วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

portfolio คืออะไร? สำคัญอย่างไร? และทำอย่างไร?



portfolio คืออะไร? สำคัญ

 
portfolio คืออะไร?

สิ่งที่รวบรวมตัวอย่าง หรือบางส่วนของหลักฐานที่แสดงถึง ผลสัมฤทธิ์ความสามารถ ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นที่ต้องจัดทำแฟ้มสะสมงานไว้  อย่างเป็นระบบ โดยบุคคลนั้น และบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดทำแฟ้มร่วมกัน

ทำไมต้องมี portfolio

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่าPortfolio นั้นจะใช้ในการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งจะสำคัญมากในการรับตรง สอบตรง เพราะที่มหาวิทยาลัยเปิดรับตรงนั้นเพราะต้องการอยากจะคัดนักศึกษาที่อยากเข้ามาศึกษาในคณะและมหาวิทยาลัยของเค้าจริงๆ ซึ่งนอกจากการคัดด้วยการสอบการสัมภาษณ์ก็จะมี Portfolio นี่แหละครับ ที่จะเป็นเครื่องช่วยยืนยันได้ว่า นักเรียนคนนั้นๆที่เข้ามาสมัครนั้นมีสนใจในคณะที่เข้ามาสมัครจริงๆหรือไม่ 

เพราะฉะนั้น Portfolio จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะต้องใช้สำหรับการศึกษาต่อ และเป็นการแนะนำตัวเองเรา ให้แก่คณะกรรมการได้เห็นว่า เรามีความสามารถทางด้านนี้มากแค่ไหน !! มีความสนใจในคณะในคณะที่สมัครเข้ามามากแค่ไหน โดยดูจากผลงานเก่าๆของเรา ซึ่งงานเหล่านี้ บ่งบอกถึงทักษะ, ทัศนคติ, ความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ และบอกได้ว่า คุณเหมาะแก่การเข้าศึกษาต่อ ณ ที่แห่งนั่นได้หรือไม่

ทำ Portfolio อย่างไร จะโดนใจ กรรมการ

เรามักจะยึดติดกับ กรอบเดิมๆ  คือเรามักติดอยู่กับโจทย์แบบมีรายละเอียดประกอบ เช่นต้องทำกี่หน้า ใช้กระดาษอะไร มีข้อมูลอะไรบ้าง ใส่ผลงานต่างๆรวมๆกัน และทำอย่างไรก็ได้  ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะฉะนั้นเราควรออกนอนกรอบโดยคิดกรอบใหม่ๆคือ การทำ Port เพื่อให้เข้ากับคณะที่เราจะเข้าเราต่อ เพราะ Portfolio คือการบันทึกสิ่งต่างๆที่แสดงความสนใจ ความถนัด ความสามารถ และความ
คิดเห็นของตัวเรา เพิ่มเติมจากแบบฟอร์มเดิมๆ ทำให้ Port ของเราน่าสนใจมากขึ้น
 



 
พอร์ต โฟลิโอ ( portfolio แฟ้มผลงาน ) ทำอย่างไร ? โดย อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

เราควรมาทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Portfolio กันใหม่เพราะพวกเรามักติดอยู่กับการรับโจทย์แบบมีรายละเอียดประกอบ เช่นต้องทำกี่หน้า ใช้กระดาษอะไร มีข้อมูลอะไรบ้าง พอคุณครูบอกว่าทำอย่างไรก็ได้ ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร คุณครูคงมากำหนดให้เราไม่ได้จริงๆครับเพราะพอร์ตโฟลิโอ คือการบันทึกสิ่งต่างๆที่แสดงความสนใจ ความถนัด ความสามารถ และความคิดเห็นของตัวเรา 

ในพอร์ตโฟลิโอของเราอาจมีข้อมูลต่างๆต่อไปนี้ครับ
- กิจกรรมที่เคยทำ เช่นเคยเป็นคณะกรรมการนักเรียน เคยร่วมแข่งขันกีฬาฯ เคยร่วมจัดโครงงาน คือเคยทำอะไร เมื่อไร ก็ใส่ลงไปครับ เราไม่จำเป็นต้องใส่กิจกรรมทุกอย่างที่เราเข้าร่วม เพราะบางทีถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ผู้อ่าน ดูไม่ออกเลยว่าเราสนใจอะไรกันแน่
- ในส่วนนี้อาจใส่ความรู้สึกของคนอื่นที่มีต่อกิจกรรมที่เราทำ หรือ ความรู้สึกที่มีต่อตัวเราในการทำกิจกรรมนั้นๆ 
- นอกจากนั้นนักเรียนควรบันทึกเรื่องของความภูมิใจ และรางวัลที่เคยได้รับในกาณทำกิจกรรม หรือการเรียน และถึงแม้ไม่ได้รับรางวัลใดๆแต่การเข้าร่วมประกวดแข่งขันต่างๆก็บ่งบอกถึงความสนใจของเรา นักเรียนก็สามารถบันทึกได้เช่นกัน

