จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. นิสิตใหม่ตอนเข้ามาต้องถวายบังคมพระรูปสองรัชกาล ตอนเรียนจบรับปริญญาก็ต้องถวายบังคมลา เช่นเดียวกัน
2. จุฬาฯ มี 5 ฝั่ง ได้แก่
- ฝั่งแรก คือ ฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลาย ๆ คณะ...
- ฝั่งที่ 2 คือ ฝั่งหอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 3 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ...
- ฝั่งที่ 3 คือ ฝั่งสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของคณะทันตะ, สัตวะ, เภสัช...
- ฝั่งที่ 4 คือ ฝั่งหลังมาบุญครอง เป็นที่ตั้งของคณะสหเวช, จิตวิทยา, วิทย์ฯ กีฬา และคณะพยาบาล
- ฝั่งสุดท้าย คือ ฝั่ง ร.พ. จุฬาฯ คือ ที่ตั้งของ คณะแพทยศาสตร์
3. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต
4. รองเท้าขาวสำหรับนิสิตหญิงปี 1 ฮิตใส่ยี่ห้อ peppermint
5. เมื่อถึงวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุก ๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็ก ๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาฯ อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู
6.คณะอักษรฯ มีภาควิชาการละครด้วยแต่เป็นละครเวที เทอมนึงจะมีหลายเรื่องและแต่ละเรื่องก็แนวมาก ๆ น้องปีหนึ่งเข้ามาใหม่ ต้องเริ่มด้วยการดูละครและวิจารณ์ละครเวที (ที่ดูยากมาก ๆ )
7. "รถป๊อป" หรือรถ ปอ.พ. ที่วิ่งในจุฬาฯ รุ่นใหม่ สามารถจ่ายค่ารถด้วยบัตร SmartPurse ได้ด้วย
8. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี จำปา พุดตาน พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม ส่วนหอพักในกำกับ คือ หอพักพวงชมพู (ยูเซ็นเตอร์) ที่แอบไฮโซแต่แคบมาก
9. ห้องสมุดอักษรเป็นห้องสมุดที่เงียบมาก เพราะเด็กอักษรไม่นิยมอ่านกันที่นี่ จัดชั้นหนังสือแบบสภาอเมริกัน สวยเหมือนห้องสมุดของฮอกวอตส์
10. ลุงฟรุตตี้ หรือลุงป๊งของเด็กจุฬาฯ ขี่เวสป้าขายผลไม้รอบจุฬาฯ มา 30 ปี เป็นลูกชายหัวโป้งเหน่งของลุงเทียมมี่ ซึ่งขายอยู่หน้าอักษรตั้งแต่รุ่นแม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. ลักษณะของโดมแต่ละที่
-โดมไม้เมืองพี่ ท่าพระจันทร์
-โดมเปลือยขวัญ รังสิตทรงศรี
-โดมแก้ว ลำปางธานี
-โดมน้องพี่ เชิดชูธรรม นำผองชน
2. ศาลเจ้าแม่สิงโตทอง ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และคณะอื่น ๆ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอาคาร 60 ปี
3. นักศึกษาไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนักศึกษามาเรียนก็ได้ แต่อาจจะยกเว้นบางวิชา ในอดีตนักศึกษาสามารถใส่ชุดนอนไปเรียนได้ในบางวิชา แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้แต่งชุดนักศึกษาเข้าเรียนอีกด้วย
4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่มีระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง แต่จะเรียกว่า “เพื่อนใหม่” เพราะถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ของคณะบางที่ก็แอบมี SOTUS
5. รับน้องของศิลปกรรมฯ มธ.จะเรียกว่า ไป "ลงลาน" เพราะสมัยก่อนจะรับน้องกันที่ลานบริเวณหน้าเรือนไทย
6. บ.ร. คือ อาคารบรรยายรวม มีทั้งหมด 5 หลัง ตึกบ.ร.มีฉายาว่า “บรรทมรวม” เพราะวิชาที่น่านอนหลับจะเรียนที่ตึก บ.ร.เป็นส่วนใหญ่
7. ขนมบราวนี่ เป็นขนมที่อร่อยขึ้นชื่อของที่รังสิต เวลาไปเรียน TU130 คนมักจะต่อแถวกันยาวเหยียดเพื่อซื้อขึ้นไปกิน ทั้ง ๆ ที่หน้าห้องเขียนว่า ห้ามนำอาหารและน้ำเข้ามาในห้องบรรยาย
8. นอกจากจะมี งานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ แล้ว คณะบัญชี ก็มีงาน "บาสประเพณี" ระหว่าง บัญชีจุฬา และ บัญชีธรรมศาสตร์ อีกด้วย
9. คณะบัญชีเป็นคณะที่มีกิจกรรมเยอะเป็นอันดับต้น ๆ ของคณะทั่วฟ้าเมืองไทย เพราะเริ่มตั้งแต่ก่อนเปิดเทอม ทั้ง accy night, ประกวดร้องเพลง, debit day credit night, freshy game, รับน้องตามโต๊ะต่างๆ, accy boy & girl ฯลฯ
10. คณะที่เป็นขวัญใจของสาว ๆ คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หรือ SIIT แบบว่ารูปหล่อ บ้านรวย เรียนเก่ง หนุ่มหล่ออีกคณะคือ เศรษฐศาสตร์ ส่วนสาวสวยจะรวมอยู่ที่คณะ บัญชี รัฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นั่นเอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. นิสิตใหม่ จะทำการปลุกต้นนนทรีประจำรุ่น และแต่งคำขวัญร่วมกัน และ หลังจากจบการศึกษา ต้นนนทรีจะออกดอกพอดี
3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเรียกรถโดยสารภายในว่า "รถตะลัย" ซึ่งมีชื่อเรียกเต็มๆว่า “รถตระเวณทั่วมหาวิทยาลัย” หรือ “รถตะลุยมหาวิทยาลัย” แต่เดิมมีด้วยกันทั้งหมด 3 สาย และจ่ายค่าโดยสารครั้งละ 2 บาท แต่ปัจจุบันไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
4. วินมอเตอร์ไซค์จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป โดยจะใช้ชื่อพันธุ์ไม้มาเป็นชื่อวิน ซึ่งวินที่ได้รับความนิยมมากที่คงจะเป็นวินจามจุรี ไม่ใช่ว่าอยากเป็นเด็กจุฬาหรอกนะ แต่ว่าวินนี้นะอยู่ตรงประตูใหญ่นั่นเอง
5. ร้านสเต็กพี่โหน่ง (T&N Steak แยกเกษตร) น่าจะซื้อใจเด็กเกษตรได้มากที่สุด และคุณสามารถอืดตายด้วยเงินไม่ถึงร้อยบาท
6. KFC คือ ศูนย์อาหาร ม.เกษตร (เก่า) ย่อมาจาก Kasetsart Food Centre ซึ่งจะมีกิจกรรมมากมาย รวมไปถึง คอนเสิร์ต ก็จะเข้ามาจัดตรงนี้ด้วย "คิทะสึ" หรือ KITS คือ Kasetsart IT Square หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ไฮโซ ของ สำนักบริการคอมพิวเตอร์
7. ที่เกษตรศาสตร์มีกีฬาประเพณีที่มีชื่อเสียงมากๆ ชื่อว่า "กีฬา 6 หมู" จริงๆ ชื่อ "กีฬา 6 สัมพันธ์" เล่าขานกันมาว่าที่มาของชื่อ 6 หมู นั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคณะต่าง ๆ 6 คณะ ซึ่งเป็นคณะเล็กที่มักจะแข่งกีฬาแพ้เสมอเมื่อแข่งกับคณะใหญ่ ๆ คณะที่จัดได้ว่าเป็น "หมู" ประกอบด้วย สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สัตวแพทย์ เทคนิคสัตวแพทย์ ประมง และอุตสาหกรรมเกษตร
8. นิสิตเกษตรจะมีงานประเพณีกับโรงเรียนนายเรือ เรียกว่างาน "ชาวไร่ - ชาวเรือ" หรือ "ชาวไถ - ชาวถ่อ" ผลัดกันเป็นเจ้าภาพทุกปี มีการแข่งรักบี้กัน ในตอนเย็นก็จะมีงานเลี้ยงระหว่าง 2 สถาบัน มีสาว ๆ เกษตรได้แฟนเป็นหนุ่มชาวเรือเพราะงานนี้เยอะมาก ทำเอาหนุ่มชาวไร่หงอยเลยทีเดียว
