"เรียนอะไร จึงไม่ตกงาน" เคยมีใครถามคำถามนี้กับเราหรือเราเคยไปถามคำถามนี้กับใครบ้างครับ?
ผม บังเอิญเห็นคำถามนี้ในกระทู้บนเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ทางการศึกษาแห่งหนึ่ง และมีคนเข้าไปตอบว่าต้องเรียนนั่น โน่น นี่ กันพอสมควร แต่เมื่อผมอ่านไปจนถึงคำตอบสุดท้าย ถ้าผมเป็นคนถาม ผมก็คงไม่สามารถตัดสินใจได้อยู่ดีว่าควรจะเรียนอะไร “จึงจะไม่ตกงาน”
ด้วยความสนใจกระทู้นี้ที่มีมากขึ้น ทำให้ผมไปลองเสิร์ชหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง “เรียนอะไร จึงไม่ตกงาน” อยู่ พักหนึ่ง เห็นที่เป็นทางการอยู่บ้าง ก็คือ เคยมีการจัดเสวนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีวิทยากรที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการวิเคราะห์ตำแหน่งงาน เป็นผู้ให้ความรู้กับน้องๆ นักเรียนมัธยมที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย และดูเหมือนว่าจะมีการเดินสายไปให้ความรู้ในเรื่องนี้กับน้องๆ หลายๆ แห่งด้วย
ผม ไม่ได้ติดตามเพิ่มเติมว่า สิ่งที่วิทยากรท่านนั้นเคยพูดให้น้องๆ ฟังเมื่อปีก่อนๆ ที่ผ่านๆ มา มาถึงวันนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นจริงตามที่เขาว่าหรือไม่
ที่ รู้แน่ๆ คือ หลานชายผมคนนึงที่เคยเลือกเรียนในคณะฮอตฮิตติดชาร์ตเมื่อสี่ปีที่แล้ว มาวันนี้เขาชักไม่ค่อยแน่ใจเสียแล้วว่า คณะที่เลือกไปเมื่อสี่ปีก่อน มา ถึงวันที่เขาใกล้สำเร็จการศึกษาในปีนี้ ความต้องการบัณฑิตในสาขาที่เขาเรียนจะเป็นขาขึ้นอย่างเคยหรือเปล่า แต่เขาบอกกับผมว่าเป็นขาลง
ไม่ มีใครคาดการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำมากมายแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกครับ คณะที่ว่าดี เด่น ดัง เป็นที่ต้องการของใครต่อใครในวันนั้น มาถึงวันนี้อาจจะไม่มีคนต้องการมากมายอย่างวันนั้นแล้วก็ได้ สาเหตุก็ไม่ใช่อะไร ก็ในเมื่อแห่ไปเรียนกันเยอะขนาดนั้น มันเลยทำให้อัตราการเพิ่มของบัณฑิตแซงอัตราการเพิ่มของตำแหน่งงานที่ต้องการ บัณฑิตในสาขานั้นนั่นเอง
ผมมองโลกในแง่ร้ายจังเลยหรือเปล่า ก็คงใช่แหละครับ แต่ก็อยากจะบอกว่าพูดตามที่เห็น เล่าให้ฟังตามที่ได้ยิน
การ เรียนระดับอุดมศึกษาบ้านเรานี้จะว่าแปลกก็แปลกนะครับ ผมเคยได้ยินหลายๆ คนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนิสิต นักศึกษา และแม้แต่ผู้ปกครองส่วนหนึ่ง พูดถึงการเรียนในระดับอุดมศึกษาไว้หลายแง่มุม เช่น เรียนเพื่อให้ได้ปริญญา(พวกปริญญานิยม) ทำนองว่าไม่ให้ใครดูถูกเอาได้ ซึ่งนั่นก็เป็นอีกมุมหนึ่ง และอีกมุมหนึ่ง ก็คือ “เรียน เพื่อให้มีงานทำ” อันเป็นที่มาของคำถามว่า “เรียนอะไร จึงไม่ตกงาน” นี้่เอง
น้องๆ ทราบมั๊ยครับ ว่าถ้าเรียนแล้วไม่ตกงาน หรือพูดง่ายๆ ว่าเรียนจบแล้วมีงานทำ แล้วชีวิตมันจะเป็นอย่างไร (ผมไม่ได้หมายถึง ทุกคน ทุกผู้ ทุกนามนะครับ แต่ก็เกือบทุกคนล่ะครับ)
ชีวิต มันจะเป็นทำนองนี้ครับ
- ไม่สามารถนอนตื่นสายเหมือนที่เคย เพราะต้องตื่นแต่เช้าไปทำงานให้ทันเวลา
- ไม่สามารถเอาแต่ใจตัวเองได้ เพราะนายจ้างไม่ใช่พ่อแม่ เขาไม่กลัวเราไม่รัก ไม่กลัวเราเสียใจ ไม่กลัวเราไม่พอใจ
- ไม่สามารถสั่งงานใครได้ เพราะเราเป็นพนักงานใหม่ มีแต่หัวหน้างาน หัวหน้าสูงขึ้นไปและหัวหน้าใหญ่ หัวหน้าของหัวหน้าใหญ่อีกที
- ไม่สามารถขัดคำสั่งได้(ถ้ายังอยากทำงานกับเขาอยู่)
- ไม่สามารถใช้อารมณ์ ด่าพ่อล่อแม่ใครได้ตามที่เคยทำอยู่ในชีวิตวัยเรียน
- ไม่สามารถทำอะไรอีกมากมาย ฯลฯ
ในด้านรายได้ ที่สำคัญคือ
- เงินเดือนไม่มากเหมือนที่อยากจะได้
- ฐานะทางเศรษฐกิจจึงไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด
ลองคิดดูเล่นๆ ก็แล้วกันว่า ถ้าเรียนจบมา แล้วได้งานทำ
เอาเงินเดือนขั้นต้นสัก 12,000 บาท (นี่ ให้มากแล้วนะครับ สำหรับบัณฑิตจบใหม่และก็ไม่ใช่อัตราสำหรับพวกที่จบมาแบบบัวปริ่มน้ำเกรดสอง นิดๆ ความรู้ความสามารถพิเศษอะไรก็ไม่มี)
ลองมาดูว่าเงิน 12,000 บาทในเมืองหลวง สำหรับคนที่ต้องพึ่งพาตนเองโดยไม่มีใครช่วยเหลือ(และไม่ต้องไปคิดช่วยเหลือ ใครเขาด้วยนะครับ...เรื่องตอบแทนบุญคุณบิดรมารดาหาเงินส่งให้พ่อแม่ไม่จำ เป็นต้องคิด...ไม่ใช่เพราะไม่กตัญญูแต่คิดไปก็ทำไม่ได้) ลองเอาตัวให้รอดก่อน รายจ่ายประจำก็คงประมาณนี้ครับ
- ค่าห้องเช่า เอาไม่ต้องแพงสัก 3,500 (รวมค่าน้ำ/ค่าไฟแล้วด้วยเอ้า)
- ค่าอาหาร กินไม่ต้องมาก วันละสามมื้อๆ วันละ สัก 150 บาท เดือนละ 4,500
- ค่าเดินทาง ทำงานเดือนละ 22 วัน นั่งรถเมล์มั่ง รถไฟฟ้ามั่ง ฝนตกเรียกแท็กซี่มั่ง เดือนละ 1,000 บาท
- ค่าเสื้อผ้า ค่าเสริมหล่อ เสริมสวย ไม่ต้องหรู สักเดือนละ 1,200 บาท(นี่ขนาดไม่ให้เข้าร้านหรูๆ ไม่ให้ใช้เครื่องสำอางยี่ห้อดีๆ แพงๆ นะ)
- ค่าสบู่ ยาสีฟัน ทิชชู ของใช้ในที่พักอาศัย อีกเดือนละ 500 บาท
- ค่าซักผ้า ค่าทำความสะอาดห้อง ค่าโทรศัพท์มือถือ อีกสักเดือนละ 800
- ค่าน้ำ ค่านม ค่าขนมติดตู้เย็น(ที่เขาอาจจะมีให้ในห้องเช่า) อีกสักเดือนละ 500
- รวมดูสิครับเท่าไหร่แล้ว ถ้าขี้เกียจรวม ผมรวมให้ก็ได้ 3,500 + 4,500 + 1,000 + 1,200 + 500 + 500 + 800 + 500 = ?
แล้วคุณจะมีสิทธิ์ทำอะไรต่อไปนี้บ้างมั๊ย เช่น
- จะมีเงินไปดูหนัง ฟังเพลงกับเพื่อนๆ ที่ทำงานตอนเลิกงานบ้างมั๊ย
- จะมีโอกาสไปออกกำลัง ฟิตเนส ว่ายน้ำ เล่นเทนนิสหรือเปล่า
- จะมีโอกาสเข้าก๊วนไปเล่นกอล์ฟมั๊ย
- จะมีโอกาสชวนสาว/ชวนหนุ่มไปเที่ยวหาบรรยากาศดีๆ หรือเปล่า
- จะมีเงินเก็บกับเขาบ้างมั๊ย
- จะมีโอกาสทำบุญทำกุศลใส่ซองผ้าป้า งานแต่ง งานบวช ภาษีสังคมที่จะมาอีกสารพัดหรือเปล่า
- เงินเดือน 12,000 บาท มันไม่เอื้ออาทรคุณขนาดนั้นหรอกครับ
- เงินคุณมันหมดไปตั้งนานแล้ว
- แค่วันไม่ดี คืนไม่ดี คุณแค่ปวดหัวตัวร้อน จะไปพบแพทย์ที่คลีนิคคุณยังไม่มีปัญญาจ่ายค่าหมอ ค่ายาเองเลย
- สุดท้าย คุณก็ไม่แตกต่างกับคนอื่นๆ อีกหลายๆๆๆ คนที่เรียนจบปริญญาแล้วเป็นลูกจ้างอยู่ในเมืองไหญ่
o คุณจะจับมือเป็นมิตรกับบัตรเครดิต มิตรของทุนนิยมสังคมบริโภค ที่จะสร้างภาระหนี้สินให้คุณ
o คุณจะจับมือเป็นมิตรกับการซื้อสินค้าเงินผ่อน
o คุณจะเริ่มเล่นหวย เสี่ยงโชคเพื่อหวังลาภลอย
o …
- เดือนถัดไป ปีถัดไป ห้าปีถัดไป สิบปีถัดไป คุณจะรู้ว่า
- ชีวิตคุณยังไม่มีอะไรเลย
- เงินเก็บสักบาทก็ยังไม่มีเลย
- แถมเป็นหนี้อีกก้อนโต
- ที่ชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้วก็ไม่ถึงหลังต่อไป
- กี่ปีที่ผ่านไปต่อให้เงินเดือนขึ้นปีละ 10% คุณก็ยังไม่พอใช้อยู่ดี
- เงินเฟ้อ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ค่าพลังงานราคาสูงขึ้น
- ดอกเบี้ยมันมากกว่าการเพิ่มของเงินเดือน ยิ่งประเภทจ่ายบางส่วนผ่อนไปเท่าใดก็ยังไม่คิดจะหมดเสียที
- ความเครียดจะเิริ่มถามหา ยิ่งถ้าคุณดันไปแต่งงานมีครอบครัว และดันมีทายาทตัวน้อยๆ เข้า มันจะยิ่งเครียดหนักเข้าไปอีก
- ความอ่อนล้า ที่ทั้งชีวิตที่ต้องตื่นเช้า นอนดึกติดต่อกันนับสิบๆ ปี ปัญหาสุขภาพอันเกิดจากความเครียดจะเพิ่มขึ้น
หลาย คนหาทางออกด้วยการไปเรียนต่อเพื่อปรับคุณวุฒิเพื่อหวังให้ตำแหน่งหน้าที่การ งาน เงินเดือนดีขึ้น แต่ก็เหนื่อยอยู่ดีครับ ต้องไปเรียนภาคเสาร์/อาทิตย์ทั้งวันหรือเรียนภาคค่ำตั้งแต่หกโมงเย็นยันสาม ทุ่ม เหนื่อยก็เหนือยเรียนก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง...ผมไม่เคยเรียนแต่เคยสอน เลยรู้ดี
ถ้า ยังไม่เชื่อ ก็ลองถามรุ่นพี่ หรือคนที่รู้จักดูสิครับ ว่าพี่เรียนจบทำงานมากี่ปีแล้ว ตอนนี้มีอะไรเหลือมั่ง มีเงิน มีรถยนต์ มีบ้าน อย่างที่ฝันไว้แล้วหรือยัง ทรัพย์สินกับหนี้สินมันคุ้มกันหรือยัง ที่สำคัญ สุขภาพกาย สุขภาพใจ เป็นอย่างไรบ้าง
o ทำไมต้องคิดว่า “เรียนอะไร จึงไม่ตกงาน” ล่ะครับ
o หรือว่าเกิดมาชาตินี้ ต้องเอาดีด้วยการเป็น “ลูกจ้าง” ใครสักคนให้ได้
ทำไม ไม่ลองเปลี่ยนความคิดว่า “เรียนอะไร จึงจะสร้างงานขึ้นมาเองได้” ล่ะครับ
o ถ้าไม่รู้ว่าจะสร้างงานมาจากไหน ทำไมไม่ลองดูรอบๆ ตัวก่อนล่ะครับว่า
o ที่บ้านเรา พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติโกโหติกาเรา ทำมาหากินเกี่ยวกับอะไร
o พอเห็นช่องเห็นทางที่จะต่อยอด แตกแขนง แตกกิ่งก้านสาขาออกไปทางไหนได้บ้าง
o หรือถ้าเห็นว่าเขากำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่หรืออยู่ในช่วงขาลงอยู่
o มีอะไรที่เราเห็นว่าควรปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้มันดีขึ้นได้บ้าง
o กิจการ/ธุรกิจ/อาชีพ การงาน ของที่บ้านเรา ยังขาดความรู้เรื่องอะไร ต้องการพัฒนาด้านไหน(ผมเคยคุยกับบางคน เขาไม่รู้เลยว่าพ่อ แม่ ทำมาหากินอย่างไร มีรายได้เท่าใด มีปัญหาอะไร...ไม่เคยถาม ขอเงินอย่างเดียว)
o ทำไมไม่เลือกเรียนไปทางที่ใกล้ๆ ตัวและเป็นไปในทางที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับที่บ้านล่ะครับ
หลาย คนบอกไม่ชอบ ไม่คิดที่จะเป็นอย่างที่พ่อ แม่เป็น ไม่คิดที่จะประกอบอาชีพตามพ่อ แม่ หรือบางรายถึงขนาดตั้งข้อรังเกียจเสียด้วยซ้ำว่าเป็นงานหนัก งานเหนื่อย งานไม่โก้หรู จนลืมไปว่างานนั้นแหละ ที่ทำรายได้ เลี้ยงเรามา ไม่แน่จริงเขาหาเงินเลี้ยงเรามาถึงวันนี้ไม่ได้หรอกครับ เพราะอย่างเราเรียนจบไปมีงานทำ ส่วนใหญ่ก็ไม่แคล้วอย่างที่ผมว่า…อย่าว่าแต่เลี้ยงคนอื่น เลี้ยงตัวเอง สนองความต้องการของตัวเอง ยังไม่เพียงพอเลย…
o ลองหัดมองสิ่งต่างๆ รอบตัวให้ดีนะครับ ความจริงกับความฝันบางทีมันต่างกันมาก
“เรียนอะไร จึงได้งานทำ” มันเป็นความคิดของคนที่อยากเป็น “ลูกจ้าง” เท่านั้นและครับ
เมื่อจบไปและได้งานทำแล้ว ความจริง คือ “วัฏจักรแห่งความยากจน” จะค่อยๆ มาเยือน
เรียน ในสิ่งที่สนใจ ในสิ่งที่เหมาะกับตัวเรา แล้วเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียน ไปพัฒนาการงานอาชีพที่บ้าน หรือสร้างงานขึ้นใหม่ให้สมกับความเป็น “บัณฑิต” ก็เป็นอีกด้านที่ควรจะพิจารณาเหมือนกันครับ
พูดไปก็น่าเสียดาย ที่คนเรียนมหาวิทยาลัยวันนี้เกินครึ่งหนึ่งหรือเกือบทั้งหมด เรียนเพื่อหวังเป็นลูกจ้างของนายทุนเท่านั้น
ที่น่าเสียดายยิ่งกว่าก็คือ นิสิต นักศึกษาในวันนี้ เกือบทั้งหมด ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเกี่ยวกับตัวเองและอนาคตของตัวเองเลย ไม่ รู้แม้กระทั่งว่าพิษสงของทุนใหญ่ที่ทะยอยกันเข้ามาครอบงำไทย ในเสื้อคลุมของโลกาภิวัตน์นั้น รุนแรงและร้ายลึก อย่างที่หลายคนอาจจะไม่เคยนำมาคิดตรึกตรองหรือแม้กระทั่งให้ความสนใจ ก็วันๆ หมกมุ่นอยู่แต่กับเทคโนโลยีที่ซื้อเขามาไม่ว่าจะเป็นโมบายโฟน โน้ตบุ๊ค แฟชั่น บันเทิง กันเสียขนาดนั้น
นิสิต นักศึกษาวันนี้ เอาเป็นว่าไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบ มหาวิทยาลัยไหนก็ได้ ไม่มีอะไรดีกว่านิสิต นักศึกษาในวันก่อนๆ เลย ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีแก่นสารสาระอะไรให้เห็น เรียนเพียงเพื่อให้สอบผ่าน และมหาวิทยาลัยก็ไม่ใช่ที่ที่จะทำให้ใครๆ เป็นคนเก่ง คนดี มีความสามารถคิด ทำและแก้ปัญหาอะไรต่างๆ ได้ด้วยตัวเองสักเท่าไหร่เลย เมืองไทย เต็มไปด้วยบัณฑิตสมองกลวง และคนกลุ่มนี้ก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มีงานทำ ไม่มีแม้กระทั่งใครยอมรับให้เป็นลูกจ้าง
เพราะคงไม่มีนายจ้างคนไหนหรอกครับ ที่จะรับคนสมองกลวงไปทำงานทำเงินให้เขา นอกจากนายจ้างสมองกลวงเหมือนๆ กัน
กับคำถามที่ว่า "เรียนอะไร จึงไม่ตกงาน" ควรเปลี่ยนเป็น "เรียนอะไร จึงจะสร้างงานขึ้นมาได้" น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า...มั๊ยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น