ในเรื่องนี้ขอยกตัวอย่างในการพิจารณา เปรียบเทียบพอร์ตโฟลิโอของนักเรียนสองคน
- พอร์ต ที่หนึ่ง นักเรียนเข้าร่วมประกวดถ่ายภาพและได้รับรางวัล จากการประกวด มีหลักฐานรางวัล แสดงไว้ 
- พอร์ตที่สอง ถึงแม้ไม่เคยรับรางวัลแต่ส่งเข้าร่วมประกวดมากมาย พร้อมมีรูปงานแสดงภาพถ่ายต่างๆที่ตนเองเข้าร่วมประกวด

ผมคงพิจารณาว่า เจ้าของพอร์ตที่สองน่าจะเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่า ถ้าต้องคัดเอาเพียงคนเดียวเพื่อเข้าเรียนสาขาการถ่ายภาพ บางทีแค่การไปร่วมงาน ไปดูงานนิทรรศการ ที่เราสนใจก็นำมาบันทึกได้ เพราะพอร์ตคือสิ่งที่จะบ่งบอกความสนใจในตัวเรา บางคนสนใจเรื่องวิชาการ ก็เอาเกรด เอารายงานที่ทำระหว่างเรียน เอาเรื่องราวของการทำโครงงานด้านวิชาการต่างๆ ที่เคยทำมาแสดง มาสรุป หรือนำภาพถ่ายของตนเองในงานนั้นๆมาบันทึกไว้ในพอร์ต ก็ดูน่าสนใจครับ 
คนที่สนใจด้านสังคมก็เอากิจกรรม ที่ทำ บางทีอาจให้เพื่อนเขียนถึงเราก็ได้ว่าเราดีตรงไหน ประทับใจอะไรเรา ให้ครู พ่อแม่ หรือคนที่เรารู้จัก เขียนถึงเราได้ทั้งนั้นไม่ผิดกติกามีนักเรียนถามว่า การบันทึกพอร์ตโฟลิโอต้องมีหลักฐานหรือไม่ 
สำหรับผมคิดว่าถ้ามีก็ดี ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะถ้าผู้อ่านสนใจเขาก็มาถามเราต่อได้ เช่นถ้าเราเคยร่วมกิจกรรมปลูกป่า แต่เราไม่มีรูป เราก็อาจเขียนความประทับใจในงานนั้น โดยไม่มีหลักฐาน ไม่มีคนเซ็นรับรอง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ
นักเรียนที่สนใจด้านเทคโนโลยี อาจทำพอร์ตแบบดิจิตอล คือทำเป็น เวป หรือโปรแกรม นำเสนอ ก็ดูน่าสนใจ ใส่ภาพ เสียง ผมว่าน่าจะสนุกครับเป็นการบ่งบอกความสนใจของเราได้อย่างดี
คำถามที่ว่าจะใช้กระดาษอย่างไร ความหนาเท่าไร หรือ จำนวนกี่หน้า ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับตัวเรานะ พอร์ตที่แสดงความเป็นตัวเราได้นั่นคือพอร์ตโฟลิโอที่ดี เคยเห็นพอร์ตของนักเรียนที่ สนใจด้านศิลปะ ทำออกมาไม่กี่หน้าแต่ออกแบบน่าสนใจ มีทั้งภาพกราฟฟิค และภาพถ่ายที่ตั้งใจทำอย่างดี อย่างนี้เอาไปสมัครเข้าเรียนต่อด้านศิลปะ การออกแบบสื่อ ก็น่าจะประสบความสำเร็จ
การที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มมีการกำหนดให้ พอร์ตโฟลิโอ เป็นส่วนหนึ่งของการคัดนักเรียนเข้าเรียนต่อ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าส่งเสริมมากครับ น่าจะมีผลดีกว่าการคัดนักเรียนจากการสอบเพียงอย่างเดียว 
บางคนไม่เคยคิดเคยทำประโยชน์อะไรให้สังคมส่วนรวมเลย แต่สอบเข้าคณะส้งคมสงเคราะห์ อย่างนี้จะหวังให้จบมาทำงานด้านนี้ คงยากครับ
การคัดเลือกโดยใช้พอร์ตโฟลิโอเป็นส่วนประกอบจึงน่าจะช่วยให้มหาวิทยาลัยได้คัดเอาผู้ที่มีความสนใจ ในสาขาวิชานั้นๆ เข้าไปเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนต่อ หรือ การทำงานในอนาคต

