วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

นักเรียนไทยม.ปลาย กว่า 60% ต้องเรียนพิเศษ เพราะเรียนในห้องไม่เข้าใจ !!

ผมไม่ค่อยจะเชื่อผลสำรวจสักเท่าไรนะครับ ผมคิดว่ามันน่าจะเยอะกว่านี้ อิอิ >...<
.............................................
เนื่องด้วย วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เป็นวันประกาศผลสอบแอดมิชชั่น  กรุงเทพโพลล์   จึงได้สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ชีวิตเด็ก ม.ปลาย สู่รั้วมหาวิทยาลัย” โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.ปลาย และที่กำลังรอศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557 ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,231 คน พบว่า
นักเรียนม.ปลายส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.2 นิยมเรียนพิเศษ โดยเหตุผลว่า เรียนในห้องเรียนไม่ค่อยเข้าใจ และเนื้อหาที่เรียนไม่ตรงกับที่จะใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นต้น ขณะที่ร้อยละ 39.8 ไม่ได้เรียนพิเศษ ด้วยเหตุผลที่ว่า ฐานะไม่ดี ตั้งใจเรียนในห้อง และเอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นดีกว่า เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่เรียนพิเศษว่า  เมื่อถึงเวลาสอบใช้ความรู้จากที่ใดมากกว่ากันระหว่างความรู้ที่เรียนในห้องเรียนกับความรู้ที่ได้จากการเรียนพิเศษ ร้อยละ 59.6 บอกว่าใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนให้ห้องเรียนและจากที่เรียนพิเศษพอๆ กัน รองลงมาร้อยละ 27.9 ใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนพิเศษมากกว่า มีเพียงร้อยละ 12.5 เท่านั้นที่ใช้ความรู้ในห้องเรียนมากกว่า
สำหรับความเห็นต่อการเพิ่มเนื้อหา ด้านคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกความเป็นไทย ในเนื้อหาวิชาเรียนนั้นนักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.3 บอกว่าเห็นด้วย ร้อยละ 8.6 บอกว่าไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 24.1 บอกว่าไม่แน่ใจ
ส่วนความเห็นต่อระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในปัจจุบัน นักเรียนร้อยละ 64.4 เห็นว่าเหมาะสมแล้วและควรมีต่อไป โดยให้เหตุผลว่า สามารถนำคะแนนเก็บในโรงเรียนมาคิดเป็นคะแนนสอบได้ทำให้เกิดการตั้งใจเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และการสอบส่วนกลางสามารถเก็บคะแนนได้หลายครั้ง สามารถเลือกคะแนนที่ดีที่สุดได้ เป็นต้น ส่วนอีกร้อยละ 35.6 เห็นว่าไม่เหมาะสม ควรยกเลิก โดยให้เหตุผลว่า จำนวนครั้งที่สอบมีมากเกินไป ทำให้เครียด ต้องกวดวิชามากขึ้น และต้องวิ่งรอกหาสถานที่สอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น เป็นต้น
หลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของรัฐ นักเรียนร้อยละ 55.5 บอกว่าจะเลือกจากคณะที่ชอบและตั้งใจจะเรียนโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน รองลงมาร้อยละ 25.5 จะเลือกสถาบันที่ชอบเป็นหลัก และร้อยละ 13.1 จะเลือกคณะหรือมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนถึง 
ส่วนเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน หากพลาดจากแอดมิชชั่น นักเรียนร้อยละ 52.1  จะพิจารณาจากการมีคณะ/หลักสูตรที่ต้องการและมีชื่อเสียง รองลงมาร้อยละ 32.9 เลือกจากชื่อเสียงของสถาบันเป็นที่ยอมรับในสังคม และร้อยละ 30.5 เลือกจากการเดินทางสะดวกสบาย  
ทั้งนี้เมื่อถามถึงความมั่นใจต่อระบบการเรียนการสอนของไทยในปัจจุบัน ว่าจะทำให้นักเรียนมีศักยภาพดีกว่านักเรียนในประเทศอาเซียนได้มากน้อยเพียงใดพบว่า นักเรียนร้อยละ 60.1 มั่นใจน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 25.3 มั่นใจมากถึงมากที่สุด ที่เหลือร้อยละ 14.6 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย
สำหรับความคาดหวังในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนักเรียน ม. ปลายร้อยละ 27.5 คาดหวังว่าจะเรียนสบายๆ มีความสุข ไม่เครียด รองลงมาร้อยละ 15.6 คาดหวังว่าจะได้เจอสังคมที่ดีระหว่างเพื่อน และการดูแลที่ดีจากรุ่นพี่ และร้อยละ 10.4 คาดหวังว่าชีวิตจะไปด้วยดีจนจบการศึกษา
สุดท้ายเรื่องที่อยากฝากให้ คสช. ปฏิรูปด้านการศึกษามากที่สุด คือ ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่มีหลากหลายเกินไป อยากให้ลดจำนวนการสอบลง จะทำให้นักเรียนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการสอบ (ร้อยละ 27.5) รองลงมาคือ ลดจำนวนชั่วโมงเรียน หรือคาบเรียนลง (ร้อยละ 15.8) และปรับปรุงการเรียนการสอนในห้องเรียน ให้เข้าใจง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริง เน้นเข้าใจมากกว่าท่องจำ (ร้อยละ 11.4)   

ไม่มีความคิดเห็น: