สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... วันก่อน พี่เป้ มีโอกาสไปเจอเพื่อนเก่าคนนึงซึ่งไปอยู่เมืองนอกตั้งแต่เรียนจบม.ปลาย คุยไปคุยมาเลยสังเกตได้ว่า เพื่อนคนนี้จะพูดภาษาไทยช้าลงกว่าแต่ก่อน แถมบางทีก็เรียงคำแปลกๆ เช่น อยู่บ้านว่าจะนอนพรุ่งนี้ (จริงๆ ควรจะเป็น "พรุ่งนี้ว่าจะนอนอยู่บ้าน") ซึ่งเพื่อนเองก็ยอมรับว่า บางทีการไปอยู่เมืองนอกนานๆ ก็อาจทำให้หลงๆ ลืมๆ ภาษาไทยบางคำไปเหมือนกัน .... เอ๊ะ เป็นประเด็นที่น่าสนใจเหมือนกันนะเนี่ย พี่เป้ เลยลองถามน้องๆ ที่เค้าไปอยู่เมืองนอกเกิน 3 ปี ว่ามีอาการหลงๆ ลืมๆ ภาษาไทยยังไงบ้าง ซึ่งแต่ละคนก็ตอบมาตามนี้ค่ะ
อาการที่ 1 ! ลายมือไม่สวยเหมือนเดิมนั่นเพราะไปอยู่เมืองนอกนานๆ ก็ไม่ค่อยได้เขียนภาษาไทย เวลาจด short note ในห้องเรียนก็จดเป็นภาษาอังกฤษ(เพราะอยากฝึกภาษา) พอนานๆ ไปไม่ได้เขียนภาษาไทย กว่าจะรู้ตัวอีกทีลายมือก็ไม่สวยเหมือนเดิมซะแล้ว
อาการที่ 2 ! คำไหนที่ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน จะนึกไม่ค่อยออกเช่น อยากพูดว่า "ผู้หญิงคนน้นอัธยาศัยไม่ค่อยดีเท่าไหร่" บางทีก็จะนึกคำว่า "อัธยาศัย" ไม่ค่อยออก เลยต้องพูดแทนว่า ผู้หญิงคนนั้นไม่ค่อยเฟรนด์ลี่เท่าไหร่
อาการที่ 3 ! ใช้ทับศัพท์บ่อยขึ้น (มาก)
เป็นผลมาจากอาการที่ 2 นั่นเองค่ะ บางทีนึกศัพท์ไทยไม่ออก ก็เลยต้องพูดทับศัพท์ไปซะอย่างนั้น ยกตัวอย่างคำที่เด็กนอกมักพูดทับศัพท์บ่อยๆ โดยไม่จำเป็น เช่น
panic (ตกใจ,วิตก) แก ใจเย็นๆ นะ อย่าแพนิคมากไป
responsible (ความรับผิดชอบ) คุณทำตัวแบบนี้ไม่เรสพอนซิเบิลเลยนะ
appointment (การนัดหมาย) วันนี้มีแอพพอยนท์เมนท์กับลูกค้าตอนเย็นๆ
เป็นผลมาจากอาการที่ 2 นั่นเองค่ะ บางทีนึกศัพท์ไทยไม่ออก ก็เลยต้องพูดทับศัพท์ไปซะอย่างนั้น ยกตัวอย่างคำที่เด็กนอกมักพูดทับศัพท์บ่อยๆ โดยไม่จำเป็น เช่น
panic (ตกใจ,วิตก) แก ใจเย็นๆ นะ อย่าแพนิคมากไป
responsible (ความรับผิดชอบ) คุณทำตัวแบบนี้ไม่เรสพอนซิเบิลเลยนะ
appointment (การนัดหมาย) วันนี้มีแอพพอยนท์เมนท์กับลูกค้าตอนเย็นๆ
อาการที่ 4 ! เวลาดูละครที่ตัวละครพูดเร็วๆ หรือเถียงกัน หรือฟังเพลงแร็พ จะฟังไม่ทันโดยเฉพาะคนที่ไปอยู่เมืองนอกในเมืองหรือมหาวิทยาลัยที่ไม่มีคนไทย อาจจะทำให้ไม่ค่อยได้ฟังภาษาไทยเท่าไหร่ ดังนั้นประสาทการรับรู้ก็เหมือนจะทำงานช้าลงเล็กน้อย เวลาเจอคนพูดเร็วๆ (ภาษาไทย) ก็จะอึ้ง ! เพราะฟังไม่ทันนั่นเอง