9. ตึกเทพศาสตร์สถิตย์ เป็นตึกที่รวมชมรมหลายชมรมเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ ทำหนังสือยันทำหุ่นยนต์
10. มีตำนานว่าถ้าหนุ่มสาวคู่ไหนขี่จักรยานผ่าน Loving Way ตอนเที่ยงคืน (ทางเล็ก ๆ ที่มีทิวสนเสริมความโรแมนติกข้างทางคณะเกษตรฯ) ก็จะได้เป็นแฟนกัน แต่ถ้าเกิดหลงเข้าไปใน breaking way ก็จะเลิกกันทันที (มีคนพิสูจน์แล้ว)
มหาวิทยาลัยมหิดล
1. มหิดลศาลายา เขาว่ากันว่า “ผีดุมาก” เนื่องจากมีประวัติมายาวนาน พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเปรยว่า พุทธมลฑลแสงสว่างสุขใส แต่โรงเรียนเจ้าฟ้ามหิดลฯ (หมายถึงมหิดลศาลายา) มืดครื้มมัวหมองเสียนี่
2. มหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่ ชุดพิธีการของนักศึกษาหญิงต้องผูกโบไทหูกระต่าย
3. ทุกคณะและภาควิชาของมหาวิทยาลัยมหิดลจะเรียกเป็นชื่อย่อภาษาอังกฤษ เช่น SC หรือ PT ซึ่งคนภายนอกไม่มีวันเข้าใจว่ามันย่อมาจากอะไรกันแน่ เช่นนายพีจะแนะนำตัวกับเพื่อนใหม่ ก็จะบอกว่า "เราพี EN" แปลว่าชื่อพี เรียนคณะสิ่งแวดล้อม หรือนางสาวฝน คณะ SC (วิทยาศาสตร์) อยากบอกให้ชัดลงไปว่าเรียนภาคอะไรของ SC ก็จะบอกว่า ฉันฝน SCCH แปลว่าฝนเรียนอยู่ภาควิชาเคมี ของคณะวิทยาศาสตร์นะจ๊ะ เป็นต้น
4. Cafet คือ ชื่อเล่นสุดหรูของโรงอาหารในมหาวิทยาลัย ไม่ค่อยมีใครรู้ว่าย่อมาจาก "cafeteria" << ทั้งๆ ที่หน้าหอ 11 มีป้ายบอกไป MU Cafeteria อยู่ แต่เดิม Cafet อยู่ที่ตึกกิจกรรม แต่บัดนี้ถูกทุบทิ้งเพื่อจะสร้างศูนย์การเรียนรู้มหิดล (อันใหญ่โตโอ่อ่ามากกก) เลยต้องย้าย Cafet ไปยังโรงช้างโดยปริยาย..
5. ก๋วยเตี๋ยวแม่ ที่มหิดลศาลายา อร่อยและแพง สงสัยจะเป็นที่มาของชื่อร้านเพราะกินไปกินมาจะคิดถึงแม่ (ไม่มีเงินจ่าย)
6. สโตร์ฯ (Store) คือ สหกรณ์ของมหิดลศาลายา มีทุก ๆ อย่างถามดูได้สิ่งที่คุณต้องการมันหลบอยู่ในซอกโน่น และซอกนี่ แต่สโตร์ไม่มีข้าวมันไก่ เครื่องสูบน้ำ กะเปียโน นะ...
7. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีฌาปนสถาน (เมรุเผาศพ) อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย คือ อาคารกายวิทยาทาน สำหรับประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา
8. DeliHouse เป็นร้านขายขนมปังของคณะแพทย์รามาฯ วิทยาเขตพญาไท (RA) ที่อร่อยมาก แต่ราคาก็ทำเอาสะอึกเลย
9.คณะเทคนิคการแพทย์ วิทยาเขตศาลายาและบางกอกน้อย (MT) หลายคนสงสัยว่าทำไมเวลาขึ้นสแตน และกีฬาเฟรชชี่ เทคนิคการแพทย์ (MT) และรังสีเทคนิค (RT) ถึงแยกกัน ทั้ง ๆ ที่คณะเดียวกัน น้อง ๆ ปี1ทั้งสองสาขาจะต้องใส่โบว์ไทและไทไปเรียนจนกว่าจะถึงพิธืถอด (ซึ่ง MT และ RT ก็ถอดไม่พร้อมกัน)
10. "วิทยาลัยนานาชาติ (MUIC)" เป็นคณะที่เด็กนักเรียนไม่ค่อยเห่ออะไรทั้งสิ้น ดารามาเรียนแล้วสามารถเสียความมั่นใจได้ เพราะไม่ถูกรุม
มหาวิทยาลัยศิลปากร
1. ศิลปากรมีทั้งหมด 5 ฝั่ง คือ
-วังท่าพระ (จิตรกรรม ถาปัด โบราณ เด็ค)
-ตลิ่งชัน (ดุริยางค์ มัลติ วาแตล)
-ทับแก้ว หรือพระราชวังสนามจันทร์ (อักษร ศึกษา วิทยา วิดวะ เภสัชคณะวาดรูปในบางปี โรงเรียนสาธิต)
-เพชรบุรี ( ไอซีที สัตสาด การจัดการ)
