วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทายอาชีพ จากวิชาที่ชอบ

ทายอาชีพ จากวิชาที่ชอบ



เด็กดีดอทคอม :: ทายอาชีพ จากวิชาที่ชอบ


        ชาว Dek-D.com รู้หรือไม่ว่า ในระดับมหาวิทยาลัย ก็มีการแบ่งสายการเรียนเหมือนกันนะ โดยจะแบ่งแขนงของคณะที่เรียน เป็นกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มสังคมศาสตร์ มีคณะครุศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ ฯลฯ อยู่กลุ่มเดียวกัน กลุ่มมนุษยศาสตร์ มีคณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ฯลฯ อยู่กลุ่มเดียวกัน กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็มีคณะสายวิทย์ทั้งหมด อย่างแพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งแต่ละกลุ่มแขนงนั้นก็พอจะจำแนกได้ตามวิชาเรียนที่เราเรียนกันในโรงเรียนเหมือนกัน เช่น 
          - กลุ่มสังคมศาสตร์ คือ สาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่าวิชาสังคม 
          - กลุ่มมนุษยศาสตร์ ก็คือ สาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี และสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ 
          - กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นทั้งสายตรงของกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มประยุกต์ผสมวิชาระหว่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นต้น
  เด็กดีดอทคอม :: ทายอาชีพ จากวิชาที่ชอบ

      และที่พี่เกียรตินำมาเปรียบเทียบกันแบบนี้ ก็เพราะจะบอกน้องๆ ว่า มันเป็นเทคนิคหนึ่งในการดูว่าเราจะเลือกเรียนสายอะไรต่อในระดับ ม.4 ปวช.  รวมถึงการเลือกคณะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ โดยการจับคู่สิ่งที่เรียนกันในแต่ละคณะวิชาที่เราชอบเรียนนั่นเอง เป็นวิธีพื้นฐานง่ายๆ ตามหลักความสนใจ คือ ถ้าเราเลือกคณะที่ชอบตรงกับวิชาที่เรียน ก็แปลว่าเราจะมีความสุขในการเรียน และนำไปประกอบอาชีพในอนาคตที่สดใสได้ไง เรียกว่า วิชาที่ชอบบอกอาชีพได้นั่นเอง (เยี่ยมเลยเนอะ)

        แต่จะบอกกันได้ง่ายๆ แค่ดูจากวิชาที่ชอบ ชีวิตก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นนะ เพราะ เราอาจชอบหลายวิชาที่มันตรงกันข้ามกันอย่างสุดขั้ว เช่น ชอบวิทยาศาสตร์และศิลปะเลยก็ได้ ที่สำคัญอาชีพก็ไม่ได้มีแค่สองสามอาชีพ ยังมีอาชีพมากมายบนโลกใบนี้ แต่น้องๆอย่าได้ตกใจไป พี่เกียรติจะพยายามขยายมันออกมาให้ และสิ่งที่น้องๆ ต้องคิด คือ เราชอบเรียนวิชาอะไร เลือกวิชาที่ชอบมา 1 - 2 วิชา แล้วลองเทียบกับตารางที่พี่ให้ ดังนี้


หาไม่เจอลองใช้ Ctrl + f แล้วพิมพ์คำที่ต้องการหานะ
วิชาที่ชอบ

อาชีพ

คณะที่ควรเลือกเรียน

ชอบวิชาภาษา
(ไทย อังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ)
ครู นักภาษาศาสตร์ นักเขียน นักแปล นักพิสูจน์อักษร ประชาสัมพันธ์ มัคคุเทศก์ ล่าม แอร์โฮสเตส สจ๊วต เลขานุการ 

สายศิลป์ – ภาษา

คณะอักษรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์เอกภาษา คณะโบราณคดีเอกภาษา

ภาษา + สังคม(ประวัติศาสตร์ บ้านเมือง ศาสนา) 

นักคติชน นักโบราณคดี นักการทูต นักประวัติศาสตร์ นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา คอลัมนิสต์
สายศิลป์ – ภาษา หรือศิลป์ สังคม
คณะสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ เอกหนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์
ภาษา + เลข

นิติกร ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา บรรณารักษ์ เจ้าของธุรกิจ นักบัญชี

