรียนหลายปีและในการเรียนนั้นจะมีค่าใช้จ่ายมากมายในด้านอุปกรณ์การเรียน ค่ากิจกรรม ค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว รวมทั้งต้องจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างเพื่อเป็นอุปกรณ์การศึกษาของตน

แนวทางในการประกอบอาชีพ

- เป็นอาจารย์สอนและวิจัยในคณะทันตแพทยศาสตร์

- ประกอบธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายเครื่องมือทันตแพทย์

- ทำงานด้านวิจัยในปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและโรคในช่องปาก

- เป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาล อนามัย หรือ คลินิกทั้งของรัฐและเอกชน

- ประกอบอาชีพอิสระในการตั้งคลินิกรักษาหรือโรงพยาบาลเอกชน



คณะนิติศาสตร์

นิติศาสตร์คือการศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติของบุคคลที่อยู่รวมกันในสังคมที่เรียกว่า “กฎหมาย” การศึกษานิติศาสตร์จะมีสาระหลักๆ คือ

1. นิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับสาระของกฎหมายในส่วนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคนตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกปนะเภท รวมตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐและหน่วยงานของรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในสังคมนานาชาติ

2. นิติศาสตร์มุ่งศึกษาบทบาทของกฎหมาย ทั้งในฐานะที่เป็นกรอบกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน

3. นิติศาสตร์ต้องให้ความสำคัญต่อคุณค่าเชิงคุณธรรมของกฎหมายด้วย เพราะกฎหมายมีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม ดังนั้นจึงเน้นที่กระบวนการของกฎหมายว่า “บริสุทธิ์” และต้องมีความ “ยุติธรรม” ด้วย

หลักสูตร

จะใช้เวลาศึกษา 4 ปี ประกอบด้วยหมวดวิชาต่อไปนี้

1. วิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในกลุ่มสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาษา และ

สหศาสตร์

2. วิชาเฉพาะด้าน วิชาที่จะต้องศึกษา เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายนิติกรรมสัญญา กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายภาษีอากรและกฎหมายระหว่างประเทศ

3. วิชาเลือก เป็นวิชาที่เปิดสอนในคณะนิติศาสตร์ เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายการธนาคาร และกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน

เมื่อจบต้องสมัครเข้ารับการฝึกอบรมและสอบขอใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักร การแสวงหาประสบการณ์ในคดีความต่างๆหรือการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิตทางกฎหมายจะช่วยให้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมากขึ้น

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

- รักการอ่าน การค้นคว้า มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆกว้างขวาง

- ช่างคิด และมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น

- มีความสามารถในการเขียนและใช้ภาษาไทยเนอย่างดี

- มีนิสัยรักความเป็นธรรม

สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายจะต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

- เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

- ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียและไม่เป็นผู้ที่ทำการใดๆซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจ

- มีประสบการณ์ในงานตุลาการทางกฎหมาย

- ต้องซื่อสัตย์ต่อผู้ว่าจ้าง มีความซื่อตรงและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

แนวทางในการประกอบอาชีพ

ในสาขานี้ผู้จบสามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพและสามารถเข้ารับราชการได้ในทุกกระทรวง เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ตำรวจ นายทหารพระธรรมนูญ นิติกร ปลัดอำเภอ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ตั้งสำนักทนายความและสามารถศึกษาต่อในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อสอบเป็นเนติบัณฑิตไทย ในระดับสูงขึ้นต่อไป



คณะนิเทศศาสตร์

คณะนี้จะเป็นการเรียนที่เกี่ยวกับการสื่อสารทุกประเภท ทุกระดับ ไปยังบุคคลหรือมวลชนด้วยการใช้เทคนิควิชาการ เพื่อช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแยกเป็นสาขาต่างๆ

หลักสูตร

จะใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี จะเน้นทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

1. สาขาวารสารสนเทศ จะเน้นหนักเกี่ยวกับวิทยาการและเทคโนโลยีข่าวสาร เช่น การสื่อข่าว เขียนข่าว การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆรวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เนต การรายงานข่าวผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการออกแบบการนำเสนอผ่านสื่อพิมพ์อื่นๆ เช่น แผ่นปลิว โปสเตอร์ เป็นต้น

2. สาขาวิทยุและโทรทัศน์ ศึกษาทฤษฎีแนวคิด กระบวนการของการส่งข่าวสารหรือสื่อความหมายต่างๆโดนทางสื่อกระจายเสียงและโทรทัศน์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประกาศ การแสดง การเขียนบท การผลิตรายการวิทยุ การบริหารงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังได้รับการฝึกฝนการผลิตรายการวิทยุจากห้องบันทึกเสียง ทั้งรายงานข่าว สารคดี ละคร ดนตรี

3. สาขาภาพยนตร์และภาพนิ่ง ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ศิลปะ และการสื่อความหมายของภาพนิ่งและภาพยนตร์ ผู้ศึกษาในสาขานี้จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์จากจินตนาการที่มีอยู่ผลิตภาพยนตร์ที่ทันสมัย นอกจากนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาพนิ่ง การใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพ และการขยายภาพในห้องแล็บด้วยตนเอง

4. สาขาโฆษณา ศึกษาการทำงานด้านโฆษณาต่างๆตั้งแต่การสร้างสรรค์และการผลิตสื่อโฆษณา การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การเขียน การวางแผน การรณรงค์เพื่อการโฆษณา ตลอดจนศึกษาถึงบทบาทของการโฆษณาในการตลาด

5. สาขาประชาสัมพันธ์ เน้นหนักเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจอันดี ป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด คงวามขัดแย้ง ส่งเสริมและรักษาภาพลักษณ์ของสถาบัน การจัดการภาวะวิกฤต การหยั่งเสียงประชามติ ประชาพิจารณ์ ตลอดจนการสร้างสรรค์และโน้มน้าวทัศนคติที่ดีแก่ประชาชน

6. สาขาวาทวิทยา/บริหารการสื่อสาร ศึกษาพฤติกรรมการใช้ภาษาในการสื่อสารของมนุษย์ทุกระดับ เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารหน้าที่ชุมชน การสื่อสารในองค์การ การสื่อสารทางธุรกิจ และการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาคณะนี้

- มีความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสารทั้งด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

- มีความสนใจทางด้านศิลปะการสื่อความหมายประเภทต่างๆ

- มีความคิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน การเขียน มีความรู้กว้างขวาง

- สนใจศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทันต่อเหตุการณ์

- มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลาอยู่เสมอ

- กล้าแสดงออก ช่างสังเกต มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี



แนวทางในการประกอบอาชีพ

เมื่อจบในสาขาเหล่านี้สามารถทำงานในสายงานโดยตรงหรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้ ที่เน้นหนักในด้านการผลิตเอกสาร ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ นักประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจสมาคมต่างๆ เป็นผู้วางแผนการใช้สื่อและเป็นนักโฆษณาในส่วนของสายงานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องโดยอาชีพที่จะต้องใช้การพูด การสื่อสารเป็นปัจจัยหลัก



คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ประกอบด้วย 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาบัญชี ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน ภาควิชาสถิติ และภาควิชาการตลาด

ภาควิชาการบัญชี ผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่ธุรกิจในประเทศไทยเกี่ยวกับการออกรายงานทางการเงิน การจัดการบัญชี และการตรวจสอบ ภาควิชาได้ร่วมมือกับ IIA (Institute of Internal Auditors) ของประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ มีหน้าที่ในการให้การศึกษาและการวิจัยทางด้านการจัดการ ภาควิชามีความมุ่งหวังที่จะให้บัณฑิตของภาควิชามีความรู้กว้างไกลในทุกด้านของการจัดการ ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการองค์ความรู้ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และระบบสารสนเทศทางการจัดการ

ภาควิชาสถิติ มีบทบาทในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ที่ก้าวหน้าทางด้านกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจ ภาควิชาฝึกฝนเพื่อให้ได้บัณฑิต นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านประกัน และนักเทคโนโลยีสารสนเทศรุ่นใหม่ การผสมผสานของศาสตร์ทางด้านสถิติ ประกัน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศ และช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรมีเครื่องมือที่ให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

ภาควิชาการธนาคารและการเงิน ได้ทุ่มเทในการจัดหาเครื่องมือทางการเงินที่ทันสมัย และผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความชำนาญ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตของตลาดการเงินของโลก นิสิตจะต้องเรียนรู้ทั้งเทคโนโลยีและหลักการทางด้านการเงินที่จะช่วยให้สามารถก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านการธนาคาร และสภาพแวดล้อมทางการเงินของโลก

ภาควิชาการตลาด มีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความผันผวนของธุรกิจในปัจจุบัน ภาควิชาเน้นการผสมผสานหลักการทางด้านการตลาด การฝึกปฏิบัติ และประสบการณ์จากธุรกิจจริง ซึ่งรวมถึงทฤษฎีใหม่ๆ ทางการตลาด โลจิสติกส์ และการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ภาควิชามีโปรแกรมฝึกงานภาคฤดูร้อน รวมทั้งให้นิสิตเข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ ทางด้านการตลาด



คณะแพทยศาสตร์

เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค วินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ การปรับสายตาด้วยเลนส์สัมผัส การแทงเข็ม หรือการฝังเข็มเพื่อการบำบัดโรค หรือเพื่อระงับความรู้สึกและหมายความรวมถึงการทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสาร การสอดใส่วัตถุใดๆเข้าไปในร่างกายทั้งนี้เพื่อการคุมกำเนิด การเสริมสวยหรือการบำรุงร่างกาย สามารถวางแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชน ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็นและฐานะของผู้ป่วยและสังคม

หลักสูตร

ผู้ที่จะศึกษาต้องมีหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่า 263 หน่วยกิต โดยใช้เวลาศึกษาตามปกติ 6 ปี การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ

1. ระยะที่ 1 [Premedical year] ในชั้นปีที่ 1 เป็นการศึกษาวิชาการที่เป็นพื้นฐานของการเป็นแพทย์

2. ระยะที่2 [Preclinical years] ในชั้นปีที่ 2 และ 3 เป็นการศึกษาวิชาชีพพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยบูรณาการความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่การทำงานโดยปกติของร่างกายมนุษย์กับพยาธิสภาพต่างๆอันเป็นพื้นฐานของการเรียนในระดับต่อไป

3. ระยะที่ 3[Clinical years] ในชั้นปีที่ 4 – 6 เป็นการเรียนรู้ความผิดปกติหรือโรคต่างๆทั้งทางกายและจิตใจ โดยมีบูรณาการความรู้จากทฤษฎีกับประสบการณ์ในผู้ป่วยจริง เพื่อให้มีความรู้และทักษะตามเกณฑ์มาตรฐานของแพทยสภา โดยในชั้นปีที่ 6 จะเป็นการฝึกปฏิบัติงานในการตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยตนเอง ภายใต้ความรับผิดชอบของอาจารย์แพทย์

ลักษณะของอาชีพ

1. เป็นแพทย์ฝ่ายรักษา โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

- แพทย์ที่ทำหน้าที่รักษาคนไข้ทั่วไป เช่น เป็นไข้หวัด โรคกระเพาะ ท้องเสีย เป็นต้น

- แพทย์เฉพาะทาง รักษาคนไข้ที่มีอาการหนักหรือที่ต้องใช้อุปกรณ์วินิจฉัยพิเศษหรือต้องการแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะโรคนั้นทำการรักษา เช่น มีน้ำในสมอง มะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น โดยเข้าฝึกอบรม 3 ปีเพื่อรับวุฒิบัตรแพทย์เฉพาะทางของแพทยสภา

2. เป็นแพทย์ฝ่ายวิจัย เป็นนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในสถาบันทางการแพทย์ ทำการวิจัยและประดิษฐ์คิดค้นวิทยาการใหม่ๆทางการแพทย์เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษยชาติ

- เป็นแพทย์ฝ่ายป้องกัน โดยต้องออกไปปฏิบัติการในท้องที่ทุรกันดาร เพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันโรคแก่ประชาชนและหาวิธีป้องกันโรคแก่ประชาชนและหาวิธีป้องกันโรคในชุมชนต่างๆ

- เป็นแพทย์ฝ่ายการสอนหรือครูผู้สอน

ลักษณะทั่วไปของอาชีพ

- ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค สั่งยา ผ่าตัดเล็ก รักษาอาการบาดเจ็บ โรค และอาการผิดปกติต่างๆของผู้ป่วย

- ตรวจผู้ป่วยและตรวจหรือสั่งตรวจทางเอกซเรย์หรือการทดสอบพิเศษ ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม

- ทำการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะก่อนคลอด ทำการคลอดและให้การดูแลรักษามารดาและทารกหลังคลอด

- เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้ตรวจโรคที่เป็นและการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง

- อาจผสมยา อาจรับผิดชอบและสั่งงานพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถาบันอื่นดดยจะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือ

สถานพยาบาล โดยตรวจคนไข้ที่อยู่ในความรับผิดชอบทุกวันและต้องตรวจคนไข้นอกที่เข้ามารับการรักษา

*** ผู้ที่เป็นหมออาจถูกเรียกตัวได้ทุกเวลาเพื่อทำการรักษาคนไข้ให้ทันท่วงที ผู้ที่เป็นหมอต้องพร้อมเสมอที่จะสละเวลาเพื่อรักษาคนไข้ ในที่ทำงานจะต้องพบเห็นคนเจ็บ คนไข้ และคนตาย แพทย์จึงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะหากมีจิตใจที่อ่อนไหวต่อสิ่งที่ได้พบเห็น จะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้

คุณสมบัติของผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์

- ความจำ คณะเนี้ยต้องใช้สมองที่มีความจำดีเลิศเลยนะ เพราะการเป็นหมอเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการติดคุกเชียวนะถ้าคุณทำ

ผิดพลาดหรือจำสับสน จำไม่ได้ ในการรักษา(อย่าพึงตกใจในทางตรงกันข้ามอาชีพหมอที่มีความเสี่ยงขนาดนี้จึงเป็นอาชีพที่ผู้คนให้การนับถือในสังคมอย่างมาก)

- เมื่อน้องๆจบคณะนี้มาแล้วต้องสามารถที่จะเสียสละเวลาและความสุขส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนจากการเป็น

ป่วย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้ป่วย มีความเมตตาและมีความรักในเพื่อนมนุษย์ มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ

- มีมนุษยสัมพันธ์ดี ผู้เป็นหมอควรมีการปรับตัวเข้ากับคนทุกระดับได้ มีความสนใจเพื่อนมนุษย์และสังคมรอบตัว

- สุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่ายกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ไม่เป็นโรคตาบอดสี มีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ

อดทน

- รอบคอบ ช่างสังเกต และละเอียดถี่ถ้วนแต่ต้องฉับไว เพราะช้านั้นอาจหมายถึงชีวิตผู้ป่วย

- ซื่อสัตย์ ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือ

ทำลายผู้อื่น

- ฐานะการเงินดีพอสมควร แม้ว่ารัฐบาลจะสนับสนุนการเงินส่วนหนึ่งแล้วก็ตามแต่ในการเรียนจำเป็นจะต้องซื้อตำรา

ต่างประเทศ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

อาชีพแพทย์ถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติและเป็นอาชีพที่มีการเสียสละสูง สามารถรับราชการโดยทำงานในโรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานีอนามัย หรือหน่วยงานการแพทย์ของกระทรวง กรม ที่จัดขึ้นเพื่อบริการประชาชนหรือทำงานในโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถเปิดคลินิกส่วนตัวได้ด้วย แนวโน้มของตลาดแรงงานสำหรับอาชีพนี้ยังคงมีอยู่ ดังนั้นแพทย์สามารถหางานได้ง่าย เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดและชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญในตัวเมือง

ความก้าวหน้าในอาชีพ

แพทย์ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์สูงจะได้เลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งจนถึงระดับผู้บริหารหรืออาจเปิดคลินิกรักษาคนไข้ทั่วไปนอกเวลาทำงานเป็นรายได้พิเศษ สำหรับผู้ที่มีความชำนาญและมีทีมงานที่มีความสามารถรวมทั้งมีเงินทุนจำนวนมากก็สามารถเปิดโรงพยาบาลได้

แพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง อาจได้รับการว่าจ้างให้ไปทำงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลหลายแห่งทำให้ได้รับรายได้มากขึ้น



คณะพยาบาลศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสถาปนาเป็นคณะวิชาในอันดับที่ 16 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ คณะฯได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยเป็นภาควิชาพยาบาลศึกษา ภายใต้การบริหารงานของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดดำเนินการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2510 โดยความร่วมมือระหว่างกองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพ เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ผลิตครูพยาบาลระดับปริญญาตรี การดำเนินงานในระยะแรกได้รับการช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่ง สหประชาชาติ (UNICEF) ในด้านอุปกรณ์และทุนพัฒนาอาจารย์

ในปี 2516 ได้เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโท ทางการพยาบาล หลักสูตรแรกในประเทศไทย โดยมีภารกิจหลักคือ การผลิตผู้นำทางพยาบาล ทำหน้าที่ทั้งในสถาบันการศึกษาและ การบริการพยาบาล ต่อมาภาควิชาได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์อย่างเป็นทางการไปยังทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อรับการพิจารณาจัดให้อยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ.2525 - 2529) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยดำเนินการภายใต้การบริหารของคณะครุศาสตร์และได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2531 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 239 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2531

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินกิจการโดยยึดมั่นในพันธกิจ จุดมุ่งหมายและหน้าที่ตลอดมา ได้สืบต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2516 ซึ่งมีการปรับเป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ในปีการศึกษา 2533 และได้เปิดสอนสาขาวิชาการพยาบาลศึกษา เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 โดยที่คณะพยาบาลศาสตร์ตระหนักถึงการปฎิบัติตามพันธกิจในการเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงที่มุ่งผลิตผู้นำทางการพยาบาล บุกเบิก ค้นคว้า ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ทางพยาบาลศาสตร์ในระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาการที่มุ่งสู่การพัฒนาสุขภาพประชาชน และเพื่อตอบสนองความต้องการของวิชาชีพในการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล คณะฯจึงได้เปิด หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ คือ จัดการเรียนการสอนนอกเวลา ราชการในภาคปลาย ปีการศึกษา 2542 เปิดสอนสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ในภาคต้น ปีการศึกษา 2543 และเปิดสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนใน 5 กลุ่มวิชา คือ การพยาบาลมารดา การพยาบาลเด็ก การพยาบาลผู้ใหญ่ การพยาบาลผู้สูงอายุ และการพยาบาลอนามัยชุมชน ในภาคต้น ปีการศึกษา 2549 และเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2544 สำหรับปีการศึกษา 2546 นี้ คณะฯ ได้ประกาศเปิดรับสมัครหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ในระบบการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible learning) โดยมีศูนย์ที่จังหวัดตรัง และมีนโยบายจะเปิดศูนย์จังหวัดน่าน และศรีสะเกษตามมาในปีการศึกษาต่อไปตามแผนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



คณะเภสัชศาสตร์

เภสัชศาสตร์ คือศิลปะในแขนงวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการปรุงผสม ผลิตและจ่ายยา รวมทั้งการเลือกสรรคุณภาพของยา เวชภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการ และให้คำปรึกษาที่เหมาะสม ตรวจสอบทบทวนการใช้ยา พร้อมทั้งติดตามดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย

ภาพรวมของเภสัชศาสตร์คือระบบความรู้ที่ก่อให้เกิดความสามารถที่จะให้บริการด้านสุขภาพด้วยความเข้าใจ ในเรื่องของยาและผลที่เกิดหลังจากการใช้ยา เพื่อให้การบำบัดรักษาให้เกิดผลดีแก่ผู้ป่วยมากที่สุด โดยจะรับผิดชอบร่วมกับบุคลากรสุขภาพอื่นๆ เช่น แพทย์ พยาบาล รวมถึงสัตวแพทย์ด้วย ในอันที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เภสัชศาสตร์ยังเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ผลิตยาในรูปแบบต่างๆ ตามคุณภาพมาตรฐานที่เหมาะสมตามกำหนด

หลักสูตรการศึกษา

ผู้ที่จบการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ จากได้รับวุฒิ เภสัชศาสตร์บัณฑิต ปัจจุบันมี 2 สาขา คือ

1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ใช้เวลาการศึกษา 5 ปี

2. สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม ใช้เวลาการศึกษา 6 ปี

โดยจะต้องศึกษาตลอดของการเรียนการสอน จะแบ่งออกได้ดังนี้

2.1 ในชั้นปีที่ 1-2 จะเป็นการศึกษาด้านเตรียมเภสัชศาสตร์ จะศึกษาในหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

2.2 ในชั้นปีที่ 3-5 จะเป็นการศึกษาวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์ จะศึกษาในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีวเภสัชศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา สาธารณสุข หลักในการเกิดโรค และจุลชีววิทยา

และศึกษาวิชาทางด้านวิชาชีพ ทฤษฎี ปฏิบัติการ และการฝึกงาน ประกอบไปด้วย เภสัชวิเคราะห์ เภสัชศาสตร์สัมพันธ์ อาหารและเคมี โภชนาการศาสตร์ บทนำเภสัชภัณฑ์ เภสัชพฤกษศาสตร์ ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชกรรมและการบริหารเภสัชกิจ เภสัชวิทยาและเภสัชวิทยาคลินิก นิติเภสัชและจริยธรรม พิษวิทยา เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชเคมี และ การปฏิบัติฝึกงาน

3. ในชั้นปีที่ 5-6 จะเป็นการศึกษาในหมวดวิชาสาขาที่นักเรียนสนใจเน้นความชำนาญทางวิชาชีพ มีให้เลือก 2 สาขา คือ

- สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ( สายผลิต ) โดยศึกษาในชั้นปีที่ 5 จะเน้นศึกษาในด้านการผลิตยา การค้นคว้าตัวยา และควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยา รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ๆ

เภสัชกรทางด้านสาขานี้เหมาะกับสายงานในด้านการผลิต ซึ่งส่วนมากจะทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา เช่น เภสัชกรอุตสาหกรรม เภสัชกรฝ่ายผลิตยา เภสัชกรแผนกควบคุมมาตรฐานตัวยา เภสัชกรฝ่ายการวิจัยคิดค้นตัวยา หรือรับราชการในกระทรวงทางด้านอาหารและยา หรือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ

- สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม ( สายคลินิก ) จะเน้นในการศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรมมากขึ้น ในด้านการใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำปรึกษาการใช้ยาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย และการสร้างเสริมสุขภาพ โดยจะศึกษาเนื้อหาเพิ่มอีก 1 ปี

เภสัชกรทางด้านสาขานี้เหมาะกับสายงานในด้านการบริบาล ซึ่งอาจจะทำงานในโรงพยาบาล คลินิก ร้านยา สถานบริการสุขภาพ เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรประจำร้านยา เภสัชกรชุมชน เภสัชกรการตลาด เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค หรือรับราชการในกระทรวงทางด้านอาหารและยา และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ

4. การฝึกงาน

- สาขาเภสัชศาสตร์ จะฝึกงานใน โรงงานผลิตยา สำนักสาธารณสุข องค์การเภสัชกรรม ศูนย์วิจัยต่างๆ โรงพยาบาล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์

- สาขาบริบาลเภสัชกรรม จะฝึกงานใน ร้านขายยา โรงพยาบาล สำนักการควบคุมโรค

ลักษณะทั่วไปของอาชีพ

- ค้นคว้าพัฒนาตำรับสูตรยาใหม่ๆ เพื่อขึ้นทะเบียน แล้วทำการผลิตยาออกจำหน่าย

- ควบคุมการผลิตยาไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

- วิเคราะห์ ตรวจสอบยาที่ผลิตให้ได้คุณภาพตามที่กำหนด

- ปรุงยา จ่ายยา และสิ่งที่เกี่ยวข้องตามใบสั่งแพทย์ เช่น ยาน้ำ ยาขี้ผึ้ง ยาเม็ดกลม ยาเม็ดแบน ยาแคปซูล และยาฉีดตาม

ใบสั่งของแพทย์

- ชี้แจงอธิบายยาแก่ แพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ทางการแพทย์ด้าน เคมีภัณฑ์ และการใช้ยา

- ควบคุมการจ่ายยาและยาเสพติดที่ให้โทษ ยาพิษ สารพิษทางการแพทย์ หรือเกษตรกรรม

- ทำหน้าที่วิเคราะห์และทดสอบตามปกติ เพื่อให้ทราบชนิดความบริสุทธิ์ และ ความแรงของยา

- จัดระเบียบและควบคุมยาในคลัง ทำบัญชีประจำคลังยา เคมีภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์

- จัดซื้อยา เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์สะสมเครื่องใช้การแพทย์ไว้ในห้องยา

- อาจผลิต จำหน่าย และชี้แจงผลิตภัณฑ์ เช่น ยา เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง ยาการเกษตร และยารักษาสัตว์

- ศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือ วิธีการปฏิบัติงานรับผิดชอบ เตรียมความพร้อมของเครื่องมือ

คุณสมบัติผู้ประกอบอาชีพ

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์

2. เป็นคนละเอียด รอบคอบ มีความระมัดระวังสูง

3. มีสุขภาพดีและจิตใจดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความเป็นผู้นำ เนื่องจากต้องควบคุมผู้อื่น โดยเฉพาะสายงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี

4. รักในอาชีพนี้ สนใจอย่างเต็มที่ เต็มใจที่จะบริการงานทางด้านสาธารณสุข มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมสูง

5. ต้องมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะ เคมี และ ชีววิทยา สามารถสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้

6. ชอบค้นคว้า วิเคราะห์ ทดลอง

7. มีจิตใจหนักแน่น ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ และมีคุณธรรมและจริยธรรม

8. มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีทัศนะที่ดีต่องาน มีอุดมการณ์ที่คิดจะทำประโยชน์แก่ผู้อื่น

9. มีความสามารถในการวางแผน และสนใจวิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะทางด้านเคมี ชีววิทยา

10. มีความสามารถในการจำที่ดีเยี่ยม เพราะต้องจำชนิดของยา ส่วนประกอบของยา และต้นไม้ที่มีประโยชน์เป็นฤทธิ์ยา รวมทั้งจำชื่อยาต่างๆ และสารเคมีที่ใช้บำบัดรักษาโรค

11. มีความคล่องทางด้าน การอ่าน เขียน พูด ภาษาอังกฤษที่ดี เพราะชื่อของชนิดยา และ สารเคมีต่างๆ เป็นชื่อภาษาอังกฤษ

12. มีสุขภาพแข็งแรง จิตใจดี สมบูรณ์ แข็งแรง สายตาดี ไม่เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง







แนวทางการประกอบอาชีพ

ปัจจุบันความต้องการของยาสำหรับการแพทย์ปัจจุบัน และ การแพทย์แผนโบราณ มีเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร แนวโน้มในการทำงานของอาชีพนี้ยังคงมีอยู่มาก ถ้าไม่เลือกงานและมีความสามารถที่ดีก็จะไม่มีการตกงานเลยสำหรับอาชีพเภสัชกร เภสัชกรสามารถเข้าทำงานได้ในสถานที่เหล่านี้

1. เภสัชกรโรงพยาบาล ทำหน้าที่จ่ายยา แนะนำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้อง และติดตามผลการใช้ยาของผู้ป่วย

2. เภสัชกรอุตสาหกรรม เป็นเภสัชกรในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา โดยแยกเป็นแผนกได้ดังนี้

2.1. แผนกผลิต

2.2. แผนกควบคุมการผลิต

2.3. แผนกวิจัยคิดค้นตำรับยา

3. เภสัชกรชุมชน เภสัชกรประจำร้านขายยา ทำงานในร้านยาชุมชน อาจเป็นผู้จัดการ หรือเจ้าของกิจการร้านยา ทำหน้าที่จำหน่ายยา แนะนำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้อง

4. เภสัชกรตลาด Detialer ทำหน้าที่เป็นเภสัชกรผู้แทนที่จะออกไปพบลูกค้า พบหมอ หรือ เภสัชกรห้องยา เพื่อแนะนำยาของบริษัทที่ตนสังกัดอยู่ มีความสามารถในการค้าขาย ชักชวนให้เขาสั่งยาที่แนะนำนั้นได้ และมีความรู้ที่ดีอธิบายตัวยาที่ตนขาย ปัจจุบันในประเทศไทยมีเภสัชกรที่ทำงานในด้านนี้อยู่เป็นจำนวนมาก

5. เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เช่น สารวัตรอาหารและยา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ยาอาหารหรือเครื่องสำอาง และเคมีภัณฑ์

6. รับราชการต่างๆ เช่น สำนักกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

7. อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ ของแต่ละสถาบันนั้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

- สายงานด้านการตลาด มีความกระตือรือร้น มีความคล่องตัวในการค้าขาย แสวงหาความรู้ด้านการตลาด รู้จักวิเคราะห์

เศรษฐกิจและสังคมได้เป็นอย่างดี

- สายงานด้านโรงพยาบาล มีความสามารถในการบริหารงาน และการบริการที่ดี

- สายงานราชการ ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถและผลงานทางวิชาการ

- สายงานด้านเอกชน อยู่ที่ความรู้ความสามารถและผลงาน ความรับผิดชอบและความกระตือรือร้น

การศึกษาต่อ

เภสัชกรที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สามารถศึกษาต่อได้ในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก ตามสาขาที่ตนถนัดหรือใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ



คณะรัฐศาสตร์

สถาบันหลักๆที่สอนวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในประเทศไทย หลักๆแล้ว จะมีอยู่ 3 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น เปิดสอนใน 3 สาขา คือ คือการเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ ส่วนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น จะเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ เป็นรัฐประศาสนศาสตร์(วิชาที่ว่าด้วยการบริหารรัฐ) และจะเพิ่มภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเข้าไป ดังนั้น รัฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงเป็นคณะรัฐศาสตร์เดียวในประเทศไทยที่มี 4 ภาควิชาและภาควิชานี้เองที่ทำให้รัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีความ "พิเศษ" ต่างไปจากรัฐศาสตร์แห่งอื่นๆ ต่อไปนี้พี่จะพูดอย่างกว้างๆถึงรายละเอียดของวิชาเรียน ในแต่ละสถาบันไม่แตกต่างกันนัก คือๆกันนั่นแหละ



ภาควิชาการปกครอง/ภาควิชาการเมืองการปกครอง

ถ้าอยากเข้าใจ "รัฐศาสตร์" หรือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อย่างชัดเจน ต้องเลือกเรียนภาควิชานี้เท่านั้น เรียนแล้วจะเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ไชยยันต์ ถึงยอมฉีกบัตรเลือกตั้งลงข่าว จะพบคำตอบเบื้องหลังการฉีกบัตรเลือกตั้งครั้งนี้ ว่ามันมาจากปรัชญาการเมืองข้อหนึ่ง คือ ประชาชนมีสิทธิ์ดื้อแพ่งต่อรัฐ ถ้าเห็นแล้วว่ารัฐใช้กฎหมายบูดๆเบี้ยวๆ ภาควิชานี้ส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับรัฐ สังคม ปรัชญาการเมือง แนวคิดทฤษฎีทางการเมือง การเมืองการปกครองไทย การปกครองท้องถิ่น มีวิชาเลือกเป็นวิชาตำรวจให้ด้วย เผื่อคนไหนสนใจอยากจะสอบตำรวจ

ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ/ภาควิชาการระหว่างประเทศ

ภาควิชานี้ เป็นภาควิชาที่ได้ชื่อว่าคะแนนสูงที่สุดของสายศิลป์ บางปีสูงกว่าอักษรศาสตร์หลายช่วงตัว ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ แรกเริ่มเดิมทีนั้น รัฐแต่ละรัฐ มีความไม่เท่ากัน เหลื่อมล้ำกัน รัฐที่มีความมั่งคั่งไม่ว่าจะทางทรัพยากรหรือสติปัญญา ก็จะกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบรัฐที่ด้อยกว่า ดังจะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนได้จากลัทธิอาณานิคม นั่นเอง แต่ทว่า ในเวลาต่อมา ได้มีการจัดตั้งระเบียบโลก ขึ้นมา เพื่อมิให้เกิดปัญหาการต่อสู้ รบราฆ่าฟันกันระหว่างรัฐอีก ผ่านสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย สนธิสัญญานี้ มีผลทำให้รัฐแต่ละรัฐ มีความเท่าเทียมกัน มีเสียงหนึ่งเสียงสำหรับโหวต ไม่พอใจเดินออกจากที่ประชุมได้ฯลฯ เหล่านี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆแบบสมัยก่อนอีกแล้ว(สมัยก่อนที่รัฐที่แข็งแรงกว่าจะกดขี่รัฐที่อ่อนแอกว่า ตามธรรมดาโลก ไม่ซับซ้อนอะไร ใช้ทฤษฎีสัจจนิยม Realism ซึ่งสำนวนสั้นๆที่อธิบายทฤษฎีนี้ได้ดีที่สุดก็คือ "มือใครยาวสาวได้สาวเอา" อันเดียวก็อธิบายได้ รัฐเป็นอนาธิปไตย ไม่มีประชาธิปไตย ต่างแก่งแย่งผลประโยชน์กันอย่างเมามัน) แต่ผลจากสนธิสัญญาฉบับนี้ ทำให้รัฐทุกรัฐที่จะมามีบทบาทในเวทีของโลกต้องเป็นรัฐอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ จึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าเมื่อก่อน(ปัจจุบันยิ่งซับซ้อนใหญ่ เพราะกระแสโลกาภิวัฒน์ ผ่านความรวดเร็วว่องไวของการสื่อสารและคมนาคม) และด้วยความซับซ้อนนี้เอง ที่ทำให้ปรากฏการณ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ กลายเป็นวิชาให้ได้เรียนได้ศึกษากัน ยิ่งโลกาภิวัตน์เป็นไปอย่างรวดเร็วเท่าไหร่ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐยิ่งเป็นเรื่องสลับซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น เรียนๆไปแล้วก็สนุกดี เหมือนดูละครน้ำเน่า มีแต่ละประเทศจะใช้ไหวพริบ เหลี่ยมคูต่างๆเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แห่งชาติให้ตัวเองให้มากที่สุด มีมิตร มีศัตรู มีมือถือสากปากถือศีล เช่น อเมริกาสมัยหนึ่งบอกปาวๆว่าตัวเองเป็นประเทศเสรีนิยม แต่กลับมี "มหามิตร" เป็นประเทศคอมมิวนิสต์แทบจะทุกหย่อมหญ้า ฯลฯ

วิชาเรียนในภาคนี้จะเน้นเป็นภูมิภาคศึกษา เน้นศึกษาแต่ละประเทศๆไป เช่น อเมริกา ยุโรป ยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก หรือศึกษาเป็นประเด็นต่างๆ เช่น การเมืองโลกผ่านสื่อภาพยนตร์ องค์การระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การก่อการร้าย ความมั่นคงศึกษา ยุทธศาสตร์ศึกษา นโยบายต่างประเทศของประเทศทั้งหลาย หรือศึกษาเป็นประวัติศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

สังคมวิทยาได้ชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งศาสตร์" (ส่วนราชาแห่งศาสตร์ คือวิทยาศาสตร์) เพราะว่าศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จนไปถึงศาสตร์ประยุกต์ของสังคมศาสตร์ อย่าง นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ ล้วนแล้วแต่มีสังคมวิทยาแทรกเป็นยาดำทั้งสิ้น

