วันนี้ขอพักเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจไว้สักหน่อย มาพักสมอง ลองคิดอะไรอย่างอื่นบ้าง (อ้าว ไหนบอกว่าพักสมองไง แล้วจะยังให้คิดอีก ไรเนี่ยะ) คือ มาพักสมองแล้วหาเวลาคิด เพื่อที่จะทำความรู้จักตัวเองมากขึ้นดีกว่าครับ คุณรู้จักสิ่งที่เรียกว่า กรอบทางความคิด กันหรือเปล่า มีหลายครั้ง หลายคน มักจะบอกว่า ให้เราคิดนอกกรอบ ไอ้เราก็พยายามมาคิดนอกกรอบ พยายาม พยายาม และพยายาม แต่ยังไงก็คิดไม่ออกสักที ส่วนหนึ่งผมว่า มันจะมาจากการที่เราไม่รู้ว่ากรอบของเราคืออะไร ต่างหาก ในเมื่อยังไม่รู้ว่ากรอบของตัวเองคือไร แล้วจะไปคิดนอกกรอบได้ยังไง วันนี้ผมจึงมีปริศนามาให้คิดกันเล่นๆ ดูว่าไอ้คำว่า กรอบทางความคิด เนี่ยะมันเป็นอย่างไร เผื่อต่อไปเราจะได้คิดนอกกรอบกับเค้าเป็นบ้างซะที โอมเพี้ยง
ปริศนาชวนคิด 2 ข้อที่อยากให้ลองหาคำตอบ ขอแนะว่าควรใช้เวลาคิดสักพัก ก่อนที่จะไปดูคำตอบข้างล่าง
ปริศนาชวนคิด 2 ข้อที่อยากให้ลองหาคำตอบ ขอแนะว่าควรใช้เวลาคิดสักพัก ก่อนที่จะไปดูคำตอบข้างล่าง
1.แม่ให้เงินเด็กน้อย 20 บาท พอได้เงินเด็กน้อยก็รีบวิ่งเข้าไปในร้าน เพื่อซื้อขนมราคา 5 บาท เมื่อเจ้าของร้านยื่นเงินทอน 5 บาท เด็กน้อยก็รีบคว้าเงินและขนมออกไปจากร้าน คุณทราบไหมว่าทำไมเด็กน้อยจึงทำเช่นนั้นหากว่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นถูกต้องทุกอย่าง ?
2. รถคันหนึ่งชนเสาไฟฟ้าอย่างแรง ผู้เป็นพ่อตายคาที่ ส่วนผู้เป็นลูกบาดเจ็บสาหัส ถูกนำส่งโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดสมองรีบด่วน ศัลยแพทย์ถูกเรียกตัวมาผ่าตัดผู้ป่วยอย่างกะทันหัน แต่เมื่อเห็นหน้าผู้ป่วยซึ่งนอนหมดสติอยู่บนเตียงผ่าตัด ศัลยแพทย์ก็ชะงัก และบอกกับคณะแพทย์พยาบาลว่า ตนไม่กล้าผ่าตัดผู้ป่วยคนนี้ด้วยมือของตนเอง เพราะว่าเขาเป็นลูกของตน เด็กคนหนึ่งฟังเรื่องนี้แล้ว งงงวยมาก คุณพอจะอธิบายเรื่องนี้ได้ไหม?
ถ้าคุณตอบข้อ 1.ว่าเป็นเพราะเจ้าของร้านทอนเงินผิด หรือเด็กขาดสติ จึงฉวยเงินทอนขาดไป 10 บาท คุณก็ตอบผิด เพราะโจทย์บอกไว้แล้วว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในร้านนั้นถูกต้องทุกอย่าง ไม่มีอะไรผิด หากคุณใช้เวลานานแล้วยังตอบไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามาก เหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่นึกอยู่ตลอดเวลาว่าเด็กคนนั้นยื่นธนบัตร 20 บาทให้เจ้าของร้าน ทั้ง ๆ ที่โจทย์ไม่ได้บอกเลยแม้แต่น้อย คำตอบข้อนี้ก็คือ เป็นเพราะเด็กยื่นเงิน 10 บาทให้เจ้าของนั่นเอง
ข้อ 2 ก็เช่นกัน ถ้าคุณตอบว่าศัลยแพทย์เป็นพ่อบุญธรรม (หรือเป็นอะไรต่ออะไรสุดแท้แต่จะนึก) คุณก็ตอบผิด ถ้าคุณงงงวย อธิบายเรื่องนี้ไม่ได้ ก็คงเป็นเพราะคุณนึกตลอดเวลาว่าศัลยแพทย์เป็นผู้ชาย ความจริงก็คือศัลยแพทย์ในเรื่องนี้เป็นแม่ของเด็กคนนั้น
ข้อ 2 ก็เช่นกัน ถ้าคุณตอบว่าศัลยแพทย์เป็นพ่อบุญธรรม (หรือเป็นอะไรต่ออะไรสุดแท้แต่จะนึก) คุณก็ตอบผิด ถ้าคุณงงงวย อธิบายเรื่องนี้ไม่ได้ ก็คงเป็นเพราะคุณนึกตลอดเวลาว่าศัลยแพทย์เป็นผู้ชาย ความจริงก็คือศัลยแพทย์ในเรื่องนี้เป็นแม่ของเด็กคนนั้น
ปริศนาทั้ง 2 เรื่องที่จริงไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ตอบไม่ได้จนสร้างความอึดอัดแก่หลายคน ก็เพราะคนส่วนใหญ่เผลอปรุงแต่งข้อมูลหรือสร้างภาพบางอย่างขึ้นในใจเกินจากที่โจทย์ได้ระบุไว้ สิ่งที่ปรุงแต่งต่อเติมนี้เองที่กลายเป็นกรอบหรืออุปสรรคบังตาให้เราหาคำตอบไม่เจอทั้ง ๆ ที่คำตอบนั้นง่ายแสนง่าย กลายเป็นเส้นผมบังภูเขาก็ได้ สิ่งที่ปรุงแต่งต่อเติมนั้นบางครั้งเกิดจากการตีความเอาเอง (เช่น แม่ให้เงินเด็ก 20 บาท ก็เลยนึกต่อไปว่าเด็กยื่นเงิน 20 บาทให้เจ้าของร้าน) หรือเกิดจากประสบการณ์และความคุ้นเคยที่กลายเป็นแบบแผนความคิด (เช่น ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ที่เจอนั้นเป็นผู้ชาย ดังนั้นพอได้ยินคำว่าศัลยแพทย์ ก็นึกภาพเป็นผู้ชายขึ้นมาทันที) การปรุงแต่งต่อเติมดังกล่าวเกิดขึ้นทันทีแบบอัตโนมัติจนเราไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงทำให้หลายคนไม่ทันได้ตระหนักว่าความคิดปรุงแต่งของตนนั้นแหละที่เป็นปัญหา ไม่ใช่เป็นเพราะโจทย์ผิดหรือบุคคลในโจทย์ทำอะไรผิดพลาด
ความคิดที่ปรุงแต่งต่อเติมโดยไม่รู้ตัว ไม่ได้เป็นปัญหาเพียงเพราะว่ามันได้ตีกรอบความคิดของเราให้อับจนต่อโจทย์ง่าย ๆ เท่านั้น หากยังเป็นอุปสรรคขวางกั้นไม่ให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ในเวลาทำงาน ยิ่งกว่านั้นมันยังอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดจนเกิดความวิวาทบาดหมางกันด้วย ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ เรารู้สึกอย่างไรหากได้ยินว่าแฟนสาวของเรานัดพบศัลยแพทย์คนหนึ่งในโรงแรมหรูยามค่ำคืน ได้ยินเพียงเท่านี้บางคนก็เกิดความหวาดระแวงในคู่รักของตนแล้ว
การปรุงแต่งต่อเติมจากสิ่งที่ได้ยินหรือเห็นนั้น บางครั้งก็มีประโยชน์ในการทำให้เรามองได้ลึกไปกว่าปรากฏการณ์ แต่หากเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ก็อาจทำให้เราเห็นความจริงอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน เกิดความเข้าใจผิดและหวาดระแวงได้ง่ายมาก ยิ่งเกิดความบาดหมางใจกันแล้ว ก็ยิ่งง่ายที่จะปรุงแต่งต่อเติมในทางลบ จนเห็นอีกฝ่ายเป็นตัวเลวร้าย
การต่อเติมปรุงแต่งหรือคิดไปเองไม่เพียงนำไปสู่ความวิวาทบาดหมางระหว่างสามีภรรยาหรือเพื่อนร่วมงานเท่านั้น หากยังสามารถขยายความร้าวฉานของผู้คนจนกลายเป็นความแตกแยกในบ้านเมืองได้ เมื่อฝ่ายหนึ่งพูดหรือกระทำการใด ๆ ง่ายมากที่อีกฝ่ายจะตั้งข้อระแวงสงสัยหรือมองไปในทางลบ หากฝ่ายนั้นตระหนักว่านี้เป็นเพียงการคาดการณ์หรือตั้งข้อสงสัยของตน ก็คงไม่ถึงกับหลงเชื่อว่าเป็นความจริง แต่หากเป็นการปรุงแต่งต่อเติมขึ้นมาเองโดยไม่รู้ตัว ก็ง่ายที่จะสำคัญผิดว่านั่นเป็นความจริง ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นลบ เกิดท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์มากขึ้น กลายเป็นการขยายความขัดแย้งให้ลุกลามมากขึ้น
บ่อยครั้งที่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนอื่น หากอยู่ที่ความคิดของเราเอง แม้เป็นการยากที่เราจะรู้ทันความคิดปรุงแต่งของตนทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก แต่จะดีไม่น้อยหากเราหมั่นตรวจสอบความคิดของตนอยู่เสมอว่าปรุงแต่งต่อเติมจากความเป็นจริงหรือสิ่งที่รับรู้มามากน้อยเพียงใด นั่นจะช่วยให้เราเป็นนายมัน หาไม่แล้วมันจะกลายเป็นนายของเราได้ง่ายมาก
ปริศนาในบทความนี้ เป็นของ พระไพศาล วิสาโล ในหัวเรื่อง ""รู้ทันความคิดปรุงแต่ง"
--------------------------------------------------------------------------------------
ไงครับ ปริศนาธรรมทั้งสองข้อ ที่ไม่ได้บอกก่อนเพราะ เด๋วได้ยินเป็นเรื่องทางธรรม หลายคนอาจจะตั้งป้อม ขี้เกียจอ่าน ไม่อยากทำความเข้าใจ (เอ่ะ ผมปรุงแต่งไปเองหรือเปล่าเนี่ยะ) ถึงแม้บทความดังกล่าวจะเน้นหนักไปทางความคิดที่เกิดจากจิตที่ปรุงแต่งของเรา แต่ เจ้าตัวความคิด และจิตนิ่เอง มันเกิดจากกรอบความคิดของเรานั่นเอง ฉะนั้นถ้าเรารู้ทันคิด เราก็จะรู้ว่ากรอบของเราอยู่ตรงไหน อย่างคำถามสองข้อ ผมก็ตอบผิดทั้งสองข้อเลย (เออ อย่างน้อยเราก็มีกรอบวะ) แต่เจตนาของ พระไพศาล คงไม่ได้ต้องการเอาปริศนามาเพื่อแค่ต้องการวัดผลผิดถูกประการใดทั้งสิ้น ท่านคงต้องการให้เรารู้และเข้าใจตัวเราเองมากขึ้นต่างหาก เพราะต้องยอมรับว่า การที่เรามีกรอบทางความคิด หรือมีจิตที่ปรุงแต่งไปบ้าง ในบางเรื่อง โดยเฉพาะการทำงานเนี่ยะ ส่วนตัวผมคิดว่ามันจำเป็นและต้องใช้ประโยชน์เลยหล่ะ เพราะไม่ใช้เราอาจไม่สามารถเห็นภาพที่ชัดเจน งานของเราก็อาจจะไม่สำเร็จได้ อย่างที่พระไพศาลว่าไว้ "การปรุงแต่งต่อเติมจากสิ่งที่ได้ยินหรือเห็นนั้น บางครั้งก็มีประโยชน์ในการทำให้เรามองได้ลึกไปกว่าปรากฏการณ์" แต่ในทางกลับกันถ้าเรานำกรอบความคิดที่ปรุงแต่งมาใช้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากจนไม่รู้ว่าอันไหนกรอบเรา หรือเราไปเอากรอบคนอื่นมาคิดปนกับกรอบเราหรือเปล่า (ประมาณว่าฟังคนอื่นมาแยะ ดูละครดราม่ามาแยะ) ท้ายที่สุดอาจจะนำพาความยุ่งยากมาให้เราได้เช่นเดียวกัน
ความคิดที่ปรุงแต่งต่อเติมโดยไม่รู้ตัว ไม่ได้เป็นปัญหาเพียงเพราะว่ามันได้ตีกรอบความคิดของเราให้อับจนต่อโจทย์ง่าย ๆ เท่านั้น หากยังเป็นอุปสรรคขวางกั้นไม่ให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ในเวลาทำงาน ยิ่งกว่านั้นมันยังอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดจนเกิดความวิวาทบาดหมางกันด้วย ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ เรารู้สึกอย่างไรหากได้ยินว่าแฟนสาวของเรานัดพบศัลยแพทย์คนหนึ่งในโรงแรมหรูยามค่ำคืน ได้ยินเพียงเท่านี้บางคนก็เกิดความหวาดระแวงในคู่รักของตนแล้ว
การปรุงแต่งต่อเติมจากสิ่งที่ได้ยินหรือเห็นนั้น บางครั้งก็มีประโยชน์ในการทำให้เรามองได้ลึกไปกว่าปรากฏการณ์ แต่หากเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ก็อาจทำให้เราเห็นความจริงอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน เกิดความเข้าใจผิดและหวาดระแวงได้ง่ายมาก ยิ่งเกิดความบาดหมางใจกันแล้ว ก็ยิ่งง่ายที่จะปรุงแต่งต่อเติมในทางลบ จนเห็นอีกฝ่ายเป็นตัวเลวร้าย
การต่อเติมปรุงแต่งหรือคิดไปเองไม่เพียงนำไปสู่ความวิวาทบาดหมางระหว่างสามีภรรยาหรือเพื่อนร่วมงานเท่านั้น หากยังสามารถขยายความร้าวฉานของผู้คนจนกลายเป็นความแตกแยกในบ้านเมืองได้ เมื่อฝ่ายหนึ่งพูดหรือกระทำการใด ๆ ง่ายมากที่อีกฝ่ายจะตั้งข้อระแวงสงสัยหรือมองไปในทางลบ หากฝ่ายนั้นตระหนักว่านี้เป็นเพียงการคาดการณ์หรือตั้งข้อสงสัยของตน ก็คงไม่ถึงกับหลงเชื่อว่าเป็นความจริง แต่หากเป็นการปรุงแต่งต่อเติมขึ้นมาเองโดยไม่รู้ตัว ก็ง่ายที่จะสำคัญผิดว่านั่นเป็นความจริง ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นลบ เกิดท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์มากขึ้น กลายเป็นการขยายความขัดแย้งให้ลุกลามมากขึ้น
บ่อยครั้งที่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนอื่น หากอยู่ที่ความคิดของเราเอง แม้เป็นการยากที่เราจะรู้ทันความคิดปรุงแต่งของตนทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก แต่จะดีไม่น้อยหากเราหมั่นตรวจสอบความคิดของตนอยู่เสมอว่าปรุงแต่งต่อเติมจากความเป็นจริงหรือสิ่งที่รับรู้มามากน้อยเพียงใด นั่นจะช่วยให้เราเป็นนายมัน หาไม่แล้วมันจะกลายเป็นนายของเราได้ง่ายมาก
ปริศนาในบทความนี้ เป็นของ พระไพศาล วิสาโล ในหัวเรื่อง ""รู้ทันความคิดปรุงแต่ง"
--------------------------------------------------------------------------------------
ไงครับ ปริศนาธรรมทั้งสองข้อ ที่ไม่ได้บอกก่อนเพราะ เด๋วได้ยินเป็นเรื่องทางธรรม หลายคนอาจจะตั้งป้อม ขี้เกียจอ่าน ไม่อยากทำความเข้าใจ (เอ่ะ ผมปรุงแต่งไปเองหรือเปล่าเนี่ยะ) ถึงแม้บทความดังกล่าวจะเน้นหนักไปทางความคิดที่เกิดจากจิตที่ปรุงแต่งของเรา แต่ เจ้าตัวความคิด และจิตนิ่เอง มันเกิดจากกรอบความคิดของเรานั่นเอง ฉะนั้นถ้าเรารู้ทันคิด เราก็จะรู้ว่ากรอบของเราอยู่ตรงไหน อย่างคำถามสองข้อ ผมก็ตอบผิดทั้งสองข้อเลย (เออ อย่างน้อยเราก็มีกรอบวะ) แต่เจตนาของ พระไพศาล คงไม่ได้ต้องการเอาปริศนามาเพื่อแค่ต้องการวัดผลผิดถูกประการใดทั้งสิ้น ท่านคงต้องการให้เรารู้และเข้าใจตัวเราเองมากขึ้นต่างหาก เพราะต้องยอมรับว่า การที่เรามีกรอบทางความคิด หรือมีจิตที่ปรุงแต่งไปบ้าง ในบางเรื่อง โดยเฉพาะการทำงานเนี่ยะ ส่วนตัวผมคิดว่ามันจำเป็นและต้องใช้ประโยชน์เลยหล่ะ เพราะไม่ใช้เราอาจไม่สามารถเห็นภาพที่ชัดเจน งานของเราก็อาจจะไม่สำเร็จได้ อย่างที่พระไพศาลว่าไว้ "การปรุงแต่งต่อเติมจากสิ่งที่ได้ยินหรือเห็นนั้น บางครั้งก็มีประโยชน์ในการทำให้เรามองได้ลึกไปกว่าปรากฏการณ์" แต่ในทางกลับกันถ้าเรานำกรอบความคิดที่ปรุงแต่งมาใช้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากจนไม่รู้ว่าอันไหนกรอบเรา หรือเราไปเอากรอบคนอื่นมาคิดปนกับกรอบเราหรือเปล่า (ประมาณว่าฟังคนอื่นมาแยะ ดูละครดราม่ามาแยะ) ท้ายที่สุดอาจจะนำพาความยุ่งยากมาให้เราได้เช่นเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น