-บางรัก CAT ของ นิเทศศาสตร์-ICT
2. วันสุดท้ายของพิธีรับน้อง รุ่นพี่จะให้น้องปี 1 หลับตา แล้วพวกพี่ ๆ จะจุดเทียนร้องเพลงและมาผูกข้อมือน้อง เล่นเอาน้ำตาไหล
3. เพชรช้อป คือโรงอาหารอีกแห่งที่ทับแก้ว เป็นที่ยอดฮิตในยามกลางวันเมื่อไม่มีที่ไปไหนจริง
4. ยูเนี่ยน วังท่าพระ เป็นทั้งศูนย์อาหาร/ หอประชุมใหญ่/ สำนักงานสโมสรนักศึกษา/ ชมรม/ ร้านค้าสหกรณ์ และที่พักของนักศึกษาในอาคารเดียวกัน อยากกินผลไม้ ต้องเจ๊ตุ่ม ยูเนี่ยน
5. ตุ๊ดตู่ คือ ชื่อเล่นที่สุภาพของตัวเงินตัวทอง ที่คุณสามารถพบเห็นได้อย่างชุกชุมที่ทับแก้ว
6. อักษร มีชนช้างกับคณะฮอตของมหาลัย คือ จิตรกรรม ดุริยางค์ มัณฑศิลป์ (ในยามที่เขาว่าง)
7. เด็กจิตรกรรมปี 1 ทรงผม การแต่งกาย อาจคล้ายเด็กช่างกล+เด็กนักเรียนเตรียมทหาร
8. ซอยลิตเติ้ลพาย คือ ซ.ที่มีหออยู่มากที่สุดในย่านหน้า ม. คือ นิยมไทย/ลิ้มฮกไถ่/ชยาทิพย์แมนชั่น/ เวศฒ์วรุฒ/ วีเจ/ ลีลาเพลส/ ริชแมนชั่น/ อิน ไวท์/ อินดี้/ สนามจันทร์แมนชั่น ฯลฯ (ปัจจุบันนิยมเรียกซอยชยาทิพย์)
9. งานกิฟต์ Gift Festival คืองานเทศกาลดนตรี, ของขวัญ, เครื่องประดับ และขนม จากคณะมัณฑนศิลป์ ชื่อเสียงโด่งดังมาก นักเรียน-นักศึกษา ทั่วกรุงเทพฯ ต่างรอเเพื่อมาร่วมงานนี้ทุก ๆ ปี
10. หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็คือ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ตั้งอยู่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นักศึกษาทุก ๆ คนจะได้เข้าไปข้างใน 2 ครั้งคือ "งานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่" และ "งานพระราชทานปริญญาบัตร" นั่นเอง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
1. มศว ไม่มีจุด เพราะหมายความว่าจะได้ไม่มีจุดสิ้นสุด
2. กราฟ มศว ที่เป็นสัญลักษณ์ของ มศว ได้จากสมการ Y = e กำลัง x ซึ่งเป็นกราฟฟังก์ชั่นเพิ่ม มีความหมายว่า การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม (สิกขา วิรุฬ หิ สมปตตา หรือ Education is Growth)
3. คำว่า "นิสิต" มศว ได้มาจากสมัยก่อนครั้งที่เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ได้ให้นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนได้พักในหอพักของโรงเรียน
4. พี่รหัสที่ใช้เรียกกันที่ มหาลัยอื่น ๆ ที่ มศว เรียก พี่เทค ป้าเทค ลุงเทค ปู่เทค ย่าเทค ตามชั้นปี
5. รถโดยสารภายใน มศว องครักษ์ เรียกว่า “รถกะป๊อ” รถโดยสารที่นั่งจากรังสิตมาถึงมศว องครักษ์ จะเป็นรถสีเขียว ถ้ารถคันไหนสีเขียวอ่อน จะเรียกว่า “เขียวสะอื้น” แต่ถ้าคันไหนสีเขียวเข้มจะเรียกว่า “เขียวเทอร์โบ”
6. กิจกรรมยามว่างของเด็ก มศว องครักษ์คือ ไปวิ่งหรือปั่นจักรยานรอบวงเวียน (จะเป็นวงเวียนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ว่าได้) แต่กิจกรรมยามว่างของเด็ก มศว ประสานมิตร คือการออกกำลังกายที่สนามกีฬากลาง หรือไม่ก็ไปเดินแถวสยามหรือเอ็มโพเรียม เดี๋ยวนี้ เอสพลานาด เซน 9 เทอมินอล เพิ่มขึ้นมาอีก
7. คณะที่สาวสวยขึ้นชื่อของ มศว คงหนีไม่พ้น แพทย์ มนุษย์ สังคม และศิลปกรรม ส่วนคณะที่ชายหนุ่มขึ้นชื่อมากที่สุด คือ แพทย์ วิศวะ พละ สังคม อยากรู้ต้องมาลองพิสูจน์ดู
8. มศว เป็นมหาลัยเดียว ที่มาได้ ทั้ง BTS (ลงที่อโศก) และ MRT (ลงที่สุขุมวิท หรือ เพชรบุรี) เริ่ดมาก หรือจะนั่งเรือ จากคลองแสนแสบก็ได้ มีท่าขึ้นที่ มศว เลย
9. ร้านอาหารในตำนานอยู่รายรอบมหาวิทยาลัย เช่น ร้าน "ชายน้ำ" ริมคลองแสนแสบหรือเรียกสั้น ๆ ว่า Riverside, ร้าน "ดำ" ข้างหอสำราญ, ร้าน "ขาว" ข้างหอสุนันทา ยังมีอีกร้านคือร้าน "เจ๊ยูน" เดินข้ามคลองแสนแสบไป จะมีซอยเล็กๆเดินเข้าไปจะเจอป้ายเขียนไว้เลยว่า "ลึกลับประทับใจ"
10. โรงอาหาร มศว จำแนกเป็น โรงร้อนและโรงเย็น (ติดตึกแพทย์) โรงเย็นมักร้อน ส่วนโรงร้อน ..ก็ร๊อนนนนร้อน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเรียกรถโดยสารจะเรียกว่า "ขส.มช." และเมื่อก่อนเรียกรถราง (ที่ไม่ได้วิ่งบนราง) ตอนนี้เป็น "รถไฟฟ้า" สีขาวม่วง (เคยเปลี่ยนเป็นสีส้มตอนกีฬามหาวิทยาลัย เพราะ Orange เป็นสปอนเซอร์) ซึ่งนักศึกษานิยมเรียก "รถม่วง"
2. ตึกใน ม.เชียงใหม่ ไม่ได้รับอนุญาตให้สร้างสูงเกินกว่า 100 เมตร ตามกฎเทศบัญญัติที่ไม่ต้องการให้สร้างอาคารสูงบดบังดอยสุเทพ
3. การรับน้องรถไฟ ถือเป็นประเพณีรับน้องที่สำคัญของชาว มช. รับน้องปีหนึ่งจาก กทม. และต่างจังหวัด มาเชียงใหม่ นั่งชั้น 3 รับน้อง ร้องเพลงตลอดสาย พอถึงเชียงใหม่ตอนเช้าพี่ก็จะพาไปไหว้พระที่หน้า ม. และจะมีการบูมรอบขบวนรถไฟซึ่งดังกึกก้องไปทั่วหัวลำโพงที่ มช. มีประเพณีรับน้องรถไฟ
4. เด็กกรุงเทพฯ ที่ติดคณะแพทย์จะได้รับการรับน้องทั้งหมดเกือบ 10 รับน้อง เช่น รับน้องกรุงเทพฯ รับน้องรถไฟ รับน้องคณะ รับน้องขันโตก รับน้อง.....บลา บลาๆๆๆ
5.คณะสถาปัตย์ให้น้อง ๆ ปี 1 ทักรุ่นพี่เมื่อเจอตามที่ต่าง ๆ ด้วยการยืนล้อมรอบและร้องเพลง โดย ท่าและเพลงที่ใช้ทักทายจะเปลี่ยนไปตามชั้นปีของรุ่นพี่ และเปลี่ยนไปทุก ๆ ปี นอกจากนี้ยังมี หมวก เครื่องประดับ หรือของตกแต่งให้ทุกคนถือไปเรียนด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนทุกปีเหมือนกัน แล้วแต่ theme ยกตัวอย่างเช่น เป็นลูกเสือ ทหาร นินจา นักเรียนอนุบาลและอื่น ๆ
6. แต่ละปี แต่ละคณะจะมีการแสดงที่ถือเป็นการแสดงที่โดเด่นของแต่ละคณะ เช่น
-คณะการสื่อสารมวลชนมีละครเวที "ขยับปีก"
-วิจิตรศิลป์มีการแสดงดนตรีลูกทุ่ง "ลูกทุ่งวิจิตรฯ"
-วิทยาฯ มีงานแสดงผลงาน "งานวิทย์ฯ"
-บริหารมีงานวัด "พัดหวน"
-สถาปัตย์มีละครเวที "ละคร'ถาปัตย์"
-วิศวะมีงานแสดงดนตรี "น็อต" เป็นต้น
7. รับน้องคณะวิศิตรจิ๋น (วิจิตรศิลป์) วันแรก ผู้ชายต้องตัดลองทรง ผู้หญิงต้องย้อมผมดำรวบตึงใส่เจลและต้องติดกิ๊บดำไม่ต่ำกว่า 10 ตัว ทุกคนจะมีชื่อ คณะ ชื่อคณะได้มาจากการ Present ตัวหน้าคณะที่ต้องฮาที่สุดแล้วรุ่นพี่ถึงจะให้ชื่อ บางคนต้องออกมาทำถึง 20 รอบเลยทีเดียว
8. พอถึงหน้าหนาว ปี 1 ทุกคณะ จะมีการทำเสื้อกันหนาวของคณะตัวเอง ยกเว้นคณะวิจิตรศิลป์ที่ไม่มีเสื้อหนาวคณะ และคณะวิทยาศาสตร์ที่ถูกสั่งห้ามให้ทำเสื้อกันหนาวตั้งแต่ปี 2549 (แต่ก็ยังมีเสื้อกันหนาวเมเจอร์อยู่)
9. รัฐศาสตร์ จะมีกีฬาประเพณีทุกปี ซึ่งมีคณะรัฐศาสตร์ทั้ง 5 สถาบันใหญ่ของประเทศมาร่วมงาน คือ จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตร มศว. และ มช.