สายศิลป์ – คำนวณ       ปวช.สายพาณิชยการ
คณะนิติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ เอกบรรณารักษ์  คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ชอบวิชาสังคม 

ครู นักประวัติศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ 

สายศิลป์ – ภาษา หรือศิลป์ สังคม

คณะสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ เอกสังคมศึกษา คณะสังคมสงเคราะห์

เศรษฐศาสตร์ +เลข

นักเศรษฐศาสตร์ นักบัญชี นักสถิติ ค้าขาย เจ้าของธุรกิจ โบรกเกอร์ นักวิเคราะห์การตลาด นักคณิตศาสตร์ประกันภัย นายธนาคาร 

สายศิลป์ – คำนวณ       ปวช.สายพาณิชยการ
คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

ภูมิศาสตร์ + ชีวะ/วิทย์ทั่วไป

นักธรณี นักบรรพชีวิน นักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา 

สายวิทย์ – คณิต

คณะวิทยาศาสตร์ เอกธรณี คณะโบราณคดี

ภูมิศาสตร์ + ฟิสิกส์

นักอุตุนิยมวิทยา นักทำแผนที่ นักธรณีฟิสิกส์ 

สายวิทย์ – คณิต 

คณะวิทยาศาสตร์ เอกฟิสิกส์ คณะอักษรศาสตร์/ศิลปะศาสตร์/สังคมศาสตร์ เอกภูมิศาสตร์

ประวัติศาสตร์ ศาสนา + ศิลปะ 

ภัณฑารักษ์ นักโบราณคดี นักสะสมและซื้อขายของเก่า 

คณะสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี

ชอบวิชาเลข 

ครู นักคณิตศาสตร์ นักวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ นักวิชาการด้านคณิตศาสตร์ พนักงานคลังสินค้า 

สายวิทย์ – คณิต

คณะวิทยาศาสตร์ เอกคณิตศาสตร์,เอกสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เอกสถิติ

เลข + พลศึกษา

ผู้จัดการทีมกีฬา (และวางแผนการเล่น) ผู้ตัดสินกีฬา

สายวิทย์ – คณิต 

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาลัยพลศึกษา 

ชอบวิชาวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) 

ครู นักวิทยาศาสตร์ ครูสอนวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักชีววิทยา นักกีฏวิทยา หมอ พยาบาล เภสัชกร นักรังสีเทคนิค ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ 

สายวิทย์ – คณิต 

คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ ฯลฯ

วิทย์ + การงานอาชีพ (งานช่างต่างๆ งานประดิษฐ์ ทำอาหาร) 

วิศวกรด้านต่างๆ ช่างซ่อมบำรุงเครื่องบิน ช่างไฟฟ้า ทหารช่าง นักป่าไม้ รุกขกร นักประมง นักพฤษศาสตร์ นักโภชนาการ นักกายอุปกรณ์ 

สายวิทย์ – คณิต

ปวช.สายช่าง, โรงเรียนช่างฝีมือทหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะประมง คณะเกษตร

วิทย์ + พลศึกษา

นักกายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ตำรวจสืบสวน 

สายวิทย์ – คณิต

คณะกายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ คณะนิติศาสตร์(ตำรวจ) หรือสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ฟิสิกส์ + ศิลปะ

สถาปนิก ภูมิสถาปนิก 

สายวิทย์ – คณิต 

คณะสถาปัตยกรรม

เคมี ศิลปะ

เภสัชกร (ปรุงยาใหม่หรือทำเครื่องสำอาง) นักอัญมณี

สายวิทย์ – คณิต

คณะเภสัชศาสตร์                 คณะวิทยาศาสตร์

ชอบวิชาศิลปะ 
(ศิลปะ และดนตรี) 

ครู จิตรกร ปฏิมากร ครูอนุบาล ดีไซเนอร์ นักดนตรี 

ปวชสายศิลปะ วิทยาลัยช่างศิลป์ 

คณะจิตรกรรม                    คณะออกแบบแฟชัน

ศิลปะ +  คอม

ออกแบบภายใน(มัณฑนากร) ออกแบบนิเทศศิลป์ นักจัดเวที ออกแบบเว็บไซต์ กราฟฟิคดีไซเนอร์ ออกแบบเกม การ์ตูนแอนิเมชัน ช่างถ่ายภาพ 

ปวชสายศิลปะ,วิทยาลัยช่างศิลป์ 

คณะสถาปัตยกรรม คณะดิจิทัล คณะออกแบบต่างๆ              คณะมัณฑนศิลป์

ศิลปะ + สุขศึกษา พลศึกษา

นักกิจกรรมบำบัด นักนันทนาการ

สายวิทย์ – คณิต

คณะสหเวชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ดนตรี + พลศึกษา 

นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น 

ไม่มีโรงเรียนในระบบที่สอนเฉพาะทางเต้น อาจเรียนคณะที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะทางดนตรี

ดนตรี + สังคม(สถานการณ์บ้านเมือง) 

นักจัดรายการวิทยุ,โทรทัศน์ พิธีกร โฆษก

คณะนิเทศศาสตร์ เอกโทรทัศน์และวิทยุ

ดนตรี + ภาษา 

นักแต่งเพลง ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน นักวิจารณ์งานบันเทิง (เพลง ละคร ภาพยนตร์ ฯลฯ) 

.4 โรงเรียนเฉพาะทางดนตรี  

คณะดุริยางคศิลป์ คณะนิเทศศาสตร์ เอกโทรทัศน์และวิทยุ

ชอบวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 

ครู เกษตรกร เชฟ บาเทนเดอร์ ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พนักงานโรงแรม เจ้าหน้าที่บริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์ 

ปวช.สายช่าง สายช่างคอมพิวเตอร์ สายคหกรรม

คณะศิลปศาสตร์และการโรงแรม คณะคหกรรม  

งานอาชีพ (กลุ่มงานประดิษฐ์) + ศิลปะ 

คนจัดตกแต่งอาหาร ออกแบบและจัดสวน นักจัดดอกไม้ 

ปวช.สายคหกรรม  

คณะคหกรรม คณะออกแบบต่างๆ

คอม +  ฟิสิกส์

วิศวกรคอมพิวเตอร์ และซอฟแวร์ วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์หรือแมคคานิก 

ปวช.สายช่างและคอมพิวเตอร์  

คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ชอบวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 

ครู นักกีฬา ผู้ดูแลนักกีฬา นักผจญเพลิง หน่วยกู้ชีพ 

ต่อ ม.4 โรงเรียนกีฬาหรือป.ตรี สถาบันการพลศึกษาได้ สายวิทย์-คณิต

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

 ทุกความสนใจที่อยากเป็นครู หรือชอบสอน สามารถเลือกคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ได้ เพียงเลือกเรียนไปตามเอกวิชาที่ชอบจ้า 



น้องๆ เห็นรายชื่ออาชีพแล้ว ตรงกับใจหรือเปล่าเอ่ย?



เด็กดีดอทคอม :: ทายอาชีพ จากวิชาที่ชอบ 
    ถ้าน้องๆ รู้สึกว่าน่าจะไม่ใช่ตัวเอง ก็ไม่เป็นไรนะคะ เพราะจริงๆ แล้วนี่เป็นเพียงเทคนิคหนึ่งในการดูว่าเราอาจจะทำอาชีพใดได้บ้างเท่านั้น และการที่เราจะเลือกเรียนหรือทำอาชีพจริงๆนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ และปัจจัยอื่นๆ ของเราด้วย เช่น "เราชอบวิชาภาษากับเลข พี่เกียรติบอกว่า ไปเป็นทนายได้ แต่เราไม่ชอบพูด และอายที่จะพูดในที่สาธารณะนี่หน่า"
    ถ้าน้องๆ รู้สึกแบบนี้ ก็ไม่แปลกนะ น้องอาจไม่เลือกเรียนนิติศาสตร์ แต่อาจไปเลือกเรียนด้านบรรณารักษ์แทนก็ได้ เป็นต้น

ดังนั้น ทุกอาชีพมีลักษณะเฉพาะตัว ถ้าน้องอยู่ในกลุ่มไหน ได้อาชีพอะไรบ้าง ก็ลองไปศึกษาต่อดูว่าในแต่ละอาชีพมีลักษณะอะไรบ้าง แล้วลองพิจารณาอีกทีว่าเข้ากับแนวของเรา เข้ากับนิสัยของเราหรือไม่ค่ะ


credit:dekd

ไม่มีความคิดเห็น: