วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

8 วิธี หนทางสู่การเรียนเก่ง

ในการเรียนให้เก่งนั้น ต้องอาศัยทักษะต่างๆ และหมั่นฝึกฝน อดทนและขยันอยู่เสมอ ซึ่งขั้นตอนในการปฎิบัติและวางแผนในการเรียนให้เราเรียนเก่งๆนั้น มีขั้นตอนดังนี้
1. การเตรียมตัวก่อนไปโรงเรียน 
ข้อคิดนี้สำคัญ และมองข้ามไม่ได้ค่ะ เราต้องรู้จักประมาณตนในการเข้านอนค่ะ โดยปกติแล้วคนที่หลังจากเลิกเรียนแล้ว เรียนพิเศษโดยเฉลี่ยประมาณชั่วโมงครึ่ง กลับบ้านมากินข้าว อาบน้ำ ทำการบ้าน และอ่านหนังสือทบทวน ไม่น่าจะเข้านอนเกิน 5 ทุ่มนะคะ สาเหตุที่เราเข้านอนเกินเวลา - เลิกเรียนแล้วเที่ยวเตร่ไม่รีบกลับบ้าน - มัวแต่เล่นเกมส์ หรืออ่านหนังสือการ์ตูน ซึ่งถ้าทำเพื่อคลายเครียดก็ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง และไม่ควรทำทุกวัน เพราะจะทำให้เราติดเป็นนิสัย - เล่น msn เพื่อแชตในเรื่องไร้สาระ จะทำให้เราไม่ดูเวลา ติดเป็นนิสัย - ดูละครไป ทำการบ้านไป - การบ้านค้างไว้นานๆ แล้วมารีบทำเมื่อถึงวันที่จะส่งแล้ว เมื่อเราหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ขอให้เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวันจะได้เกิดความเคยชิน และเมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า ห้ามหลับต่อ และอย่าลืมรับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียนนะคะ
 2. จุดประกายในห้องเรียน
พยายามเลือกที่นั่งด้านหน้า ใกล้ครูให้มากที่สุด - ถ้าเลือกที่นั่งไม่ได้ จำเป็นต้องนั่งข้างหลัง ก็ห้ามปรามเพื่อนรอบข้าง อย่าให้เขาชวนคุย เพราะจะรบกวนสมาธิ - ถ้านั่งริมหน้าต่าง ริมประตู อย่าไปสนใจสิ่งรอบข้าง - ไม่ต้องกลัวเวลาอาจารย์ถาม ถ้าเราตั้งใจเรียนและเตรียมตัวมาดี จะทำให้เรามีความมั่นใจเวลาอาจารย์ถามคำถาม - เมื่อมีข้อสงสัยให้รีบยกมือถามอาจารย์ทันที ไม่ต้องกลัวอายเพื่อน อย่าลืมค่ะ "ด้านได้อายอด"ค่ะ
3. หูฟัง ตามอง มือเขียน 
มีสมาธิในการฟัง - มองสิ่งที่อาจารย์เขียนให้ดูบนกระดาน แล้วรีบจดลงไปในสมุด - ไม่ควรฟังไป เขียนไป จะทำให้เราพลาดเนื้อหาที่สำคัญๆ เราควรฟังให้เข้าใจก่อนแล้วค่อยบันทึก
 4. ชั่วโมงต่อไป ทำไงดี
 อย่าเพิ่งรีบเก็บสมุดบันทึกก่อนค่ะ ให้จดหัวข้อว่าวันนี้เรียนอะไรในสมุดอีกเล่ม เพื่อจะได้กลับไปทบทวนที่บ้าน - จดโน้ตคำถามสั้นๆไว้ในส่วนที่เรายังไม่เข้าใจ คาบต่อไปจะได้ไม่ลืมถามอาจารย์ - ลืมความเครียด ความกังวลในคาบก่อนหน้านั้นให้หมดสิ้น
5. จุดประสงค์การเรียนรู้ 
หลักสูตร หรือโครงสร้างเนื้อหา มีความสำคัญ ถ้าเรารู้จุดประสงค์การเรียนรู้ของวิชานั้นๆ จะทำให้เรามีทิศทางในการเรียน เปรียบเสมือนแผนที่ที่คอยบอกว่า เราควรเดินไปในทิศทางไหนค่ะ และมีส่วนสำคัญให้เราเลือกซื้อหนังสือไว้อ่านเพิ่มเติมด้วย
 6. จับประเด็น
ฟังอาจารย์ให้ดีๆ ตรงไหนอาจารย์เน้นคำ โดยใช้คำพูดที่หนักแน่นขึ้น - ตรงไหนอาจารย์พูดซ้ำ 2 รอบ - หัวข้อที่อาจารย์พูดถึงว่า ออกสอบบ่อยๆ - แนวแบบฝึกหัดที่อาจารย์ให้มาก็บอกใบ้แนวข้อสอบค่ะ
7. สังเกตสไตล์การสอน
ถ้าอาจารย์ชอบให้ซักถาม ก็เตรียมคำถามไว้ถามล่วงหน้า - ถ้าอาจารย์ชอบสอนไปเรื่อยๆ ไม่สนใจว่านักเรียนตามทันหรือไม่ ก็ไม่ควรขัดจังหวะ โดยการถามคำถามอาจารย์ก่อน ให้จับประเด็นที่อาจารย์เน้นเอาเอง และค่อยถามอาจารย์นอกเวลา - ถ้าอาจารย์บรรยายน่าเบื่อ ฟังแล้วง่วงนอน ให้ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า เป็นการฝึกให้นักเรียนเป็นนักจับประเด็น และเป็นการฝึกความอดทนไปในตัว พยายามท้าทายตัวเองว่า ต้องเป็นคนช่างสังเกตให้ได้ เหมือนกำลังเล่นเกมนักสืบ - อย่ามีอคติกับผู้สอน เพราะจะทำให้การเรียนน่าเบื่อ ซึ่งมีผลต่อคะแนน ความตั้งใจ และความเข้าใจตลอดเทอม
8. เรียนอย่างเข้าใจ
หาใช่เพื่อสอบผ่าน ฟังดูอาจเป็นผลดีที่ขยันเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ความเป็นจริงแล้ว เมื่อสอบผ่านวิชานั้น ก็เป็นอันว่าหน้าที่นั้นสิ้นสุดลงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหานั้นอีกต่อไป ถ้าต้องเรียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ค่อยไปรื้อฟื้อความเข้าใจเพื่อการสอบออกมาใหม่ นี่เป็นความคิดที่ผิดค่ะ ความเข้าใจอย่างแตกฉาน จะมีประโยชน์ต่ออนาคต ต่อการดำรงชีพ ถ้าคิดแบบนี้ จะทำให้สามารถอธิบายวิเคราะห์ สรุปเนื้อหาได้อย่างแม่นยำ เพราะฉะนั้น การเรียนไม่ใช่การท่องจำเพื่อการสอบอย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น: