แต่ปัญหาก็คือ ตอนนี้เรายังไม่รู้คะแนน GAT/PAT รอบ2 และคะแนน O-NET ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการคิดคะแนนแอดมิชชั่น ดังนั้นช่วงนี้ถ้าน้องๆ จะคำนวณคะแนนก็คงต้องใช้วิธีสมมติคะแนนกันไปก่อน และเพื่อคลายความสงสัย พี่มิ้นท์จะบอกวิธีการประเมินแนวโน้มคะแนนในปีนี้ ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ เข้าใจมากขึ้น และลองไปประเมินคะแนนด้วยตัวเองได้ด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนแอดมิชชั่นให้พุ่งสูงขึ้น หรือ ดิ่งต่ำลง
1.จำนวนรับสมัคร
หมายถึง จำนวนรับสมัครที่ทางมหา'ลัยประกาศอย่างเป็นทางการ จำนวนรับสมัครมีผลตรงที่ ถ้ารับน้อย คะแนนก็จะสูง เพราะช่วงคะแนนจะแคบกว่า แต่ถ้ารับเยอะช่วงคะแนนของคนที่ติดก็จะมากกว่า ยกตัวอย่างคณะที่ถือว่าเสี่ยงในอันดับต้นๆ ของปีนี้ คือ วิศวะ จุฬาฯ ค่ะ จากเดิมที่ปี 54 รับ 450 คน แต่ปี 55 รับ 100 คนเท่านั้น ตัวแปรนี้ทำให้เกิดความเสี่ยงของคะแนนยังไง?? ลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ
สมมติคะแนนที่ยื่นเข้ามา เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้
คะแนนสูงสุดของคนที่ยื่นเข้ามา คือ 25,400
คนที่ 2 25,345
คนที่ 3 25,342
25,310
.....
คนที่ 100 24,745
คนที่ 101 24,719
......
.....
คนที่ 450 20,222
คนที่ 451 20,001
จากตัวอย่างนี้ ถ้าจำนวนรับ 450 คน เท่ากับว่าคนที่ได้คะแนน 20,222 นั้นติดคณะนี้แน่นอน แต่ถ้าจำนวนรับลดลงกลายเป็น 100 คนล่ะก็ คนที่ติดก็คือ คนที่มีคะแนนสูงสุด 100 คนแรก ดังนั้นคะแนนจึงสูงเป็น 24,745 ตามตัวอย่างนี่แหละจ้า ส่วนคนที่ 101 แม้คะแนนจะสูงอยู่แต่ก็ชวดคณะนี้ไปแล้ว
1.จำนวนรับสมัคร
หมายถึง จำนวนรับสมัครที่ทางมหา'ลัยประกาศอย่างเป็นทางการ จำนวนรับสมัครมีผลตรงที่ ถ้ารับน้อย คะแนนก็จะสูง เพราะช่วงคะแนนจะแคบกว่า แต่ถ้ารับเยอะช่วงคะแนนของคนที่ติดก็จะมากกว่า ยกตัวอย่างคณะที่ถือว่าเสี่ยงในอันดับต้นๆ ของปีนี้ คือ วิศวะ จุฬาฯ ค่ะ จากเดิมที่ปี 54 รับ 450 คน แต่ปี 55 รับ 100 คนเท่านั้น ตัวแปรนี้ทำให้เกิดความเสี่ยงของคะแนนยังไง?? ลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ
สมมติคะแนนที่ยื่นเข้ามา เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้
คะแนนสูงสุดของคนที่ยื่นเข้ามา คือ 25,400
คนที่ 2 25,345
คนที่ 3 25,342
25,310
.....
คนที่ 100 24,745
คนที่ 101 24,719
......
.....
คนที่ 450 20,222
คนที่ 451 20,001
จากตัวอย่างนี้ ถ้าจำนวนรับ 450 คน เท่ากับว่าคนที่ได้คะแนน 20,222 นั้นติดคณะนี้แน่นอน แต่ถ้าจำนวนรับลดลงกลายเป็น 100 คนล่ะก็ คนที่ติดก็คือ คนที่มีคะแนนสูงสุด 100 คนแรก ดังนั้นคะแนนจึงสูงเป็น 24,745 ตามตัวอย่างนี่แหละจ้า ส่วนคนที่ 101 แม้คะแนนจะสูงอยู่แต่ก็ชวดคณะนี้ไปแล้ว
ตรงกันข้าม ถ้าคณะไหนที่จำนวนรับเพิ่มขึ้น คะแนนก็มีโอกาสต่ำลงค่ะ โอกาสที่เราจะแอดมิชชั่นก็มีสูงขึ้นค่า
2.คณะติดกระแส
ในแต่ละปี น้องๆ จะมีคณะที่อยากเรียนแตกต่างกัน ซึ่งคาดเดาได้ยากมากๆ ว่าปีไหนจะฮิตอะไร คณะยอดฮิตจะมีผลต่อคะแนนตรงที่ ถ้ามีคนเลือกคณะใดคณะหนึ่งมากเป็นพิเศษเยอะ คะแนนจะสูงขึ้น เพราะคะแนนจะกระจุกตัว มีการแข่งขันกันสูง ความถี่ของคะแนนจึงน้อยลง ตัวอย่างเช่น คณะ ก.รับ 10 คน มีคนสมัคร 110 คน เท่ากับอัตราการแข่งขัน 11:1 แต่ถ้ามีคนแห่มาสมัคร 220 คน ก็เท่ากับว่าอัตราการแข่งขัน 22:1 นั่นหมายว่าคะแนนต้องเบียดบี้กันมันส์หยดติ๋งไปเลย
สำหรับความเห็นส่วนตัวของพี่มิ้นท์ คิดว่าคณะที่ยังไงก็มาแรงไม่มีตกซักปี คือ ทันตะฯ เภสัช อักษรฯ และครุฯ ค่ะ ซึ่งก็ติดคณะยอดฮิตเกือบทุกปีเลย สำหรับน้องๆ ที่อยากรู้ว่าในปีนี้เค้าฮิตคณะอะไรกัน พี่มิ้นท์มีข้อมูลเด็ดๆ จากโปรแกรมคำนวณคะแนนเว็บ Dek-D มาฝากกัน ซึ่งผลตรงนี้มาจากน้องๆ ม.6 ทั่วประเทศของแท้แน่นอน 100% จ้า ลองคลิกเข้าไปดูเลย
40 คณะยอดฮิต จุฬาฯ จากโปรแกรมคำนวณคะแนน Dek-D >> คลิกที่นี่ <<
ในแต่ละปี น้องๆ จะมีคณะที่อยากเรียนแตกต่างกัน ซึ่งคาดเดาได้ยากมากๆ ว่าปีไหนจะฮิตอะไร คณะยอดฮิตจะมีผลต่อคะแนนตรงที่ ถ้ามีคนเลือกคณะใดคณะหนึ่งมากเป็นพิเศษเยอะ คะแนนจะสูงขึ้น เพราะคะแนนจะกระจุกตัว มีการแข่งขันกันสูง ความถี่ของคะแนนจึงน้อยลง ตัวอย่างเช่น คณะ ก.รับ 10 คน มีคนสมัคร 110 คน เท่ากับอัตราการแข่งขัน 11:1 แต่ถ้ามีคนแห่มาสมัคร 220 คน ก็เท่ากับว่าอัตราการแข่งขัน 22:1 นั่นหมายว่าคะแนนต้องเบียดบี้กันมันส์หยดติ๋งไปเลย
สำหรับความเห็นส่วนตัวของพี่มิ้นท์ คิดว่าคณะที่ยังไงก็มาแรงไม่มีตกซักปี คือ ทันตะฯ เภสัช อักษรฯ และครุฯ ค่ะ ซึ่งก็ติดคณะยอดฮิตเกือบทุกปีเลย สำหรับน้องๆ ที่อยากรู้ว่าในปีนี้เค้าฮิตคณะอะไรกัน พี่มิ้นท์มีข้อมูลเด็ดๆ จากโปรแกรมคำนวณคะแนนเว็บ Dek-D มาฝากกัน ซึ่งผลตรงนี้มาจากน้องๆ ม.6 ทั่วประเทศของแท้แน่นอน 100% จ้า ลองคลิกเข้าไปดูเลย
40 คณะยอดฮิต จุฬาฯ จากโปรแกรมคำนวณคะแนน Dek-D >> คลิกที่นี่ <<
3.คะแนนเฟ้อ
คะแนนเฟ้อ คือ คะแนนที่สูงขึ้นจากปีก่อนและสูงขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งจะไม่ได้เกิดขึ้นทุกวิชา วิชาที่หวั่นๆ ได้แก่ GAT เพราะจากคะแนนรอบแรก เรียกว่าฟันเกือบเต็ม 300 หลายคน ซึ่งคะแนนเฟ้อมีผลต่อคะแนนแอดมิชชั่นเต็มๆ ยกตัวอย่างเช่น (ย้ำ! ว่่ายกตัวอย่างนะคะ^^)
ถ้า GAT เฟ้อกว่าปีที่แล้ว คณะที่ใช้ GAT มากกว่า 30% คะแนนรวมก็จะมีโอกาสสูงขึ้น เช่น คณะที่ใช้ GAT 50% (เท่ากับ 15,000 คะแนน) ถ้าเกิดคนเทพๆ ได้ 290 คะแนน แล้วเลือกที่จะยื่นด้วยคะแนนนี้ เท่ากับว่าเค้าจะมีคะแนนอยู่ในมือเหนาะๆ 14,500 คะแนน (แบบยังไม่รวม GPAX และ O-NET) คะแนนแบบนี้ ฆ่ากันให้ตายเลยดีกว่า
ดังนั้น ถ้ามีคนที่ได้คะแนนแบบนี้ครึ่งประเทศและแห่มาเลือกคณะเดียวกันล่ะก็ คะแนนสูงแน่นอน แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าวิชาไหนยากมากๆ จนมีนของประเทศลดลง คะแนนของคณะนั้นก็มีสิทธิ์ลดลงเช่นกัน
คะแนนเฟ้อ คือ คะแนนที่สูงขึ้นจากปีก่อนและสูงขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งจะไม่ได้เกิดขึ้นทุกวิชา วิชาที่หวั่นๆ ได้แก่ GAT เพราะจากคะแนนรอบแรก เรียกว่าฟันเกือบเต็ม 300 หลายคน ซึ่งคะแนนเฟ้อมีผลต่อคะแนนแอดมิชชั่นเต็มๆ ยกตัวอย่างเช่น (ย้ำ! ว่่ายกตัวอย่างนะคะ^^)
ถ้า GAT เฟ้อกว่าปีที่แล้ว คณะที่ใช้ GAT มากกว่า 30% คะแนนรวมก็จะมีโอกาสสูงขึ้น เช่น คณะที่ใช้ GAT 50% (เท่ากับ 15,000 คะแนน) ถ้าเกิดคนเทพๆ ได้ 290 คะแนน แล้วเลือกที่จะยื่นด้วยคะแนนนี้ เท่ากับว่าเค้าจะมีคะแนนอยู่ในมือเหนาะๆ 14,500 คะแนน (แบบยังไม่รวม GPAX และ O-NET) คะแนนแบบนี้ ฆ่ากันให้ตายเลยดีกว่า
ดังนั้น ถ้ามีคนที่ได้คะแนนแบบนี้ครึ่งประเทศและแห่มาเลือกคณะเดียวกันล่ะก็ คะแนนสูงแน่นอน แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าวิชาไหนยากมากๆ จนมีนของประเทศลดลง คะแนนของคณะนั้นก็มีสิทธิ์ลดลงเช่นกัน
4.พฤติกรรมการเลือกคณะ
อันนี้ขอพูดถึงตอนเลือกคณะกันบ้าง พฤติกรรมการเลือกคณะของน้องๆ ค่อนข้างเป็นอีกตัวแปรที่มีผลต่อคะแนนแอดมิชชั่น เพราะ ถ้าปีนี้คนแห่ไปเลือกคณะที่ปีที่แล้วคะแนนต่ำ ก็กลายเป็นว่าคนไปรุมคณะนั้น คะแนนก็มีสิทธิ์สูงขึ้นจนน่าตกใจ เพราะคนเยอะ ในขณะที่ถ้าปีที่แล้วคะแนนสูงมาก คนก็จะไม่กล้าเลือก ผลก็คือพอคนเลือกน้อย คะแนนน้อยก็มีโอกาสติด ดังนั้นคะแนนก็จะต่ำลง เป็นต้น ดังนั้นในข้อนี้เป็นเรื่องของการวัดใจและดวงล้วนๆ เลยค่ะ
อันนี้ขอพูดถึงตอนเลือกคณะกันบ้าง พฤติกรรมการเลือกคณะของน้องๆ ค่อนข้างเป็นอีกตัวแปรที่มีผลต่อคะแนนแอดมิชชั่น เพราะ ถ้าปีนี้คนแห่ไปเลือกคณะที่ปีที่แล้วคะแนนต่ำ ก็กลายเป็นว่าคนไปรุมคณะนั้น คะแนนก็มีสิทธิ์สูงขึ้นจนน่าตกใจ เพราะคนเยอะ ในขณะที่ถ้าปีที่แล้วคะแนนสูงมาก คนก็จะไม่กล้าเลือก ผลก็คือพอคนเลือกน้อย คะแนนน้อยก็มีโอกาสติด ดังนั้นคะแนนก็จะต่ำลง เป็นต้น ดังนั้นในข้อนี้เป็นเรื่องของการวัดใจและดวงล้วนๆ เลยค่ะ
เอาล่ะค่ะ นี่ก็คือตัวแปรสำคัญ(มากกก) ที่จะทำให้คะแนนแอดมิชชั่นแต่ละปีพลิกขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งในส่วนนี้น้องๆ อาจจะต้องหาข้อมูลมาประกอบ เช่น คะแนนสูงต่ำของปีก่อนๆ ดูไว้ซัก 3-4 ปีก็ดีค่ะ และต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินด้วยนะ บางทีก็ต้องอาศัยดวงกันนิดๆ หน่อยๆ ด้วยค่ะ ><
credit:dekd
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น