10. warm up, monkey club, magenta, เด็กมอ แหล่งท่องเที่ยวย่านนิมมานเหมินทร์ คือสโมสรนักศึกษานอกสถานที่ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ใช้แชร์ร่วมกับเพื่อนร่วมอุดมศึกษาอื่นในเชียงใหม่ด้วย
มหาวิทยาลัยบูรพา
1. การรับน้องของ ม.บู ที่ทุกปีต้องจัดคือ การวิ่งขึ้นเขา ในวันที่ 8 กรกฎ เด็กปี 1 ทุกคนจะต้องวิ่งลงจากเขาสามมุขมาจนถึงมหาลัย วิ่งทุกวันที่ 8 กรกฏาคม เมื่อถึงเส้นชัยแล้วต้องเหยียบคำว่า "เส้นชัย" หรือตัว “A” เพื่อเป็นความหมายว่าจะได้เกรดเอ และมีความเชื่อว่าไม่วิ่งเรียนไม่จบ ไม่มีคนกล้าพิสูจน์ถึงปัจจุบัน
2. รถวิ่งรับส่งนิสิตในม.บู เรียกว่า "รถ 2 บาท" หรือ "ไฉไล" ปัจจุบันไม่ต้องจ่ายเงินแล้ว แต่นิสิตใช้บริการเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะช่วงพักกลางวัน ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่เรียกรถเหลือง หรือจะลงทุนหน่อยก็จ่าย 10-15 บาท เรียกพี่วินได้ทั่วมหาลัย
3. มหาวิทยาลัยบูรพาช่วงรับน้อง เป็นช่วงที่ปีหนึ่งประหยัดตังค์ที่สุด เพราะพี่ 4 ชั้นปีจะซื้อขนม + ข้าว ไปให้น้อง และยังมีวันเทคใหญ่ ขนม ของขวัญ ของกินไม่อั้น
4. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีธรรมเนียม น้องปี 1 ต้องไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั่วมหาวิทยาลัย ไม่งั้นจะเรียนไม่จบ
5. วิทย์-กีฬา จะรับน้อง 1 เดือนครึ่ง โดยประมาณ หลักก็คือ ออกกำลังกาย 1. วิดพิ้น 2.หมอบ 3.วิ่ง 4.แล้วแต่พี่จะสั่งในการที่วิ่งและออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ มีการเทสวิ่งเขาสามมุก ปกติ นิสิตทุกคนต้องวิ่งเขาสามมุกคนละรอบ แต่วิทย์-กีฬา วิ่ง 3 รอบ คือ เทสเขาสามมุก 1 รอบ คือวิ่งจากตีนเขาขึ้นยอดเขาครับ จับเวลา 12 นาที แล้วก็วิ่งจริงวันที่ 8 กรกฏอีกรอนะครับ แล้วยังมีวิ่งขึ้นเขาเขียวอีก
6. การรับน้องของคณะวิศวะฯ เหมือนน้องเข้าไปอยู่ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เพราะจะเจอทั้ง ทศกัณฐ์ = สตาฟระเบียบ, พระราม = สตาฟเชียร์, หนุมาน = สันทนาการ, นางสีดา = สวัสดิการเเละพยาบาล
7. 1 ปี จะมี 1 ครั้ง ที่ให้ผู้ชายสามารถเข้าไปในหอหญิงได้ 1 วัน ถึง 4 โมงเย็น เรียกว่าวันเปิดหอ (แต่ 5 โมง ผู้ชายยังออกจากหอไม่หมด จนต้องประกาศไล่นิสิตชายออกจากหอหญิง)
8.วงเวียนทุกวงเวียนในม.ห้ามย้อนศรตอนกลางคืนเพราะจะเจอ...มีหลายคนลองแล้วส่วนใหญ่เจอดีกันทั้งนั้น
9. คำว่า "ไปสดใส" ในความหมายของเด็ก "ม.บูรพา" คือไปกินข้าว เล่นเนต พิมพ์งาน เติมน้ำมันรถเครื่อง เดิมทีใช้เป็นที่สิงสถิตย์สำหรับชายหนุ่มไว้เหล่สาว ตอนกลางคืนก็มาหาของกินเยอะเลยมีของกินขายเพียบอร่อยด้วย
10. นิสิตมหาลัยบูรพา กว่า 70% ไม่เคยเข้าชม สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล (ทั้งที่มันฟรีเมื่อโชว์บัตรนิสิต)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. “เจ้าพ่อมอดินแดง" คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพของชาว มข. มีคนนำช้างกับม้ามาถวายท่านเจ้าพ่อ เฉลี่ย วันละ 100 ตัว
2. มข. เป็นมหาลัยที่มีประตูทางเข้ามากที่สุด ดังนี้
1). ประตู รร สาธิต มอดินแดง
2). ประตูศาลเจ้าพ่อ มข (ประตู 2)
3). ประตู 1 ทางไปโรงบาล อะ
4). ประตูโรงพยาบาลศรีฯ
5). ประตูกัง (ม่ะก่อนจะมี 2 เดียวนี้ปิดไป 1 ละ ตรงกังใหม่อะ)
6). ประตูหลังหอตรง U-Center
7). ประตูหลังหอตรงทางไปเจ้พร
8). ประตูทางไปหอ 9 หลัง
9). ประตูบึงสีฐาน ฝั่งบ้านพัก อ.