องค์ประกอบของ portfolio





1.หน้าปก
ควรออกแบบให้สะดุดุตา แบบเห็นปุ๊บแล้วคนหยิบขึ้นมาดูปั๊บเลย ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไป present ตัวเองเต็มที่ เข้าใจง่าย สรุปเนื้อหา และ มีรายละเอียดครบถ้วนคือ ของใคร ชั้นอะไร เรียนที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ฯลฯ (แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง)

2.ประวัติส่วนตัว
นำเสนอตัวเองเต็มที่ ประวัติทางด้านสถานศึกษา ถ้าจะให้ดี ขอแนะนำว่าให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ส่วนที่เป็นภาษาไทย รวมไปถึงข้อมูลที่เป็น personal data และส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษนั่นเอง เพื่อแสดงความสามารถของตนให้แฟ้มดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

3.ประวัติทางการศึกษา 
ให้เรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุด จนกระทั่งปัจจุบันและผลสรุปของผลการเรียนที่ได้ครั่งล่าสุดควรเน้นเป็นส่วนท้ายที่เห็นเด่นชัดที่สุด(อาจมีเอกสารรับรองผลการเรียนแนบมาด้วยก็ได้ จะดีมาก)

4.รางวัลและผลงานที่ได้รับ
เขียนในลักษณะเรียงลำดับการได้รับ จากปี พ.ศ.(ในส่วนนี้ไม่ขอแนะนำว่าต้องใส่เกียรติบัตรลงไป เพราะอาจทำให้แฟ้มดูไม่มีจุดเด่น เพราะมันเด่นหมด ควรไปเน้นข้อต่อไปดีกว่า)

5.รางวัลและผลงานที่ประทับใจ
ส่วนนี้จะพิเศษมากกว่าผลงานทั่วไป..เพราะเป็นผลงานที่เราภาคภูมิใจ และประทับใจเต็มใจมากๆ ที่จะนำเสนอ..ลักษณะการจัดการเขียนบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบ ด้วยว่า ผลงานนี้เราภูมิใจอย่างไร เหนื่อยยากอดทนแค่ไหนกว่าจะได้มา..ที่สำคัญอย่าลืมใส่รูปประกอบไปด้วย..จะ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้ไม่น้อยทีเดียว

6.กิจกรรมที่ทำในโรงเรียน
เช่นเป็นประธานนักเรียน กิจกรรมในชมรม หรืออย่างอื่นใส่เพื่อให้รู้ว่าเรามีประสบการณ์จากการทำงาน หรือตรงส่วนนี้จะใช้เป็นงานพิเศษที่กำลังทำก็ได้ หากเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยจะทำให้ผลงานมีคุณค่ามากขึ้น คนหยิบขึ้นมาอ่านจะเห็นคุณค่าของเราตรงนี้ อาจมีเอกสารแสดงด้วยจะดีมาก)

7.ผลงานตัวอย่าง
คือ งานหรือรายงานที่คิดว่าภาคภูมิใจมากที่สุดจากการเรียนที่ผ่านมา เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ รายงาน การวิจัยต่างๆ อาจนำเสนอใน 5 รายวิชาหลัก เป็นต้น

8.ความสามารถพิเศษต่างๆ 
ควรโชว์ในความสามารถพิเศษที่คนทั่วไปมีอยู่เป็นส่วนน้อยที่สามารถทำได้ หรือเป็นความสามารถพิเศษที่สามารถสอดคล้องกับคณะ ที่เราต้องการศึกษาต่อ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือ กีฬา ฯลฯ ในแต่ละหัวข้อถ้าหากมีการแสดงรูปถ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยจะดีมากๆ

9.ภาคผนวก
เป็นการรวมผลงานต่างเช่น เกียรติบัตรต่างๆ ที่เคยได้รับมา ก็มาไว้ในส่วนนี้ครับ

ข้อแนะนำ
-   น้องๆคนไหนที่จะเข้าอินเตอร์ ประวัติและข้อมูลต่างๆ ทำเป็นภาษาอังกฤษด้วย ใส่หลักฐานผลการสอบ TOEIC TOEFL IELTS CU-TEP ฯลฯ เพื่อแสดงว่าเรามีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ โดยต้องมีระดับคะแนนที่น่าพึงพอใจด้วยนะครับ
- ถ้าเข้าคณะที่มีการแข่งขันเยอะๆ กรรมการจะไม่มีเวลาเปิดดู Portfolio มาก เพราะฉะนั้นเราต้องใส่ผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะที่เราจะเข้าจริงๆ และผลงานเด่นๆระดับใหญ่ๆ ด้วยนะครับ 


โปรแกรมสร้างแฟ้มโครงงาน ฟรี!! คลิก

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ธารา อิสสระ  (พี่แฮนด์)
facebook : handyman eduzones
twitter : @HandEduzones

ไม่มีความคิดเห็น: