เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า นางวีณา ตันตยานนท์กุล ที่ปรึกษาฝ่ายทรัพยากรบุคคล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย ผลการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการปี 2554/2555 ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ภายหลังจากมีนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยพบว่า
ค่าจ้างสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ระดับ ปวช. เฉลี่ยอยู่ที่ 6,953 บาท โดยสาขาวิชาที่มีค่าจ้างสูงสุดคือ
- เกษตรศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 7,077 บาท
- ศิลปกรรมศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 7,054 บาท
- คอมพิวเตอร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 7,028 บาท
- เกษตรศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 7,077 บาท
- ศิลปกรรมศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 7,054 บาท
- คอมพิวเตอร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 7,028 บาท
จำแนกผู้จบการศึกษาใหม่ระดับ ปวช. เป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่จ่ายค่าจ้างสูงสุดคือ
- เซรามิก ค่าจ้างเฉลี่ย 7,990 บาท
- เครื่องปรับอากาศและความเย็น ค่าจ้างเฉลี่ย 7,540 บาท
- กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 7,440 บาท
- เซรามิก ค่าจ้างเฉลี่ย 7,990 บาท
- เครื่องปรับอากาศและความเย็น ค่าจ้างเฉลี่ย 7,540 บาท
- กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 7,440 บาท
ผู้จบการศึกษาระดับ ปวส. ได้รับค่าจ้างเฉลี่ย 8,004 บาท โดยสาขาวิชาที่มีค่าจ้างสูงสุดคือ
- ออกแบบและสถาปัตยกรรม ค่าจ้างเฉลี่ย 8,396 บาท
- คอมพิวเตอร์ 8,087 บาท และช่างเทคนิค ค่าจ้างเฉลี่ย 8,057 บาท
- ออกแบบและสถาปัตยกรรม ค่าจ้างเฉลี่ย 8,396 บาท
- คอมพิวเตอร์ 8,087 บาท และช่างเทคนิค ค่าจ้างเฉลี่ย 8,057 บาท
จำแนกผู้จบการศึกษาระดับ ปวส. เป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มที่จ่ายค่าจ้างมากที่สุด คือ
- กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทน ค่าจ้างเฉลี่ย 9,113 บาท
- กลุ่มเซรามิก ค่าจ้างเฉลี่ย 9,073 บาท
- กลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียม ค่าจ้างเฉลี่ย 8,682 บาท
- กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทน ค่าจ้างเฉลี่ย 9,113 บาท
- กลุ่มเซรามิก ค่าจ้างเฉลี่ย 9,073 บาท
- กลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียม ค่าจ้างเฉลี่ย 8,682 บาท
ค่าจ้างของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เฉลี่ย 12,303 บาท สาขาวิชาที่ผู้ประกอบการจ่ายมากที่สุดคือ
- วิศวกรรมศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 15,158 บาท
- วิทยาศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 13,124 บาท
- พยาบาลศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 12,951 บาท
- วิศวกรรมศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 15,158 บาท
- วิทยาศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 13,124 บาท
- พยาบาลศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 12,951 บาท
จำแนกผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มที่จ่ายค่าจ้างมากที่สุด คือ
- กลุ่มแก้วและกระจก ค่าจ้างเฉลี่ย 16,247 บาท
- กลุ่มยานยนต์ ค่าจ้างเฉลี่ย 15,001 บาท
- กลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียม ค่าจ้างเฉลี่ย 13,706 บาท
- กลุ่มแก้วและกระจก ค่าจ้างเฉลี่ย 16,247 บาท
- กลุ่มยานยนต์ ค่าจ้างเฉลี่ย 15,001 บาท
- กลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียม ค่าจ้างเฉลี่ย 13,706 บาท
ระดับปริญญาโทมีค่าจ้างเฉลี่ย 17,539 บาท สาขาวิชาที่ผู้ประกอบการจ่ายมากที่สุดคือ
- วิศวกรรมศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 18,954 บาท
- สัตวแพทยศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 18,667 บาท
- พยาบาลศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 18,000 บาท
- วิศวกรรมศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 18,954 บาท
- สัตวแพทยศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 18,667 บาท
- พยาบาลศาสตร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 18,000 บาท
จำแนกผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโท เป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มที่จ่ายค่าจ้างมากที่สุด คือ
- ยานยนต์ ค่าจ้างเฉลี่ย 21,818 บาท
- การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ค่าจ้างเฉลี่ย 20,175 บาท
- เหล็กและอะลูมิเนียม ค่าจ้างเฉลี่ย 20,635 บาท
- ยานยนต์ ค่าจ้างเฉลี่ย 21,818 บาท
- การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ค่าจ้างเฉลี่ย 20,175 บาท
- เหล็กและอะลูมิเนียม ค่าจ้างเฉลี่ย 20,635 บาท
ส่วนค่าจ้างและสวัสดิการของผู้มีประสบการณ์ทำงานระดับผู้บริหารกลุ่มงานระดับสูง เมื่อจำแนกตามกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม พบว่า
- กลุ่มที่จ่ายค่าจ้างสูงสุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม ค่าจ้างเฉลี่ย 163,061 บาท
- กลุ่มที่จ่ายค่าจ้างน้อยสุด คือ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 43,078 บาท
- กลุ่มที่จ่ายค่าจ้างสูงสุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม ค่าจ้างเฉลี่ย 163,061 บาท
- กลุ่มที่จ่ายค่าจ้างน้อยสุด คือ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ค่าจ้างเฉลี่ย 43,078 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น