10).ประตูสีฐาน
11). ประตูทางเข้าหอกาญฯ
3. เด็ก มข. เกือบทุกคนมีมอเตอร์ไซด์หรือรถส่วนตัวใช้ ถ้าไม่มีก็ต้องมีเพื่อนที่มี ไม่งั้นจะอยู่ที่นี่อย่างลำบาก ปัจจุบันมี shuttle bus ที่ให้บริการฟรีแล้ว ถ้าหากต้องการแค่เดินทางในมหาวิทยาลัยก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะเปิดให้บริการตั้งแต่ 7.00 - 21.00 น. แต่ก็ถ้ามีรถส่วนตัวก็สะดวกกว่าเยอะ
4. Complex เป็นศูนย์อาหารและบริการของนักศึกษาที่นี่ และยังเป็นแหล่งรวมสถาบันติวของเด็ก มข. ที่เปิดอย่างลับๆ (รุ่นพี่เปิดติวรุ่นน้อง) เป็นที่ซุ่มอ่านหนังสือในยามดึกสงัดของคืนวันก่อนสอบ และที่น่าสนใจคือ บอร์ดติดประกาศของ complex ที่มีประกาศแทบทุกชนิดมาติดเอาไว้ตั้งแต่ ดินสอหาย สุนัขหาย สามีหายออกจากบ้าน ประกาศขายมือถือ ขายสกู๊ตเตอร์ ขาย vcd ซีรี่ส์หนังเกาหลี ประกาศห้องว่างให้เช่า แต่ที่เด็ดสุด ก็ตรงที่มีประกาศจับคนร้ายขโมยกระเป๋าตังค์พร้อมเปิดเผยหน้าตาด้วยนี่แหละ
5. U-center มีร้านขายของชำที่มีของทุกอย่างขาย ขาดเหลืออะไรให้ไปร้านนี้ ย้ำว่าทุกอย่างจริง ๆ มีชื่อเรียกหลายชื่อตามแต่สะดวก เช่น ร้านโดราเอมอน ร้าน Everything ร้าน The Mall ร้านสากกะเบือ (ยันเรือรบ) ร้านสิ่งมหัศจรรย์
6. "ตึกเพียรวิจิตร" เป็นสมบัติของคณะวิศวะ ที่มีคนเข้าไปอ่านหนังสือมากพอๆ กับหอสมุดกลาง แต่อีกที่หนึ่งที่มีคนไปอ่านหนังสือมากพอๆ กัน คือ "โรงอาหารคณะแพทย์"
7. ฤดูร้อนที่ มข. อุณหภูมิ จะร้อนกว่า 40 องศา ส่วนฤดูหนาว อุณหภูมิ จะลดต่ำลงถึง 20 องศา ดังนั้น เด็ก มข. หลายคนจึงกระเสือกกระสนไปอยู่หอนอก เพียงเพราะต้องการ แอร์กับเครื่องทำน้ำอุ่น
8. มข. เป็นมหาลัยที่มีละครเวทีเยอะมาก ไม่ว่าคณะนั้นจะเกี่ยวข้องกับสายละครหรือไม่ คือ
1.แพทย์ 2.มนุษย์ 3.วิทยาการ 4.พยาบาล 5.วิศวะ 6.ถาปัต 7.วิทยาศาสตร์ 8.ศิลปกรรม 9.ศึกษาศาตร์ 10.สาธิตศึกษาศาสตร์ 11.สาธิตมอดินแดง ละครคณะวิทยาการสนุกที่สุด ละครคณะมนุษย์นักแสดงหน้าตาดีที่สุด ละครคณะวิดวะมุกตลกฮาที่สุด ส่วนละครคณะแพทย์ขายบัตร VIP แพงที่สุด
9. ร้าน 25th copy เป็นร้านถ่ายเอกสาร ตั้งอยู่ที่เจ๊พร ถ้าเกิดตำรวจลองเข้ามาตรวจค้นจริง ๆ มีหวังเจ้าของร้านโดนค่าปรับโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์เป็น ร้อยล้าน แน่ๆ เพราะเล่นเอาหนังสือเกือบทั้งห้องสมุด ข้อสอบเก่าของทุกคณะ ทุกชั้นปี มา copy ขายเองหมด
10. ร้านเค้ก: มี 6 ร้าน คือ ร้านชัยมหาเบเกอรี่ ร้านต้นน้ำ ร้านม่วนซื่น ร้านรักเนย ร้านชินเชน ร้านสายลมแห่งภูเข และร้านบายฮาร์ทเบเกอรี่ ปัจจุบัน ร้านสายลมแห่งภูเขาหรือร้าน kaseyama อยู่ที่ซอยโลกีย์ หลังมข.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1. 99.99% ของคนส่วนใหญ่คิดว่า จุฬาฯ เป็นที่แรกที่ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย แต่คน 0.01% ที่รู้ว่า ม.อ. เป็นที่แรก ก็คือเด็ก ม.อ.เอง
2. โรงช้าง คือโรงอาหารที่เด็ก ม.อ.จะไปทานข้าวกัน แต่ก่อนเป็นเพิงบรรยากาศอบอุ่นเหมือนร้านอาโกในเรื่อง "มหาลัยเหมืองแร่" มีร้านขายของชำหลายร้านเหมือนในกิมหยง แต่เดี๋ยวนี้ทุบแล้วสร้างใหม่กลายเป็นโรงอาหารประถม
3. รถตุ๊ก ๆ และรถสวัสดิการเป็นรถที่จะพาเด็ก ม.อ.ไปเรียนกัน เด่วนี้มีรถไบโอดีเซลแล้ว จะวิงเป็นเวลา เรียกสั้นๆว่า "รถไบโอ"
4. เมื่อเข้ามาปี 1 ใหม่ ๆ เด็กแพทย์จะใส่ไทสีเขียว, พยาบาล สีส้ม, วิทยาการจัดการ สีเฉดม่วง, วิศวะ สีเลือดหมู และคณะวิทยาศาสตร์ สีประจำคณะคือสีเหลือง แต่ใช้ไทสีกรมท่า
5. ตอนเปิดเทอมใหม่จะมีของขายที่ใต้ตึกกิจ เรียกว่า ขายของน้องใหม่ และจะเป็นของที่แพงที่สุดเพราะเด็กใหม่จะยังงง ๆ และไม่รู้ว่ามันแพง คนขายเป็นบรรดารุ่นพี่ ที่รับของมาจากร้านในตลาด และเอาเฉพาะของถูก ๆ มาเพิ่มกำไรขาย
6. น้องปี 1 ที่ ม.อ. ปัตตานี นอกจากจะมีพี่รหัสแล้ว ยังมี "พี่มาลัย" จากการรับน้องมาลัยในวันแรกที่เข้าสู่รั้วสีบลู พี่มาลัยจะเทคแคร์ดูแลน้องมาลัย ดีมากตลอดจนพี่จบ ที่นี่นอกจากมีพี่รหัส พี่มาลัยแล้ว ยังมี พี่ buddy พี่เอ็นดู พี่สีผิว และพี่อื่น ๆ ตามที่ใครจะนึกได้อีก
7. ช่วงรับน้องเด็กปี 1 ทุกคนจะต้องถูกถามว่า "พ่อมึงคือใคร ชื่ออะไร" ต้องตอบให้ถูกต้อง "พ่อผมคือพระราชบิดาครับ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบต อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" (มีพระราชประวัติสลักอยู่หลังพระรูปหน้าสนอ.)
8. เมนูประจำเทศกาลรับน้องคือ ข้าวเกรียบปลาทอด ใครรับหน้าที่นี้ไปก็ยืนทอดกันเมื่อยเลย
9. ร้านน้ำชาสุดฮิตที่ "ม.สงขลานครินทร์" ชื่อ "สวนลุงเจิม" แต่บางตำราบอกว่าไม่ใช่ ต้องเป็น ร้านชาโต้งและโกอ้วน ฮิตกว่าเยอะ และที่สำคัญร้านลุงเจิมไม่ได้อยู่ที่ ม.สงขลานครินทร์!!!
10. กรือโปะ หรือ กะโปะ เป็นของกินคู่กับน้ำชาที่ขึ้นชื่อที่สุด ยุคนึงนุักศึกษา ม.อ.ปัตตานีทุกคนต้องไปนั่งกินกรือโปะกับโอดิบที่แคลิฟอร์เนีย (บางคนก็เรียกริเวอร์ไซด์)
ขอบคุณข้อมูล manager.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น