อาการที่ 5 ! ศัพท์วัยรุ่น มันแปลว่าอะไร ??ยิ่งถ้าใครไปอยู่เมืองนอกแล้วเป็นพวกไม่แตะอินเตอร์เน็ต ไม่ใช้ Social Network ล่ะก็ รับรองตามพวกศัพท์วัยรุ่นแปลกๆ ใหม่ๆ ไม่ทันแน่ เช่น แรง / เกรียน / เนียน / โอ(เค) / เบาๆ / เทพ / โอโม่ / งานเข้า / แหล่ม
อาการที่ 6 ! ไม่แน่ใจเวลาเขียนหนังสือภาษาไทย
โดยเฉพาะต้องเขียนคำยากๆ เช่น ไม่แน่ใจว่าต้องใส่การันต์ที่ตัวไหน ไม่แน่ใจว่าคำนี้มี ร กี่ตัว ไม่แน่ใจว่าคำนี้ต้องมีสระรึเปล่า คือบางทีก็เขียนถูกนี่แหละค่ะ แต่ก็จะมีความรู้สึกค้างๆ คาๆ ว่าที่เขียนไปนี่มันถูกรึเปล่าเนี่ย เพราะไม่ได้เขียนนาน
โดยเฉพาะต้องเขียนคำยากๆ เช่น ไม่แน่ใจว่าต้องใส่การันต์ที่ตัวไหน ไม่แน่ใจว่าคำนี้มี ร กี่ตัว ไม่แน่ใจว่าคำนี้ต้องมีสระรึเปล่า คือบางทีก็เขียนถูกนี่แหละค่ะ แต่ก็จะมีความรู้สึกค้างๆ คาๆ ว่าที่เขียนไปนี่มันถูกรึเปล่าเนี่ย เพราะไม่ได้เขียนนาน
อาการที่ 7 ! สำเนียงภาษาไทยแปร่ง
อาการนี้มักจะเป็นกับคนที่ไปอยู่เมืองนอกตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ไปอยู่ตั้งแต่ 4-5 ขวบ ซึ่งตอนนั้นก็ยังพูดภาษาไทยรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง พอโตมาก็อาจจะทำให้สำเนียงไทยแปร่งๆ ไม่เหมือนชาวบ้าน แต่สำหรับคนที่ไปอยู่เมืองนอกแค่ 2-3 ปีแล้วพูดภาษาไทยแปร่ง แบบนี้เรียกว่า .... (จงเติมคำในช่องว่าง) 55555
อาการนี้มักจะเป็นกับคนที่ไปอยู่เมืองนอกตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ไปอยู่ตั้งแต่ 4-5 ขวบ ซึ่งตอนนั้นก็ยังพูดภาษาไทยรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง พอโตมาก็อาจจะทำให้สำเนียงไทยแปร่งๆ ไม่เหมือนชาวบ้าน แต่สำหรับคนที่ไปอยู่เมืองนอกแค่ 2-3 ปีแล้วพูดภาษาไทยแปร่ง แบบนี้เรียกว่า .... (จงเติมคำในช่องว่าง) 55555
นั่นก็คือ 7 อาการมึนๆ งงๆ ของคนที่มีหลงลืมภาษาไทยไปชั่วขณะ ดังนั้นถ้าน้องๆ คนไหนต้องไปอยู่เมืองนอกนานๆ ล่ะก็ อย่าลืมพกหนังสือภาษาไทยอะไรก็ได้ไปด้วยเยอะๆ หรือไม่ก็อ่านข่าวภาษาไทยในอินเตอร์เน็ตบ่อยๆ รับรองไม่ลืมแน่นอนค่ะ !
credit:dekd
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น