มานุษยวิทยานั้น แปลได้ตรงตัวว่าเป็น "การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์อย่างรอบด้าน ทุกซอกทุกมุม" ในสหรัฐอเมริกา วิชานี้ได้แบ่งออกเป็น 4 สาขาใหญ่ๆ คือ มานุษยวิทยากายภาพ ศึกษาเรื่องลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการของมนุษยชาติ ตั้งแต่วิวัฒน์จากลิงเกาะบนต้นไม้(ไพรเมท primate)มาเป็นคนปัจจุบันนี้(มนุษย์ปัจจุบันนักมานุษยวิทยากายภาพจะเรียกว่า โฮโม ซาเปี้ยน ซาเปี้ยน (homo sapiens sapiens)) และศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างรูปร่าง ลักษณะของมนุษย์เผ่าพันธุ์ต่างๆในโลกปัจจุบันนี้ ตัวอย่างง่ายๆก็คือการแบ่งมนุษย์ เป็นสามรูปแบบง่ายๆนั่นเอง คือ นิกรอยด์ มองโกลอยด์ คอเคซอย ในเมืองนอกจะเรียนเป็นหมอเลย มีผ่าศพ ดูศพ ดูกระดูก ตรวจเลือด ในประเทศไทยมีสอนที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาต่อมา คือ มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ ศึกษาถึงภาษาต่างๆบนโลกใบนี้ การออกเสียง ตระกูลของภาษา สาขาที่สาม คือมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ศึกษาถึงวัฒนธรรมของมนุษย์ที่ยังคงอยู่หรือกำลังจะสูญหายในปัจจุบัน กล่าวคือ ศึกษาถึงสถาบันต่างๆของมนุษย์ ในสังคมขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นสังคมดั้งเดิมแบบชนเผ่าก็ได้ แต่เป็นสังคมเล็กๆ หรือหน่วยทางสังคมเพียงหน่วยเดียว ไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัว สถาบันการปกครอง สถาบันศาสนา สถาบันฯลฯ เหมือนสังคมวิทยาทุกอย่าง เพียงแต่เป็นการศึกษาในสังคมเล็กๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็ รายการคนค้นคน นั่นแหละ คือการศึกษาทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม เช่น กะเทยแบกข้าวสาร เด็กสองคนหาเลี้ยงพ่อแม่ด้วยการขายน้ำเต้าหู้ และการศึกษาสังคมเล็กๆนั้น ต้องเป็นการศึกษาอย่างเจาะลึก ทุกด้านของชีวิต เพราะมนุษย์เกิดมา ไม่ได้มีแค่ด้านใดด้านหนึ่งของชีวิต แต่มนุษย์มีส่วนร่วมในทุกมนุษย์ไม่ได้มีชีวิตเพื่อเศรษฐกิจอย่างเดียว สาขาสุดท้าย คือ โบราณคดี เป็นการศึกษาวัฒนธรรมที่สูญหายไปแล้วของมนุษย์อย่างรอบด้านทุกแง่ทุกมุม ผ่านวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆที่จมอยู่ในดิน เช่น เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์และกระดูกคน ซากพืชซากสัตว์ สิ่งของเหล่านี้จะเป็นพยานปากเอกที่จะบอกว่าในอดีตได้มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมใดๆได้เกิดขึ้นมาบ้าง ผ่านการตีความของนักโบราณคดี เช่น พบกระดูกหมาในหลุมฝังศพ จะบอกได้ว่าสมัยนี้ๆ คนเลี้ยงหมาแล้ว พบเศษอาหารอันประกอบด้วยเมล็ดข้าวและก้างปลากองเป็นก้อนรวมกัน ตรงพื้นดินบริเวณที่ตรงกับกระดูกช่องท้องของโครงกระดูกมนุษย์เพศหญิง ทำให้ทราบว่าอาหารมื้อสุดท้ายที่ผู้หญิงคนนี้กินก่อนตายเป็นข้าวกับปลา ที่โป่งมะนาว จ.ลพบุรี ขุดพบป่าช้าโบราณของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลงเกรียง(เครื่องมือที่ใช้ฉาบปูนในงานก่อสร้างนั่นแหละ เรียกว่าเกรียงฉาบ เป็นเครื่องมือของนักโบราณคดีเวลาเริ่มต้นขุดค้นจากหน้าดิน ค่อยๆปาด ค่อยๆเปิดหน้าดินไปทีละชั้นๆ ช้าแต่ของที่จะพบก็ไม่เสียหาย)ที่ช่องไหน กริดไหน เป็นต้องเจอกระดูกคนไม่ก็ของอุทิศให้ศพทุกทีไป เช่นนี้แล้ว ตีความได้ว่า ชุมชนนี้ต้องเจริญพอสมควร มีผู้นำของชุมชน ที่มีอำนาจจะกันพื้นที่ส่วนหนึ่งของชุมชนให้เป็นป่าช้าได้ มีการจัดระเบียบในชุมชนนั้น เมื่อขุดพบไป พบว่ามีของอุทิศให้ผู้ตาย ตีความว่ามนุษย์สมัยนี้มีความเชื่อในเรื่องชีวิตในภพหน้า ชาติหน้าแล้ว(รวมไปถึงมีความเชื่อเรื่องผี) ของที่อุทิศให้ทำมาจากสำริด แสดงว่ามีเทคโนโลยีในการหลอมสำริดแล้ว กระดูกบางโครง ตบแต่งร่างกายอย่างหรูหรา เครื่องทรงเพียบ แสดงว่าน่าจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญในชุมชน เป็นต้น นักโบราณคดีจะทำหน้าที่เหมือนนักสืบ เมื่อเห็นของในที่ต่างๆต้องวิเคราะห์และตีความให้ได้ เพื่อหาฉากของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาเมื่อนานมาแล้ว บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาษามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นโบราณคดีจึงเป็น สหวิทยาการ ที่ใช้ศาสตร์ต่างๆมาช่วยกันตีความเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมที่เคยเกิดขึ้นในอดีต นักโบราณคดีบางท่านกล่าวว่าโบราณคดีคือมานุษยวิทยาวัฒนธรรมในภาคอดีตนั่นเอง ซึ่งโบราณคดีจะหาเรียนได้ที่คณะโบราณคดี เท่านั้น ส่วนที่อื่นๆที่เปิดสอนมานุษยวิทยา จะสอนบ้าง พอรู้แต่ไม่ลึกซึ้ง ส่วนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นั้น จะเน้น มานุษยวิทยาวัฒนธรรมเป็นสำคัญ

ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์/บริหารรัฐกิจ

ภาควิชานี้ เรียนเกี่ยวกับการบริหาร ใช้ตำราเล่มเดียวกับบริหารธุรกิจทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างอันเล็กน้อยแต่ยิ่งใหญ่อยู่ที่จุดประสงค์/เป้าหมายของการบริหาร บริหารธุรกิจ เป้าหมายอยู่ที่กระเป๋าสตางค์ของเจ้าของกิจการ แต่บริหารรัฐกิจ เป้าหมายอยู่ที่ปากท้อง/ความสุขของส่วนรวม ประชาชน แบ่งเป็นสามสาขาหลักๆ คือ บริหาร ทรัพยากรมนุษย์ การคลัง











คณะวิทยาศาสตร์

เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติโดยใช้หลักการสังเกต การตั้งสมมติฐาน ใช้หลักปรัชญาและตรรกวิทยาพยายามสังเกตและวัดปริมาณเป็นตัวเลขออกมาเพื่อความแม่นยำ โดยอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์

หลักสูตรการเรียน

คณะนี้จะใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี ในชั้นปีที่ 1-2 จะเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปและวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ในชั้นปีที่ 3-4 โดยสามารถเลือกศึกษาในสาขาวิชาที่ถนัดและสนใจ

1. สาขาคณิตศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์โดยเน้นทั้งในด้านทฤษฎีและการนำไปใช้ เน้นหนักการศึกษาเพื่อให้รู้คุณค่าของคณิตศาสตร์ในการคิด มีเหตุผลทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ในการดำเนินงานวิชาการสาขาต่างๆได้มาก

2.สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมและการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์และออกแบบระบบการจัดฐานข้อมูล ระบบควบคุมการดำเนินงานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์

3.สาขาเคมี

ศึกษาเน้นหนักด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารอินทรีย์ ตั้งแต่ระดับอะตอมถึงระดับโมเลกุล เพื่อให้ผู้เรียนเคมีสามารถศึกษาขั้นสูงต่อไป และนำไปประยุกต์ในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับเคมีในทางอุตสาหกรรมได้

4.สาขาฟิสิกส์

เป็นวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะศึกษาถึงธรรมชาติของสสารแลพะพลังงาน

5.สาขาชีววิทยา

จะศึกษาเน้นทางด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงระดับชีวิตและสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่

6.สาขาพฤกษศาสตร์

จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต การสืบพันธุ์ การขยายพันธุ์ ความสัมพันธ์ของพืชกับสิ่งแวดล้อม วิวัฒนาการของพืช การจัดจำแนกหมวดหมู่พันธุ์ไม้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เภสัชกรรม

7.สาขาเคมีวิศวกรรม

จะศึกษาเน้นหนักใน 2 สายคือ

- เคมีวิศวกรรม ซึ่งเน้นหนักเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเคมีภัณฑ์และเครื่องอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้

กระบวนการเคมี ตลอดจนออกแบบและควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องปฏิกรณ์เคมี หอกลั่นลำดับส่วน เครื่องต้มระเหย เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เป็นต้น

- สายเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง จะศึกษาเน้นหนักไปทางด้านอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิงแข็งและ

พลังงานในรูปแบบอื่นๆ การประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน

8. สาขาธรณีวิทยา

จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับทรัพยากรธรณี เช่น แร่ หิน เชื้อเพลิงธรรมชาติ น้ำ ตลอดจนวัสดุก่อสร้างทั้งการสำรวจและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและศึกษาเกี่ยวกับโลกทั้งทางเคมีและกายภาพ เช่น แผ่นดินไหว ธรณีเคมี เป็นต้น

9. สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

เน้นการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขาเป็นการศึกษาแบบบูรณาการ

10. สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อมของท้องทะเลและมหาสมุทร ตลอดจนการนำทรัพยากรจากท้องทะเลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น 2 สายวิชา คือ สมุทรศาสตร์สกายะและเคมีและสายชีววิทยาทางทะเลและประมง

11. สาขาชีวเคมี

ศึกษาเกี่ยวกับชีวเคมีพืช ชีวเคมีสัตว์ ชีวเคมีสิ่งแวดล้อม ชีวเคมีประยุกต์ ในการเกษตรและอุตสาหกรรมและชีวเคมีทั่วไป ซึ่งเป็นวิชาที่กล่าวถึงโครงสร้างสมบัติการทำงานและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของชีวโมเลกุลในพฤติกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิต

12. สาขาวัสดุศาสตร์

จะศึกษาเน้นหนัก 2 ทาง คือ

- ทางเซรามิกซ์ เน้นกระบวนการผลิตวัสดุภัณฑ์ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมด้านวัสดุ

- ทางพอลิเมอร์ เน้นกระบวนการใช้อุตสาหกรรมด้านพอลิเมอร์ เส้นใย สิ่งทอ พลาสติก สี วัสดุเคลือบผิวต่างๆ

13. สาขาจุลชีววิทยา

ศึกษาเกี่ยวกับลุลินทรีย์ ได้แก่ รา แบคทีเรีย ไวรัส โดยนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม การเกษตร การอาหาร

การแพทย์ การสาธารณสุขและปรับปรุงมลภาวะและสภาพแวดล้อม

14. สาขาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์

จะศึกษาเน้นหนักทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการถ่ายภาพและเทคโนโลยีการพิมพ์

15. สาขาเทคโนโลยีทางอาหาร

มี 2 สาย ได้แก่

- สายเทคโนโลยีทางอาหาร จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปและการถนอมอาหาร โดยให้มี

คุณภาพและประสิทธิภาพสูง

- สายเทคโนโลยีทางชีวภาพ จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับการผลิตสารชีวเคมี ซึ่งได้จากสิ่งมีชีวิต และการนำเอา

ชีวเคมีไปประกอบในอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตเอมไซม์และการผลิตสารปฏิชีวนะ

ลักษณะของอาชีพ

นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ปฏิบัติงานเพื่อศึกษาค้นคว้าหาความจริงตามธรรมชาติ โดยวิธีการวิจัย ทดสอบ ทดลองและวิเคราะห์ สังเคราะห์ มักจะทำงานอยู่ในห้องทดลอง หรือห้องปฏิบัติการทางเคมี ในบางครั้งอาจจะต้องออกไปสำรวจในพื้นที่ตามธรรมชาติ เพื่อเก็บตัวอย่างมาวิจัยในห้องทดลอง

คุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้

- ควรเป็นผู้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นเป็นอย่างดี

- ควรเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ช่างซักถามมีเหตุผล ช่างสังเกต มีความกระตือรือร้น มีระเบียบ มีความอดทน ทำงานได้อย่างมีระบบ

- ควรเป็นผู้มีความเชื่อมันในตนเอง กล้าตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามคุณสมบัติเหล่านี้เป็นเพียงแต่ส่วนประกอบในการประกอบอาชีพเท่านั้น ที่สำคัญอยู่ที่ใจรัก และความตั้งใจจริงมากกว่า

แนวทางในการประกอบอาชีพ

อาจจะประกอบอาชีพในธุรกิจเอกชน หน่วยงานรัฐบาล ต่างๆเช่น

- เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา

- เป็นนักวิจัยในหน่วยงานรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สถาบันวิจัย กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โรงพยาบาล กองพิสูจน์หลักฐาน การไฟฟ้า การท่าเรือ การปิโตรเลียม หรือเป็นนักวิจัยในบริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยา พลาสติก และปิโตรเคมี เป็นต้น



คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะนี้เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำวิทยาการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ คิดค้น ออกแบบและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ การเรียนในคณะนี้ ต้องมีพื้นฐานที่ดีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ซึ่งแน่นอนว่าต้องเรียนสายวิทย์-คณิต เท่านั้น

หลักสูตร

จะเป็นการศึกษาทั้งทางด้านทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนทั้งหมด 4 ปี

ในชั้นปีที่ 1

จะศึกษาในหมวดวิชาพื้นฐานก่อน ได้แก่ คณิตศาสตร์(แคลคูลัส,เรขาคณิตวิเคราะห์ และสมการดิฟเฟอเรลเชียล) วิทยาศาสตร์ ( กลศาสตร์วิศวกรรม,ความร้อน,แสง,เสียง,แม่เหล็กไฟฟ้า และฟิสิกส์ยุคใหม่ ) เคมี อังกฤษ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา และวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมบางส่วน

ในชั้นปีที่ 2-4

เน้นหนักในภาควิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมและสาขาวิชาเอก ดังนี้

1. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การออกแบบและการสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่นำเอาความรู้ทางด้านระบบดิจิตอลมาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆได้และวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

2. สาขาวิศวกรรมเคมี เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ จัดสร้างและกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ โดยศึกษาหลักการกระบวนการผลิตต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนผสม สถานะ ภาวะ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบ โดยเน้นการออกแบบอุปกรณ์และโรงงานกระบวนการอุตสาหกรรมเคมี การควบคุมปฏิกรณ์เคมี การคำนวณดุลมวลและพลังงาน ตลอดจนเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

3. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิเคราะห์และออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรและสิ่งประดิษฐ์ ออกแบบแปลนการติดตั้ง ควบคุมการใช้งาน ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ระบบความเย็น ระบบปรับภาวะอากาศ หม้อไอน้ำ กังหันไอน้ำ และระบบท่อประเภทต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางด้านประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ

4. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การออกแบบและการสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์และระบบไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุม โดยเน้นหนักทางด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ความปลอดภัย

5. สาขาวิศวกรรมโยธา ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคของประเทศ

6. สาขาวิศวกรรมโลหการ เป็นศาสตร์และศิลปในการสกัดโลหะจากสินแร่ของมันแล้วทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจัดเตรียมและทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การใช้งาน

7. สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงสภาวะแวดล้อมและสร้างที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ครอบคลุมถึงการแก้ปัญหาสุขอนามัยภายในโรงงานอุตสาหกรรม การขจัดมลพิษและมลภาวะของน้ำ อากาศ และอื่นๆ

8. สาขาวิศวกรรมสำรวจ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวกับการวางแผน การรังวัด การคำนวณและวิเคราะห์รายละเอียดของพื้นผิวโลก เพื่อนำมาใช้ในการทำแผนที่ แผนผังหรือกำหนดค่าพิกัด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นสำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมต่างๆ

9. สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแร่ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งเพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศ

10. สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน วิเคราะห์ และควบคุมระบบการผลิตต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรมและการบริหารทางธุรกิจ โดยเน้นหนักเรื่องการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิต ศึกษาแก้ไขปัญหาทางการผลิตและปัญหาต่างๆของโรงงานอย่างมีระเบียบแบบแผน การวางแผนและการควบคุมการผลิต อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างโรงงานกับฝ่ายบริหารด้วย

11. สาขาวิศวกรรมวัสดุ มุ่งเน้นเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของวัสดุทั้งการใช้งานและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้หลักสูตรได้ครอบคลุมวิชาหลักที่สำคัญๆ ได้แก่ โครงสร้าง สมบัติ กระบวนการ และสมรรถนะของวัสดุ

12. สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ศึกษาเกี่ยวกับกลศาสตร์ของไหล ชลศาสตร์ อุทกวิทยาผิวดินและใต้ดิน วิศวกรรมแม่น้ำ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของอาชีพนี้

"วิศวกร" คือผู้นำความรู้ทางด้านวิทย์มาประยุกต์ใช้กับปัญหาต่างๆในลักษณะการคิดค้น การออกแบบและปรับปรุงดัดแปลง การทำงานในวิชาชีพวิศวกรรมอาจแยกตามลักษณะของงานออกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

1. งานประเภทสำรวจ อันได้แก่งานแขนงวิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมโยธาทั่วไปและงานของวิศวกรรมเหมืองแร่ เป็นงานซึ่งต้องปฏิบัติอยู่ในต่างจังหวัดและแดนทุรกันดารเป็นส่วนใหญ่

2. งานประเภทออกแบบ เป็นงานทำในสำนักงานถือเป็นหน่วยสมองของงานวิศวกรรมเพราะมีหน้าที่ออกแบบสิ่งก่อสร้างทุกประเภท ทั้งอาคารบ้านเรือน สะพาน เขื่อน ตลอดจนออกแบบเครื่องจักรกลต่างๆเพื่อให้สามารถสร้างแบบให้เป็นจริง แล้วทำให้เป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. งานประเภทควบคุมและบำรุงรักษา เป็นงานที่วิศวกรใช้ความรู้ความสามารถของตนเองควบคุมระบบการทำงานของเครื่องกลในสถานที่ต่างๆ ตลอดจนควบคุมและวางแผนปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมทุกชนิดเพื่อให้ได้งานตามแบบ ในขณะเดียวกันวิศวกรก็จะต้องคอยบำรุงรักษา ซ่อมแซม เปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของระบบที่เกิดชำรุดเสียหายขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน

4. งานประเภทวิจัย เป็นงานที่ค้นคว้าแสวงหาความรู้ความก้าวหน้าใหม่ๆในทางวิศวกรรมศาสตร์หรือหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะประยุกต์ความรู้ความก้าวหน้าทางวิทย์ ซึ่งเป็นงานประเภทที่ทำด้วยความสามารถทางวิศวที่มีอยู่ และงานในส่วนนี้จำเป็นต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในหลายสาขาวิชาชีพเสมอ

5. งานประเภทเป็นผู้สอน เป็นงานสอนของครู-อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา ทั้งวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมทั้งการเขียนตำราทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้
คุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบอาชีพวิศวกร

1. ควรเป็นผู้ที่มีใจรักงานช่าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบประดิษฐ์คิดค้น

2. ควรมีพื้นฐานความรู้ที่ดีในสายวิทย์-คณิต โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์และการคำนวณ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการเรียนในคณะนี้ ส่วนอังกฤษก็ควรเข้าใจบ้างเพราะตำราที่ใช้ค้นคว้าส่วนใหญ่เป็นตำราภาษาอังกฤษ

3. มีความสามารถในการถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีความสามารถในการออกแบบ มีความละเอียดรอบคอบ ทำงานประณีต ควรมีลักษณะของความเป็นผู้นำ มีเหตุผลและเชื่อมั่นในตนเอง

แนวทางในการประกอบอาชีพ

เมื่อจบการศึกษาจากคณะนี้แล้วสามารถที่จะประกอบอาชีพได้กว้างขวางทั้งงานราชการ งานเอกชนและงานส่วนตัว นอกจากรับราชการในกรมและองค์กรต่างๆ เช่น กรมโยธาเทศบาล กรมชลประทาน กรมไปรษณีย์โทรเลข กรมที่ดิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก เรือ อากาศ การไฟฟ้าต่างๆ องค์การท่าเรือ การรถไฟ องค์การโทรศัพท์ โทรคมนาคม เป็นต้น แล้วยังสามารถประกอบอาชีพสาวนตัวได้อีก เช่น ทำงานตามบริษัท เป็นที่ปรึกษาออกแบบ รับเหมาก่อสร้างอาคารต่างๆ รับซ่อมเครื่องกล เครื่องไฟฟ้า ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพนี้

ความก้าวหน้าในอาชีพนี้มีแน่นอน เพราะสามารถพัฒนาตนเองในแนวทางที่ตนเองพอใจได้ ซึ่งต่างจากบางอาชีพที่บุคคลก้าวหน้าได้เพราะคุณสมบัติเฉพาะในอาชีพนั้นเท่านั้น ที่สำคัญคือการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของประเทศที่ทำให้วิชาชีพนี้ถูกพัฒนาออกไปอย่าวงไม่มีขีดจำกัด นอกจากความก้าวหน้าในสายงานจะสูงแล้ว รายได้ที่ได้รับก็สูงด้วยเนื่องจากเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างความเจริญต่อเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นที่ต้องการสูง



คณะเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ก็คือวิชาที่ว่า “ปากท้อง” ของคนในสังคม เมื่อเป็นวิชาที่ว่าด้วยปากท้อง เศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ก็คือ การผลิต การบริโภค และการแลกเปลี่ยน ฯลฯ ซึ่งหน้าที่อันสำคัญของเศรษฐศาสตร์ก็คือ การที่จะต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ หาชุดคำอธิบายอย่างมีเหตุและผล เพราะการทำความเข้าใจพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์หนึ่งๆ ย่อมที่จะทำให้เราสามารถเฟ้นหานโยบายที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์หนึ่งๆได้ ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงมีฐานะที่เป็น “ศาสตร์เชิงนโยบาย (Policy Science)” เป็นวิชาที่พยายามหาหนทางที่จะนำพาสังคมไปในทางที่ดีขึ้น คนในสังคมมีปากท้องที่ดีขึ้น และต่างก็อยู่กันอย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
แล้วเรียนอะไรบ้าง??
ลักษณะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ก็คือ ค่อนข้างจะมีลักษณะที่เป็นศาสตร์เชิงวิชาการ ดังนั้นผู้ที่เรียนเศรษฐศาสตร์จะต้องเรียนทฤษฎี ทฤษฎี และทฤษฎี เพื่อที่จะทำให้ผู้ที่เรียนสามารถเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมได้ และสามารถที่จะให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในแต่ละเหตุการณ์ได้อย่างเหมาะสม ดูๆไปแล้วที่เขียนมามันช่างดูไกลตัวเหลือ……แต่จริงๆแล้วเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะเราเองทุกคนก็เป็นมนุษย์ที่อยู่ในสังคมดังนั้นการที่เราเข้าใจสังคมที่เราอยู่ดีขึ้นก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแน่นอน และที่ขาดไม่ได้ก็คือเครื่องมือในการวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์ได้ชื่อว่าเป็น “ศาสตร์ที่แข็ง(Hard Science)” กล่าวคือเป็นวิชาที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์สูง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกเลยที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะเต็มไปด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และวิธีการทางสถิติยั้วเยี้ยเต็มไปหมด ซึ่งทั้งสองล้วนเป็นเครื่องมือของนักเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการสร้างทฤษฎี รวมถึงการประมาณแบบจำลอง เพื่อใช้ในการคาดการณ์ผลกระทบของปัจจัยต่างๆ
แต่สำหรับน้องๆที่ไม่เก่งคณิตศาสตร์หรือสถิติก็อย่าพึ่งรู้สึกท้อแท้ว่าตนเองไม่สามารถที่จะเรียนเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะพี่เองก็เป็นคนหนึ่งที่อ่อนวิชาคณิตศาสตร์มาก ขนาดที่เรียนได้เกรด 1 มาตลอด 6 เทอมในสมัยมัธยม เข้ามาเรียนในระดับปริญญาตรีก็ได้เกรด D ในวิชาจำพวกแคลคูลัสและสถิติมาตลอด แต่พี่เองก็ยังเรียนเศรษฐศาสตร์ได้ตลอดรอดฝั่งจวบจนทุกวันนี้

สิ่งที่พี่ต้องการจะสื่อก็คือ การที่เราเก่งเลขใช่ว่าเราจะประสบความสำเร็จในการเรียนเศรษฐศาสตร์ เพราะเลขไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เลข เลขเป็นเพียงเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น ซึ่งถ้าเราเข้าใจใน concept ของวิชาเศรษฐศาสตร์แล้ว แม้จะเจอเทคนิคทางคณิตศาสตร์บ้าง เราก็จะสามารถแก้ไขมันได้อย่างลุล่วง
โอเค เราอาจจะเก่งเลขมากๆสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เลขได้ แต่มันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราขาดความเข้าใจในตัวทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ บางคนถึงแก้ได้คำตอบออกมา ก็ไม่สามารถที่จะระบุถึงนัยยะในเชิงทฤษฎีและนโยบายของข้อนั้นๆได้ ซึ่งเป็นการเรียนเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ถูกต้อง อย่าลืมว่าเศรษฐศาสตร์เป็นสังคมศาสตร์ เราจะต้องเรียนมันไปเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมนะครับไม่ใช่ไปตอบประมาณว่าข้อนี้คิดได้ 4 ได้ 5 แล้วจบกัน
สิ่งที่นักเรียนเศรษฐศาสตร์จะต้องเรียนในเบื้องต้นก็คือวิชาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค มหภาคขั้นพื้นฐาน ก่อนที่จะไปเรียนเศรษฐศาสตร์จุลภาค มหภาคในขั้นกลาง รวมถึงต้องเรียนวิชาพื้นฐานจำพวกสถิติและแคลคูลัส วิชาคณิตเศรษฐศาสตร์ ส่วนในปีหลังๆก็จะเริ่มเรียนแบบเจาะเอกซึ่งตรงนี้ก็จะเรียนแขนงวิชาเฉพาะเพื่อให้ผู้ที่เรียนเกิดความชำนาญเฉพาะด้าน และในปีสุดท้ายก็จะเรียนวิชาที่ว่าด้วยระเบียบวิธีวิจัยปิดท้าย
วิชาสุดท้ายถือว่าเป็นวิชาสำคัญมาก เพราะนักเรียนเศรษฐศาสตร์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถทำวิจัยได้ การวิจัยเนี่ยแหละจะเป็นการประมวลความรู้ที่มีอยู่ของเราและนำมันไปใช้จริง ซึ่งการทำวิจัยที่ดีสามารถทำให้เราเข้าใจเรื่องราวต่างๆในสังคมได้มากขึ้น รวมถึงสามารถที่จะเสนอแนะทางออกให้แก่ปัญหาที่กำลังพิจารณาอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรียนจบแล้วจะไปทำอะไร??
เป้าหมายที่แท้จริงของการเรียนเศรษฐศาสตร์ก็คือการฝึกฝนผู้ที่เรียนเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า เรียนเศรษฐศาสตร์แล้วจะไปเป็นอะไร พี่ก็อยากจะตอบว่าก็ต้องไปเป็นนักเศรษฐศาสตร์สิครับ แต่ใช่ว่าทุกคนที่เรียนจะต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์เสมอไป และถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ก็ยังมีประโยชน์กับเราแน่นอน
อย่างที่บอกไปแล้วว่าเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงวิชาการ ไม่เหมือนบางสาขาที่มีลักษณะเป็นวิชาชีพ ดังนั้นคนที่เรียนเศรษฐศาสตร์มักจะบ่นว่าวิชาตัวเองตลอดว่าเรียนไปก็เอาไปใช้ไม่ได้ เพราะเรียนแต่ทฤษฎีไม่เห็นสอนวิธีหรือทักษะในการทำงานเลย ซึ่งพี่คิดว่าคนที่พูดเช่นนี้คงผิดพลาดในบางประเด็น เราควรจะต้องตีความคำว่า”เอาไปใช้จริง”ก่อนว่ามันหมายถึงอะไร
สำหรับวิชาเศรษฐศาสตร์การ “เอาไปใช้จริง” ก็คือการนำความรู้และทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการวิเคราะห์ วิจัยเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ผลิตผลงานวิจัย หนังสือ หรือบทความต่างๆเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม
แต่ไม่ได้หมายความว่าเรียนเศรษฐศาสตร์มาแล้วจะต้องไปเป็นนักวิจัย อาจารย์หรือนักวิชาการเท่านั้น เพราะวิชาเศรษฐศาสตร์เองก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายระดับ สิ่งที่เศรษฐศาสตร์จะสอนเราก็คือ ทำให้เราเป็นคนที่คิดอะไรอย่างเป็นระบบ และมีเหตุผล อีกทั้งทำให้เราเป็นคนที่มีความรอบคอบในการที่จะทำสิ่งต่างๆด้วย
ถึงแม้ว่าในด้านทักษะการทำงานในแบบต่างๆ เศรษฐศาสตร์อาจจะไม่ได้ให้ในจุดนี้มากนัก แต่สิ่งที่เศรษฐศาสตร์จะให้เราก็คือการที่สอนให้เราเป็นนักคิด เข้าใจและสามารถวิเคราะห์สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้อย่างลุ่มลึก และมีเหตุมีผล ดังนั้นแล้ว การเรียนเศรษฐศาสตร์โดยเปิดใจให้กว้างโดยที่อย่าพึ่งไปบ่นใส่มัน พี่ว่ามันจะต้องเป็นประโยชน์อย่างแน่นอนครับ

สำหรับประสบการณ์ของพี่ บรรดาเพื่อนที่เรียนเศรษฐศาสตร์ด้วยกันก็ต่างพากันทำอาชีพที่หลากหลายแตกต่างกันไป บางคนไปเป็นโบรกเกอร์อยู่ในสถาบันหลักทรัพย์ ทำงานธนาคาร เป็นเจ้าที่ในองค์กรต่างๆ อยู่ในฝ่ายจำพวก ฝ่ายงบประมาณฝ่ายบุคคล บางคนก็ทำกิจการส่วนตัว ไปทำเวบไซต์ก็ยังมี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรียนจบเศรษฐศาสตร์ไปสามารถไปทำงานได้หลากหลาย มันสำคัญที่ว่า ถ้าเราชอบและรักสิ่งที่เรียนมันต้องมีหนทางสำหรับเราแน่นอนครับ ขอให้น้องเปิดใจให้กว้าง เพราะอย่างไรก็ตามเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์แน่นอนครับ และที่สำคัญคือเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่สอนให้เรานึกถึงสังคมส่วนรวมอีกด้วยครับ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราชอบเศรษฐศาสตร์หรือไม่??
อันนี้พี่ว่าตอบยากนะเนี่ย แต่ส่วนหนึ่งก็ลองอ่านบทความอันนี้แล้วลองคิดๆดูซิว่าเราพอจะรับมันได้หรือไม่ และถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกพี่ว่าลองไปหาตำราเศรษฐศาสตร์ไปเปิดๆ พลิกๆอ่าน แล้วลองเชคซิว่าเราพอจะรับมันได้มั๊ย ที่จะต้องเรียนแบบนี้ พี่ว่ามันสำคัญนะครับสำหรับการที่เราจะต้องหาข้อมูลของสิ่งต่างๆให้ครบถ้วน ไตร่ตรองมันให้ดีก่อนที่จะเรียนมัน
สำหรับประสบการณ์ของพี่เองถือว่าโชคดีมากๆ เพราะพี่เองก็เป็นคนหนึ่งที่เรียนเศรษฐศาสตร์แบบตาสีตาสา ซึ่งในตอนปีแรกๆพี่ไม่ได้มีความชอบในวิชาเศรษฐศาสตร์เลย แต่พอมาช่วงหลังๆพี่ลองเปิดใจและเรียนมันดูพี่ก็พบว่ามันสนุกกว่าที่คิด ทำให้พี่รักและชอบเศรษฐศาสตร์จนมาถึงทุกวันนี้ เราจะไม่รู้ว่าเราชอบอะไรเลยจนกว่าเราจะลองทำมันครับ



คณะศิลปกรรมศาสตร์

เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาวิชาการที่เกี่ยวกับศิลปะและประยุกต์ศิลป์ โดยศึกษาทฤษฎี ประวัติ เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ การออกแบบปั้น การพิมพ์ การเล่นดนตรีและการรำ เป็นต้น ทั้งนี้โดยมีจุดหมายให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และอนุรักษ์ศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งบุกเบิกสร้างสรรค์วิทยาการใหม่ ประกอบด้วยสาขาต่างๆ ดังนี้

1. สาขาทัศนศิลป์ ศึกษาศิลปะบริสุทธิ์ที่รับรู้ผ่านการมองเห็น เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่ายสื่อผสม โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีศิลปะ ประวัติศิลปะ ปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปะต่างๆ

2. สาขานฤมิตศิลป์ ศึกษาการออกแบบเพื่อสื่อสารแนวความคิด เช่น การออกแบบกราฟฟิก เครื่องปั้นดินเผา แฟชั่น และนิทรรศการ โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีการออกแบบ ประวัติการออกแบบ ปรัชญาการออกแบบ และวิชาปฏิบัติการสร้างสรรค์งานออกแบบต่างๆ

3. สาขาดุริยางคศิลป์ แยกออกเป็น สาขาดุริยางคศิลป์ไทย ศึกษาดนตรีไทย และสาขาดุริยางคศิลป์ตะวันตก ศึกษาดนตรีคลาสสิก โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีดนตรี ประวัติดนตรี และวิชาปฏิบัติ การบรรเลง ขับร้อง และประพันธ์ดนตรี

4. สาขานาฏยศิลป์ แยกออกเป็น สาขานาฏยศิลป์ไทย ศึกษาการรำไทย และนาฏยศิลป์ตะวันตก เป็นการศึกษาการเต้นบัลเลต์และการเต้นรำแบบตะวันตก โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฏีการรำ ประวัติการรำ ปรัชญาการรำ และวิชาปฏิบัติการรำแบบต่างๆ



คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

การเรียนทางด้านศิลปกรรม เป็นการเรียนเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ศิลปะในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นผู้ที่เลือกเรียนในคณะนี้จึงต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม เช่น

1. ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีใจรัก สนใจ และมีความถนัดทางด้านศิลปะ

2. มีจินตนาการ มีมุมมองความคิดที่หลากหลาย

3. มีทักษะในการค้นคว้า และการแสดงออกทางศิลปกรรม

4. ต้องยินดีที่จะสละเวลาฝึกฝนทักษะนอกเวลาเป็นพิเศษด้วยตนเอง

5. ต้องไม่มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

สามารถทำงานในหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระได้ ศิลปกรรมฯเป็นสาขาวิชาชีพเฉพาะทาง ซึ่งเป็นที่ต้องการของสังคมไทย ซึ่งกำลังมีการพัฒนาการด้านศิลปะและการออกแบบ



คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “สถาปนิก” นั่นแหละ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการออกแบบกายภาพหรือสิ่งที่จำต้องได้นั้นแหละ เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์การออกแบบภายใน ตลอดจนการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมให้ได้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุด และครอบคลุมถึงด้านการวางแผนและเคหการด้วย

หลักสูตร

คณะนี้จะใช้ระยะเวลาเรียนตามหลักสูตร 5 ปี เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในอาชีพ สามารถออกแบบอาคารหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆได้อย่างสวยงามได้มาตรฐาน คุ้มค่า และประหยัด รวมทั้งเข้าใจในความต้องการ ความเหมาะสมของเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มบุคคลที่ต่างกันได้

สาขาในกลุ่มนี้มีอยู่ 5 กลุ่มสาขา คือ

1.สาขาสถาปัตยกรรม

เป็นสาขาที่ศึกษาการออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างทั่วไปโดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อม การใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และความรู้ทางสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคมและศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความงาม

2.สาขาสถาปัตยกรรมภายใน

เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบที่เน้นการจัดที่ว่างภายในอาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอยและความงาม เป็นสาขาที่เมื่อจบมาเราจะเรียกว่า “มัณฑนากร”นั้นแหละค่ะ ซึ่งรายละเอียดของอาชีพนี้จะมีบอกในตอนหน้าน่ะค่ะ

3.สาขาสถาปัตยกรรมไทย

จะศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยและศึกษาแหล่งที่มา อิทธิพลขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทย ศึกษาและฝึกหัดลายไทยชนิดต่างๆ ตั้งแต่ง่ายไปจนถึงการบรรจุลายลงบนส่วนประกอบสถาปัตยกรรมให้ถูกต้องตามหน้าที่

4.สาขาภูมิสถาปัตยกรรม

จะเน้นหนักด้านการปรุงแต่ง การออกแบบ และปรับปรุงในส่วนของสภาพแวดล้อม ประเภทสวนสาธารณะ สวนสัตว์ สนามเด็กเล่น โดยเน้นที่ความกลมกลืนกันของธรรมชาติ ป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร

5.สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม

จะเน้นหนักการออกแบบ 5 สาขา คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบเลขะนิเทศ การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา การออกแบบสิ่งทอ โดยจะต้องศึกษาพื้นฐานทั้ง 5 สาขา แล้วเลือกเน้นสาขาที่ตนถนัดและทำวิทยานิพนธ์ในสาขานั้น

ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์นี้ ในช่วง 1-2 ปีแรก จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานบังคับ พื้นฐานการออกแบบ และพื้นฐานอาชีพ ในชั้นปีที่ 3 จะเรียนวิชาเฉพาะของแต่ละสาขา พอในชั้นปีที่4จะมีการฝึกงานช่วงปิดเทอม และจะทำวิทยานิพนธ์ในภาคสุดท้ายของชั้นปีที่ 5

ผู้ที่อยากจะเขาศึกษาในคณะนี้ควรเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการและทักษะในด้านทัศนศิลป์เช่น เรื่องสี การวาดลายเส้น และมีความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะวิชาการออกแบบเป็นศิลปะประยุกต์ ผู้สมัครต้องสอบผ่านวิชาความถนัดด้านการออกแบบด้วย

ลักษณะของอาชีพนี้

อาชีพ “สถาปนิก” คืออาชีพการออกแบบอาคารประเภทต่างๆให้มีความงดงามและประหยัด และต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้อาคารนั้นๆด้วย งานวิชาชีพนี้เป็นลักษณะการบริการเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสถาปนิกจะต้องคำนึงถึงความสุขความพอใจของผู้อื่นเสมอ

การออกแบบมีหลักว่าจะต้องศึกษาถึงความต้องการของผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารให้เข้าใจอย่างละเอียดว่ามีจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายอย่างไรและต้องประมาณการว่าแบบที่ได้ออกวานั้นถูกต้องภายในงบประมาณที่ผู้เป็นเจ้าของกำหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งต้องศึกษาในเทคนิคการก่อสร้างและกรรมวิธีที่แปลกใหม่ที่พัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการนำวัสดุใหม่ๆและทันสมัยมาใช่ ข้อสำคัญแบบที่เขียนต้องเรียบร้อยและสมบูรณ์ ต้องเอาใจใส่ควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบที่เขียนไว้ทุกประการ

สถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบซึ่งต้องทำงานตามขั้นตอนและกำหนดเวลาชิ้นงานต่างๆร่วมกับวิศวกรก่อสร้างและนักเขียนแบบโดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

- บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า

- ออกแบบ คำนวณแบบ เลือกวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า

- คำนวณรายการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับเนื้องาน

- เตรียมแบบและส่งแบบที่วาดโดยช่างเขียนแบบให้ลูกค้าพิจารณา เพื่อ ดัดแปลง แก้ไขและตอบข้อซักถามของลูกค้า

ร่วมกับวิศวกร

- เมื่อแก้ไขสมบูรณ์จึงส่งแบบให้กับวิศวกรทำการก่อสร้าง

- ออกปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรระหว่างทำการก่อสร้าง

- ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้าง

- วางแผนและควบคุม งานที่สถาปนิกจะได้รับทำเป็นประจำตลอดปีคือ งานปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไขตัวอาคารเพื่อความ

ทันสมัย สวยงามและ ปลอดภัยอยู่เสมอ

คุณสมบัติของผู้ที่สนใจจะประกอบอาชีพสถาปนิก

1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการในการออกแบบและมีความ สามารถในการวาดภาพเพื่อสื่อความคิดในใจออกมาเป็นรูปธรรมได้พอสมควร

2. มีความสามารถในการประยุกต์ที่ดี เพราะต้องนำเอาศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาการและเทคโนโลยีมาผสมผสานกันให้สอดคล้องได้

3. มีความละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต และประณีต เพราะงานออก แบบเป็นเรื่องในเชิงศิลปะและการสร้างประดิษฐ์

4. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ในการติดต่อประสานงาน เพราะเมื่อทำงานจะต้อง ติดตามผลงานอย่างต่อเนื่องและจะสำเร็จลุล่วงดีได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายดังนั้นในทุกขั้นตอนต้องไม่ให้มีความขัดแย้งกัน

แนวทางในการประกอบอาชีพ

ผู้ที่จบคณะนี้สามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชนหรือประกอบอาชีพ ส่วนตัวหรือทำงานบริษัทต่างๆได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะด้านการพัฒนา เช่น การออกแบบการก่อสร้าง การอุตสาหกรรม การโฆษณา รายได้ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือ ความสามารถและความนิยมของลูกค้า

ความก้าวหน้าในอาชีพนี้

อนาคตความก้าวหน้าของคนที่ประกอบอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ ความชำนาญในงานเป็นสำคัญโดยมีหลักประกันอยู่ที่ฝีมือและผลงาน ผู้ที่ทำงานใน ภาครัฐจะได้รับการเลื่อนขั้นตามความสามารถถ้าได้รับการศึกษาต่อหรืออบรมหลัก สูตรต่างๆเพิ่มเติมอาจได้เป็นผู้อำนวยการของหน่วยเองที่สังกัดอยู่ ในภาคเอกชน อาจได้เป็นผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการก่อสร้างหรือเป็นเจ้าของกิจการก็ได้



คณะสหเวชศาสตร์

วิชาชีพเทคนิคการแพทย์เป็นวิชาชีพหนึ่งของสายการแพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการหรือที่เรารู้จักกันบ่อยๆ คือ ทำงานทางด้านห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการนี้ เราจะนำไปช่วยในการวินิจฉัยโรค เพื่อบอกว่าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคอะไร ใช้ในการพยากรณ์โรคว่าผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคเพียงไร หรือติดตามการดำเนินไปของโรคว่าอยู่ในระยะขั้นไหนแล้ว นอกจากนี้ ผลทางห้องปฏิบัติการยังสามารถที่จะนำไปใช้ในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคต่างๆ ได้ค่ะ

ประวัติของวิชาชีพทางเทคนิคการแพทย์นะคะ เดิมทีเดียวในอดีตหน้าที่การตรวจวิเคราะห์ทั้งหมดแพทย์จะเป็นผู้ทำ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจทางด้านห้องปฏิบัติการ การจ่ายยา หรือการทำกายภาพบำบัด การฉายรังสี ซึ่งจะเห็นได้ว่าแพทย์จะต้องทำหน้าที่หลายอย่างมาก ตั้งแต่ทำการตรวจอาการของผู้ป่วย ซักประวัติของผู้ป่วย และยังมีหน้าที่อื่นๆ อีกด้วย เมื่อการแพทย์เจริญมากขึ้นความรู้ต่างๆ ของทางสายการแพทย์นี้จะมากขึ้นทวีคูณไปด้วย เชื้อโรคและโรคใหม่ๆ ก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกัน เทคโนโลยีและการตรวจวิเคราะห์ก็สลับซับซ้อนมากขึ้น เลยมีวิชาชีพแขนงอื่นๆ เพื่อเข้ามาช่วยงานของแพทย์ตรงนี้ วิชาชีพที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ได้แก่ เภสัชกรที่ทำหน้าที่จ่ายยา อาชีพเทคนิคการแพทย์ที่ทำหน้าที่ตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาชีพนักกายภาพบำบัด หรือ อาชีพนักรังสีเทคนิค อาชีพเหล่านี้เป็นแขนงของงานทางสายการแพทย์ที่มาช่วยงานของแพทย์ค่ะ

งานเทคนิคการแพทย์ส่วนใหญ่หลักๆ จะอยู่ในโรงพยาบาล ที่เห็นได้ชัดก็เป็นการตรวจวิเคราะห์พวกสารชีวเคมีในเลือด เช่น การตรวจระดับน้ำตาล ระดับไขมัน ระดับเอนไซม์ในตับ หรือการตรวจปัสสาวะ การดูเม็ดเลือด ผลึกของนิ่ว การตรวจอุจจาระ ตรวจดูพวกพยาธิต่างๆ ตรวจดูชนิดและปริมาณของเม็ดเลือดขาว เพื่อดูระดับของภูมิคุ้มกันโรค ตรวจดูพวกเชื้อโรคต่างๆ จากเลือด ปัสสาวะ และน้ำไขสันหลัง ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนี้ จะนำไปช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและแม่นยำขึ้น ทั้งยังสามารถช่วยวินิจฉัยโรคได้รวดเร็วขึ้นด้วย และทำให้การรักษานี้มีความรวดเร็วเช่นกันค่ะ

ลักสูตรนักเทคนิคการแพทย์จะต้องใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยสองปีแรกจะต้องเรียนวิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไปและความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่ปีแรกจะเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ เรียนวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีวเคมี และชีววิทยา พอสองปีหลังก็จะเริ่มมาเรียนที่คณะสหเวชฯ ของเรา ซึ่งจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพของนักเทคนิคการแพทย์ คือต้องเรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางด้านการแพทย์ทั่วไป วิชาทางด้านเทคนิคการแพทย์เองทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติด้วยค่ะ อย่างเช่น วิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์เราจะต้องเรียนเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือพวกปรสิตทางการแพทย์ นอกจากนี้ เราจะต้องเรียนวิชาทางเคมีคลินิก ซึ่งจะตรวจสารต่างๆ ที่อยู่ในเลือด และยังมีวิชาทางจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับการตรวจเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ปัสสาวะ หรือแม้แต่น้ำคัดต่างๆ ในร่างกาย เมื่อเราสำเร็จหลักสูตรนี้ไปแล้ว ก็จะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตค่ะ ซึ่งเป็นสาขาทางด้านเทคนิคการแพทย์ แต่ในการที่เราจะไปทำงานในห้องแล็บได้ เราจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์ด้วยถึงจะไปประกอบวิชาชีพได้

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยผู้ผลิตสาขาเทคนิคการแพทย์หรือสหเวชศาสตร์มีอยู่ทั้งหมด 9 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทางเอกชนก็จะมีมหาวิทยาลัยหัวเฉียว มหาวิทยาลัยรังสิต และยังมีมหาวิทยาลัยเปิดใหม่อีกแห่งหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร ค่ะ

ฟังดูหลักสูตรการศึกษาแล้ว มีบางส่วนที่เรียนคล้ายๆ กับจะเป็นหมอเหมือนกัน แต่ถ้าสมมุติว่ามีเหตุฉุกเฉินที่จะต้องรักษาผู้ป่วย ก็ทำไม่ได้นะคะ เพราะว่าเขาจะมีเป็นกฎหมายหรือวิชาชีพเฉพาะ เราไม่สามารถทำได้ อนุญาตให้แค่เจาะเลือดและตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการเท่านั้นค่ะ

ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และจะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์คัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยค่ะ วิชาที่สอบเข้าจะมีวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และสังคม เมื่อสอบเข้าได้แล้ว จะต้องมีการสอบสัมภาษณ์ และการตรวจร่างกายนะคะ น้องๆ ที่อยากเรียนจะต้องไม่เป็นผู้พิการ หรือเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น ตาบอดสี เพราะถ้าตาบอดสีแล้ว ไม่สามารถที่จะแยกเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเม็ดเลือดแดงได้ จะเป็นอุปสรรคในการวินิจฉัยโรค ถ้าเป็นในระดับที่น้อยๆ อาจจะเรียนได้ แต่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการที่จะแยกสีของเม็ดเลือดค่ะ

ซึ่งปีที่ผ่านมาคะแนนสูงขึ้นนะคะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอันดับหนึ่งของทั้งเก้าแห่งค่ะ และยังมีจำนวนผู้ที่สนใจมากขึ้นด้วยค่ะ

อาชีพเทคนิคการแพทย์นี่นะคะ จะต้องมีความรับผิดชอบค่อนข้างสูง เพราะว่าเราจะต้องทำงานเกี่ยวกับชีวิตของผู้ป่วย และจะต้องวิเคราะห์ผลให้ถูกต้องและแม่นยำที่สุด นอกจากนี้ ควรจะมีความละเอียดรอบคอบและเป็นคนช่างสังเกตด้วยค่ะ อ้อ! ความรับผิดชอบต้องมาอันดับแรกเลยนะคะ และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วประกอบอาชีพก็จะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ค่ะ

นอกจากนี้เมื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้วยังสามารถศึกษาต่อได้ทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาเทคนิคการแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยมหิดลจะมีถึงปริญญาเอก แต่ถ้าอยากจะเปลี่ยนแนวไปศึกษาด้านอื่นก็ได้ อย่างเช่น ที่จุฬาฯ ของเรา ก็สามารถจะเรียนสหสาขาได้ เช่น ทางจุลชีววิทยา หรือทางด้านไบโอเทคโนโลยี ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพก็ได้ค่ะ หรือไปศึกษาต่อทางด้านสายการแพทย์ของทางคณะแพทย์ฯ ก็ได้ เช่น เกี่ยวกับอณูพันธุ์วิศวกรรม ค่ะ

จากข้อมูลโดยรวมแล้วอาชี่พนี้ก็มีความสำคัญมากเลยนะคะ เพราะในปัจจุบันนี้มีโรคต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งการวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วยอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถที่จะบ่งบอกถึงสาเหตุของโรคได้ ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องอาศัยผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ อีกทั้งเทคโนโลยีทางการตรวจวิเคราะห์มีความเจริญมากขึ้นทุกวัน มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่จะศึกษาลึกลงไปทางด้านนี้เลย แพทย์เองก็มีภาระที่หนักอยู่แล้ว ไม่สามารถที่จะมาเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ทุกๆ ด้าน จึงเห็นได้ว่าวิชาชีพนี้มีความสำคัญมากที่จะมาช่วยให้ผลการวิเคราะห์ทางการตรวจวินิจฉัยโรคมีความถูกต้อง และไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย สามารถที่จะศึกษาทางด้านนี้ได้ทั้งคู่ค่ะ

นอกจากนี้ในต่างประเทศเขาก็มีหลักสูตรหรือวิชาชีพนี้คล้ายๆ กับที่เมืองไทย แต่อาจจะเรียกว่า Medical Technology หรืออาจจะเป็น Allied Health Sciences ก็ได้ การเรียนก็จะคล้ายๆ กัน จะมีหลักสูตรทางด้านเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค หรือศาสตร์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางด้านอื่น อย่างเช่น ทางด้านโภชนาการ เป็นต้น เราสามารถเรียนได้ที่ University of Texas หรือ University of Tennessee และมหาวิทยาลัยชื่อดังอีกหลายๆ แห่งค่ะ

การรับนิสิตเข้าเรียนในคณะนี้ที่จุฬาฯ ในแต่ละปี ถ้าเป็นนิสิตสาขาเทคนิคการแพทย์ประมาณ 80-100 คน แต่ถ้าเป็นสาขากายภาพบำบัด ประมาณ 40-50 คน ค่ะ



คณะสัตวแพทยศาสตร์

จะเรียนไปทำไม๊..ตกงานหรือไม่..ใครอยากรู้คำตอบยกมือขึ้น
น้องๆ หลายคนคงสงสัยและหาคำตอบไม่ได้ เวลาคุณพ่อคุณแม่ถามว่า "เรียนไปจะทำงานอะไรลูก"และบางคน ก็แอบคิดในใจ จบไปเป็นหมอหมาเท่านั้นหรือ...วันนี้...พี่มีคำตอบค่ะ
สัตวแพทย์ ก็คือแพทย์ของสัตว์ และสัตว์ ก็ไม่ใช่มีเพียงน้องหมา น้องแมว แต่เรายังรวมไปถึง น้องผีเสื้อ น้องผึ้ง น้องม้าลาย น้องปลา น้องพะยูน น้องโลมา รวมไปถึง น้องม้าและน้องช้าง และน้องอื่นๆ อีกมากมาย ก็โลกเรามันมีสัตว์แค่หมากับแมวเสียที่ไหนกันล่ะ
สัตวแพทย์ คือ "คุณหมอ" เราได้รับเกียรติเรียกเช่นนี้มาเสมอ ศักดิ์ศรีเราไม่ได้มีน้อยกว่า แพทยศาสตร์เลย เราก็เรียกว่า "คุณหมอ" เหมือนกัน ยิ่งในต่างประเทศ ศักดิ์ศรีเราเท่าเทียมกันเลย และเงินเดือนออกจะมากกว่าด้วยซ้ำ ย้ำ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป
งานอย่างแรก ก็คงไม่พ้น คุณหมอ คือรักษาสัตว์ มีทั้งโรงพยาบาล คลินิค มากมาย ทั้งรัฐ ทั้งเอกชน คืออย่างน้อยคุณจบ คุณก็มีใบประกอบโรค คุณก็เป็นหมอ คำว่าหมอก็ติดตัวคุณจนตาย แม้คุณจะไปเป็นแม่บ้าน คนขับรถ หรือขายข้าวมันไก่ คำว่านายสัตวแพทย์ หรือสัตวแพทย์หญิงก็จะนำหน้าชื่อคุณตลอด เงินเดือนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความขยัน ว่าคุณรับงานมากแค่ไหน รับงานกี่ที่ แต่ที่แน่ๆ ของรัฐก็ไม่ต่ำกว่า 18000 แน่ๆ ซึ่งก็ไม่ได้ทำทุกวัน และถ้าเปิดคลินิค เท่าที่รู้ประมาณเดือนละ 20,000-30,000นะ
2. ถ้าน้องแบบว่ารักการสอนและเกรดหรู ก็ไปเป็นอาจารย์ ซึ่งเงินเดือนก็งามหลักหมื่นแน่ๆ เพราะวุฒิเราเทียบเท่าปริญญาโท แถมบวกค่าวิชาชีพอีก วันนึงเต็มที่ ก็ 4 ชั่วโมง แล้วก็ไม่ได้สอน 4 ชั่วโมงทุกวันนะ เอาเวลาว่างไปเปิดคลินิค รับจ๊อบโรงพยาบาลได้สบายๆ
3. ทำงานบริษัท ซึ่งเงินเดือนสูงมากมาย ทั้งเงินเดือน ค่าคอม ค่าเบี้ยเลี้ยง มีรถให้ เติมน้ำมันให้ฯลฯ บริษัทเกี่ยวกับอาหารที่ผลิตมาจากสัตว์ ตราบใดที่มนุษย์โลกยังดำรงชีพด้วยปัจจัย 4 ซึ่ง 1 ในนั้นคืออาหาร เราไม่มีวันตกงาน และมีหลากหลายบริษัทมากมายทั้งผลิตอาหารสัตว์ และผลิตอาหารจากสัตว์ บริษัทขายยา วัคซีน ฯลฯ
4. ถ้าคุณเป็นคนชอบสัตว์ใหญ่ สัตว์ป่า ก็มีงานเกี่ยวกับด้านนี้มากมาย เงินเดือนก็งาม ทำงานเท่ห์ๆ ไม่มีใครได้มีโอกาสทำแบบนี้บ่อยๆนะ
5. ถ้าชอบงานมั่นคง ก็ต้องอยู่ ปศุสัตว์ เงินเดือนก็อย่างที่บอก หลักหมื่นแน่ๆ หมื่นปลายๆ ด้วย แถมได้ไปดูงานต่างประเทศด้วยนำ (พ่อเพื่อนอยู่ปศุสัตว์ ได้ไปดูงานบ่อยมากมาย) เงินเดือนน้องก็จะพัฒนาไปตามระยะเวลาที่ทำงาน ยิ่งนาน เงินเดือนก็มาก มากและมาก
6. ฟาร์ม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เงินเดือนงาม กินอยู่ฟรี มีที่เที่ยว ทำงานที่รัก น้องหาอาชีพแบบนี้ไม่ได้ตามเซเว่นนะ
7. อันสุดท้ายที่พี่คิดออกละกัน ทั้งๆ ที่มีอีกเยอะ ก็คือเปิดธุรกิจส่วนตัว ทั้งนี้รวมถึงเปิดคลินิคของตัวเอง เปิดร้านขายอาหารสัตว์ เปิดฟาร์ม ฯลฯ
พี่ว่าข้อมูลเหล่านี้คงจะช่วยน้องๆ ให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะจ๊ะ ขอให้สัตวแพทย์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้น้องๆ ไปสู่ฝัน



คณะอักษรศาสตร์

เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสริมสร้างและพัฒนาจิตใจ ทำให้เข้าใจตนเอง ผู้อื่น สังคม และสภาพแวดล้อม รู้ถึงคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ซึ่งพอจะแบ่งสาขาการเรียนออกเป็นดังนี้

1. สาขาประวัติศาสตร์ ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์ของภูมิภาคต่างๆตลอดจนวิธีการค้นคว้าวิจัยทางประวัติศาสตร์

2. สาขาภูมิศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ตลอดจนเทคนิคในทางภูมิศาสตร์และการทำแผนที่

3. สาขาสารนิเทศศึกษา ศึกษาด้านทฤษฎีและปฏิบัติทางบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์

4. สาขาปรัชญา ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมา หลักการ แนวคิด ผลกระทบของปรัชญาต่างๆ

5. สาขาศิลปการละคร ศึกษาเกี่ยวกับการละครในด้านเวที ภาพยนตร์ โทรทัศน์และวิทยุ ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนประวัติและวรรณคดีของละคร

6. สาขาภาษาไทย ศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยและวรรณคดี ผู้ศึกษาจะเลือกเน้นหนักอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างก็ได้

- ด้านวิชาภาษาไทย จะศึกษาหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทย ทฤษฎีภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์ หลักและศิลป

การใช้ทักษะภาษาไทยโดยเจาะลึกแต่ละทักษะและวิธีการสื่อสารด้วยภาไทยในกิจการและวงการต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย

- ด้านวิชาวรรณคดีไทย จะศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีไทยสมัยต่างๆอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งทั้งในด้านประวัติ

ความเป็นมาและวิวัฒนาการของวรรณคดี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การวิเคราะห์วิจารณ์และการประเมินค่าวรรณคดีหลายเรื่องที่สำคัญๆโดยใช้ทฤษฏีทางตะวันออกและตะวันตก การประยุกต์ดัดแปลงวรรณคดีมาใช้ในรูปของศิลปะสาขาอื่นๆ

7. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดี ผู้ศึกษาจะเลือกเน้นหนักอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างก็ได้

- ด้านวิชาภาษาอังกฤษ จะศึกษาองค์ประกอบของภาษา วรรณคดี ภาษาศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ฝึกทักษะ

ทางการพูด ฟัง อ่านและเขียนถึงระดับสูงและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ

- ด้านสาขาวรรณคดีอังกฤษ ศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีอังกฤษและอเมริกันสมัยต่างๆ เพื่อให้เข้าใจวิวัฒนาการของ

วรรณคดี ฝึกฝนการวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าโดยใช้แนวทางการวิจารณ์ตั้งแต่สมัยคลาสสิกถึงสมันศตวรรษที่ 20 ศึกษาวรรณคดีเอกของโลกที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ

8. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ศึกษาการใช้ภาษาในด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การแปลภาษา ตลอดจนศึกษา

วรรณคดีและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นให้สามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นในการศึกษาค้นคว้าทางด้านวิชาการและสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ศึกษาการใช้ภาษาในด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การแปล ตลอดจนศึกษาวรรณคดีและอารยธรรมฝรั่งเศส เพื่อให้เข้าใจวิวัฒนาการของวรรณคดีสมัยต่างๆ ศึกษาแนวคิด วิเคราะห์วิจารณ์ศึกษาเฉพาะด้าน เพื่อการประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว โรมแรมและการเลขานุการ ศึกษาการแปลขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้

นอกจากนี้ยังมีภาษาอื่นๆ อีกค่ะ คือ ภาษาเยอรมัน สเปน อิตาเลียน จีน บาลีและสันสกฤต ค่ะ





สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

ขอแนะนำเอกแต่ละเอกกันดีกว่า ว่าที่สำนักวิทยาศาสตร์กรกีฬา จุฬาฯ มีเรียนอะไรกันบ้าง ซึ่งแต่ละเอกนี้ก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล เริ่มด้วย
1. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา (Sport Science and Technology)
ผู้ศึกษาในสาขาวิชานี้เหมาะสมสำหรับทำงานในศูนย์สุขภาพ สอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และฝึกให้กล้ามเนื้อ และหัวใจแข็งแรง การลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย นอกจากนั้นยังสำหรับการเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสมรรถภาพ ให้กับนักกีฬาและบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ด้วยหรือทำงานให้กับองค์กรกีฬาของโรงเรียน จังหวัด สโมสร และทีมชาติ โดยเน้นความรู้ด้านการป้องกันการบาดเจ็บในการเล่นและการฝึกกีฬารวมถึงการฝึกกีฬาอย่างถูกต้อง ในส่วนเทคโนโลยีการกีฬาสามารถนำความรู้ไปใช้กับการทำงานในบริษัท หรือโรงงานผลิตอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์ออกกำลังกาย โดยจะมีความรู้พื้นฐานในด้านเครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้สามารถแนะนำ ออกแบบ ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องอุปกรณ์ออกกำลังกาย หรืออุปกรณ์กีฬา
ลักษณะนิสัย

รักและชื่นชอบวิทยาศาสตร์ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ มีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต ชอบทดลองและวิจัย และมีความพร้อมที่จะทำงานทั้งในห้องทดลองและภาคสนาม
2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ (Applied Health Science)
ผู้ศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่องโภชนาการการกีฬาสุขภาพด้านต่างๆ เช่น สุขภาพส่วนบุคคลแต่ละกลุ่มหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ทำงานในส่วนของการดูแลสุขภาพของประชาชน การให้บริการด้านสุขภาพในโรงพยาบาล สถานบริการสาธารณสุข และโรงงานต่างๆ เพื่อที่จะพัฒนาดูแลสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
ลักษณะนิสัย

มีหัวใจในการบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ชอบวิชาชีววิทยาและเคมี และเอาใจใส่เรื่องของสุขภาพทั้งของตัวเองและคนรอบข้าง




3. กลุ่มวิชาการโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา (Sport Coaching and Sport Psychology)
ผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชานี้สามารถทำงานเป็นผู้ฝึกสอนในโรงเรียน จังหวัด และทีมชาติ อีกทั้งยังสามารถเป็นครูสอนในโรงเรียนได้ ถ้าเรียนเพิ่มเติมวิชาครู และเรียนรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาในการควบคุมอารมณ์ในการฝึกและแข่งขันกีฬา เพื่อช่วยในการฝึกนักกีฬาให้มีจิตใจที่แน่วแน่ในขณะแข่งขัน เนื่องจากความเครียดในการแข่งขัน และความเครียดจากการคาดหวังของคนดู อาจนำไปสู่การขาดการระงับอารมณ์ ซึ่งจะมีผลต่อการแข่งขัน
ลักษณะนิสัย

รักและชื่นชอบกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ ใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬาหรือโค้ช มีความสามารถทางด้านกีฬาที่โดดเด่นอย่างน้อย 1 หรือ 2 ชนิด มีจิตวิทยาและสามารถถ่ายทอดความรู้คนอื่นได้

4. กลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์และการจัดการกีฬา (Recreation Science and Sport Management)
ผู้ศึกษาในสาขานี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้นำทางนันทนาการ หรือผู้นำเยาวชน นอกจากนั้นยังสามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือการจัดนันทนาการเพื่อการบำบัดได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมนันทนาการ และมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการในศูนย์สุขภาพหรือศูนย์กีฬา การบริหารงานบุคคล การทำงบประมาณ การประชาสัมพันธ์การจัดการแข่งขันกีฬาอย่างมีระบบ ต่างๆเหล่านี้เป็นต้น
ลักษณะนิสัย

รักและชื่นชอบความท้าทาย การสร้างอารมณ์สุขสนุกทั้งตัวเองและผู้อื่น มีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก รักการท่องเที่ยว ค่ายและแค้มป์



ขอขอบคุณข้อมูลจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวบรวมโดยคุณ Watasin จาก eduzones.com n

ไม่มีความคิดเห็น: