“เสื้อแน่นอก กับกระโปรงสั้นเสมอ…?” ยังคงเป็นประเด็นให้กล่าวถึงกันอยู่ทุกยุคทุกสมัยเรื่องการแต่งกายของนิสิต-นักศึกษา กับกระแสแฟชั่นในเครื่องแบบยูนิฟอร์มที่ยังคงดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนเมื่อหลายปีก่อนผลโหวตจากแดนปลาดิบได้ฟันธงมาว่า “ชุดนักศึกษาไทยเซ็กซี่ที่สุดในโลก” เพราะทั้งฟิต ทั้งรัดแน่ปึ๋ง เดินๆ อยู่กระดุมกระเด็นก็มี แถมกระโปรงยังทั้งสั้นทั้งผ่า มองยังไง๊..ยังไง ก็ไม่ใช่เครื่องแบบนักศึกษาอย่างแน่นอน ส่งผลให้ปัจจุบันเว็บไซด์ญี่ปุ่นถึงกับอดใจไม่ไหวเอาชุดนักศึกษาไทยไปเป็นชุดคอสเพลย์เปิดขายในโลกออนไลน์กันอย่างเปิดเผย จนเกิดคำถามขึ้นมากมายว่าเหมาะสมหรือไม่ที่ชุดนักศึกษาอันทรงเกียรติ จะกลายไปเป็นชุดคอสเพลย์สำหรับแต่งเพื่อเน้นความเซ็กซี่ หรือเป็นสื่อเพื่อกระตุ้นทางเพศ วันนี้ Life on campus ได้ติดตามความคืบหน้าถึงโครงการรณรงค์แต่งกายให้ถูกระเบียบของมหาวิทยาลัยต่างๆ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่ผ่านมาว่าประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร
รณรงค์แต่งกายชุดนักศึกษา...วาระแห่งชาติ
การรณรงค์เรื่องการแต่งกายของนิสิต-นักศึกษาเป็นประเด็นที่มีการรณรงค์กันมานานแล้ว แต่เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้เกิดวิกฤตอย่างหนักเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของนักศึกษาไทยในสายตาของชาวต่างชาติ ที่มองแล้วชุดนักศึกษาหญิงของไทยนั้นเซ็กซี่เกินคำบรรยาย ซึ่งขัดกับวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่ง ทั้งนี้องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมหารือกับมหาวิทยาลัยรัฐ และเอกชนกว่า 30 แห่ง เกี่ยวกับการแก้ปัญหานี้ จนเรียกได้ว่า “การรณรงค์การแต่งกายของนักศึกษาเป็นวาระการประชุมระดับชาติ” เกือบทุกแห่งในประเทศไทย ได้จัดโครงการต่างๆ ขึ้นมามากมาย และดำเนินการต่อเนื่องกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมตอบรับแนวทางแก้ปัญหาด้วยโครงการ “อีกนิดนะครับ...อีกนิดนะคะ" รณรงค์การแต่งกายถูกระเบียบ ให้สมกับเป็นเครื่องแบบพระราชทาน หรือโครงการ “ศิลปากรครบชุด” ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการจากส่วนกลางโดยสโมสรนิสิตนักศึกษา รณรงค์เรื่องการแต่งกายให้ถูกระเบียบมหาวิทยาลัย และอาจจะมีการเปลี่ยนชื่อหรือปรับปรุงให้เข้ากับคณะหรือสาขาวิชา อย่างของคณะอักษรศาสตร์ก็จะใช้ชื่อว่า “อักษรเป๊ะ” ซึ่งเป็นการรณรงค์ในระดับของคณะ ทางด้านมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็ได้มีการรณรงค์เรื่องการแต่งกายนิสิตให้ถูกระเบียบ มีการจัดทำโครงการและโปสเตอร์รณรงค์ ขณะเดียวกันก็มีการรณรงค์ในแต่ละคณะด้วยเช่นกัน
นส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำอย่าง มหาวิทยาลัยรังสิต หอการค้า และธุรกิจบัณฑิต ที่ได้รับการจับตามองเป็นพิเศษในเรื่องเครื่องแต่งกายของนักศึกษา จากสายตาคนภายนอกที่มักจะมองว่าผิดระเบียบเป็นส่วนใหญ่ ก็พร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ “DPU Smart” ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต หรือ โครงการรณรงค์เรื่องเครื่องแต่งกายนักศึกษาเป็นของคณะนิเทศศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เน้นไปที่เครื่องแต่งกายของนักศึกษาหญิงโดยตรง เพื่อลดปัญหาภัยคุกคามทางเพศ ชื่อโครงการว่า “Stop crime” ด้วยเหตุผลจากการวิจัยพบว่าชุดนักศึกษานุ่งสั้น รัดติ้ว สามารถเพิ่มอาชญากรรมทางเพศในสังคมได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มนักศึกษาจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อลดปัญหาอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นกับนักศึกษาหญิงโดยเฉพาะ
แม้แต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เคยมีข้อถกเถียงมากมายเหลือเกินกับประเด็นการแต่งชุดนักศึกษา กล่าวว่า ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ได้มีการรณรงค์ในเรื่องนี้เหมือนกัน แต่จะเป็นในส่วนของการแต่งกายให้สุภาพมาเข้าเรียนมากกว่า ซึ่งไม่ได้เน้นว่าจะต้องเป็นการแต่งกายในเครื่องแบบนักศึกษาแต่อย่างใด ที่เห็นได้ชัด จะเป็นสายแพทย์และพยาบาลที่จะต้องแต่งเครื่องแบบให้ถูกระเบียบ เพราะจะมีการเข้าห้องแล็ป และชุดนักศึกษาก็ควรจะเป็นชุดที่ปลอดภัย ส่วนสายสังคมศาสตร์ก็จะไม่ได้เน้นว่าให้แต่งกายชุดนักศึกษาเข้าเรียน ใส่ชุดอะไรก็ได้แต่เน้นเป็นชุดสุภาพ เป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ การรณรงค์จึงไม่ได้เน้นเรื่องเครื่องแบบนักศึกษาแต่เน้นเป็นชุดสุภาพ ตั้งแต่ปี 1 ถึง ปี 4
แม้แต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เคยมีข้อถกเถียงมากมายเหลือเกินกับประเด็นการแต่งชุดนักศึกษา กล่าวว่า ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ได้มีการรณรงค์ในเรื่องนี้เหมือนกัน แต่จะเป็นในส่วนของการแต่งกายให้สุภาพมาเข้าเรียนมากกว่า ซึ่งไม่ได้เน้นว่าจะต้องเป็นการแต่งกายในเครื่องแบบนักศึกษาแต่อย่างใด ที่เห็นได้ชัด จะเป็นสายแพทย์และพยาบาลที่จะต้องแต่งเครื่องแบบให้ถูกระเบียบ เพราะจะมีการเข้าห้องแล็ป และชุดนักศึกษาก็ควรจะเป็นชุดที่ปลอดภัย ส่วนสายสังคมศาสตร์ก็จะไม่ได้เน้นว่าให้แต่งกายชุดนักศึกษาเข้าเรียน ใส่ชุดอะไรก็ได้แต่เน้นเป็นชุดสุภาพ เป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ การรณรงค์จึงไม่ได้เน้นเรื่องเครื่องแบบนักศึกษาแต่เน้นเป็นชุดสุภาพ ตั้งแต่ปี 1 ถึง ปี 4
ยอมรับแก้ไม่ตก…เน้นปลูกฝังค่านิยม
แม้ว่าโครงการรณรงค์เรื่องเครื่องแต่งกายนิสิต-นักศึกษาจะได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลานาน และมีโครงการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่หลายมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ประเมินความสำเร็จของโครงการต่างๆ เป็นเสียงเดียวกันว่า โครงการรณรงค์เครื่องแต่งกายนักศึกษาที่ได้กระทำกันต่อเนื่องมาตลอดนั้น ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ ยังคงมีนักศึกษาบางส่วนที่แต่งกายผิดระเบียบ โดยมหาวิทยาลัยรัฐบาลกล่าวว่า ในส่วนของนักศึกษาปี 1 หรือรุ่นน้องเฟรชชี่ ถือว่าประสบความสำเร็จถึง 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม ในเรื่องของการสร้างทัศนะคติ เพราะมีรุ่นพี่ที่คอยดูแลอยู่ ส่วนของนักศึกษาปี 2-4 ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องของการปรับทรรศนะคติให้มองถึงประโยชน์แง่ดีในภาพลักษณ์ของการเป็นนักศึกษามากกว่า
แม้ว่าโครงการรณรงค์เรื่องเครื่องแต่งกายนิสิต-นักศึกษาจะได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลานาน และมีโครงการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่หลายมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ประเมินความสำเร็จของโครงการต่างๆ เป็นเสียงเดียวกันว่า โครงการรณรงค์เครื่องแต่งกายนักศึกษาที่ได้กระทำกันต่อเนื่องมาตลอดนั้น ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ ยังคงมีนักศึกษาบางส่วนที่แต่งกายผิดระเบียบ โดยมหาวิทยาลัยรัฐบาลกล่าวว่า ในส่วนของนักศึกษาปี 1 หรือรุ่นน้องเฟรชชี่ ถือว่าประสบความสำเร็จถึง 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม ในเรื่องของการสร้างทัศนะคติ เพราะมีรุ่นพี่ที่คอยดูแลอยู่ ส่วนของนักศึกษาปี 2-4 ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องของการปรับทรรศนะคติให้มองถึงประโยชน์แง่ดีในภาพลักษณ์ของการเป็นนักศึกษามากกว่า
อ.ลัดดาวัลย์ ผิวทองงาม รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาศักยภาพนิสิต มศว. กล่าวว่า “ความสำเร็จคงไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ยังมีหลุดๆ อยู่บ้าง อย่างนิสิตปี 1 ก็จะค่อนข้างเรียบร้อยเพราะจะมีรุ่นพี่ดูแลอยู่ เด็กปี 1 ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการแต่งกาย ส่วนใหญ่ที่มักจะเจอปัญหาก็จะเป็นรุ่นพี่ๆ ปี 2-4 ขึ้นไป ที่แต่งกายผิดระเบียบค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้น โครงการเหล่านี้ก็จะลงไปที่รุ่นพี่เป็นหลัก แต่ภาพโดยรวมแล้วก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี”
หากจะวัดผลสำเร็จของโครงการคงจะทำได้ยาก แต่สิ่งที่มหาวิทยาลัยต่างมุ่งหวังนั่นก็คือ “การปลูกฝังค่านิยม และความตระหนักรู้” ให้กับนิสิต-นักศึกษาเป็นส่วนใหญ่ หรือในบางคณะก็อาจปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในสายวิชาชีพแล้วการแต่งกายก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งไม่ว่ามหาวิทยาลัยของรัฐบาลหรือเอกชน จะมีกฎและข้อบังคับที่ค่อนข้างเคร่งครัด อย่าง คณะแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล ก็ต้องแต่งกายให้ถูกระเบียบเป็นส่วนใหญ่ หรือในบางมหาวิทยาลัยที่ขอออกตัวเก๋ๆ ว่า “ศิลปากรไม่เป๊ะ...แต่ identity ชัดเจน”
นักศึกษาศิลปากรภาพลักษณ์ส่วนใหญ่จะมองว่าเป็น “เด็กติสท์” ในความถูกระเบียบอาจจะไม่เป๊ะนัก การที่ทางมหาวิทยาลัยจะลงไปทำความเข้าใจกับนักศึกษาในแต่ละคณะอาจจะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีความแตกต่างกันชัดเจน อย่างคณะโบราณคดี นักศึกษาจะส่วนใหญ่จะใส่กระโปรงยาวคลุมเข่า หรือคณะอักษรศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ก็จะกำหนดเลยว่าต้องเป็นกระโปรงพีชคลุมเข่า รองเท้าผ้าใบสีขาว หรือเด็กๆ ในคณะที่เกี่ยวกับศิลปะ การแต่งชุดนักศึกษาไปทำงานศิลปะก็อาจจะทำให้ดูเลอะเทอะ ตรงนี้ทางอาจารย์แต่ละรายวิชาก็อาจจะมีข้อยกเว้นเรื่องการแต่งกายได้
ในส่วนของมหาวิทยาลัยรังสิตเองก็เน้นไปที่การปลูกจิตสำนึกให้กับนักศึกษาเช่นกัน โดยตระหนักถึงภัยคุกคามต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับนักศึกษาหญิงที่แต่งกายไม่เรียบร้อย ว่า “การแต่งกายที่โป๊จนเกินไปของนักศึกษา เป็นต้นเหตุของการเกิดอาชญากรรม บางครั้งการรณรงค์ด้วยสื่อใดวิธีการใด ไม่ว่าจะเป็นป้าย เด็กก็แค่มองแล้วก็ผ่านไป แต่มันต้องสร้างจิตสำนึกว่าจะต้องระวังตัวเอง ทางมหาวิทยาลัยรังสิตจึงมีนโยบายให้อาจารย์ที่ปรึกษาคอยดูแลใกล้ชิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง”
นักศึกษาศิลปากรภาพลักษณ์ส่วนใหญ่จะมองว่าเป็น “เด็กติสท์” ในความถูกระเบียบอาจจะไม่เป๊ะนัก การที่ทางมหาวิทยาลัยจะลงไปทำความเข้าใจกับนักศึกษาในแต่ละคณะอาจจะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีความแตกต่างกันชัดเจน อย่างคณะโบราณคดี นักศึกษาจะส่วนใหญ่จะใส่กระโปรงยาวคลุมเข่า หรือคณะอักษรศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ก็จะกำหนดเลยว่าต้องเป็นกระโปรงพีชคลุมเข่า รองเท้าผ้าใบสีขาว หรือเด็กๆ ในคณะที่เกี่ยวกับศิลปะ การแต่งชุดนักศึกษาไปทำงานศิลปะก็อาจจะทำให้ดูเลอะเทอะ ตรงนี้ทางอาจารย์แต่ละรายวิชาก็อาจจะมีข้อยกเว้นเรื่องการแต่งกายได้
ในส่วนของมหาวิทยาลัยรังสิตเองก็เน้นไปที่การปลูกจิตสำนึกให้กับนักศึกษาเช่นกัน โดยตระหนักถึงภัยคุกคามต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับนักศึกษาหญิงที่แต่งกายไม่เรียบร้อย ว่า “การแต่งกายที่โป๊จนเกินไปของนักศึกษา เป็นต้นเหตุของการเกิดอาชญากรรม บางครั้งการรณรงค์ด้วยสื่อใดวิธีการใด ไม่ว่าจะเป็นป้าย เด็กก็แค่มองแล้วก็ผ่านไป แต่มันต้องสร้างจิตสำนึกว่าจะต้องระวังตัวเอง ทางมหาวิทยาลัยรังสิตจึงมีนโยบายให้อาจารย์ที่ปรึกษาคอยดูแลใกล้ชิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง”
ความเข้มงวดที่แตกต่างของ ‘รัฐบาลและเอกชน’
หลายครั้งที่เราพยายามหาคำตอบถึงภาพลักษณ์และข้อแตกต่างระหว่างนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน และรัฐบาล ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะมองว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนแต่งกายชุดนักศึกษาสไตล์แฟชั่น ที่รัดติ้ว กระโปรงสั้น มากกว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐบาล จนถึงกับแยกได้เลยว่า นี่คือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยใด แต่จากการได้สอบถามไปยังอาจารย์และผู้ดูแลเกี่ยวกับกิจการนักศึกษาโดยตรง ทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งมีมาตรการในการควบคุมเรื่องเครื่องแต่งกายของนักศึกษาที่เข้มงวดในระดับหนึ่ง นอกจากโครงการรณรงค์แล้ว หลายมหาวิทยาลัยยังมีอาจารย์ฝ่ายวินัยคอยเดินตรวจ และหักคะแนนนักศึกษา เริ่มต้นจากการตักเตือน และตัดคะแนนความประพฤติในที่สุด
หลายครั้งที่เราพยายามหาคำตอบถึงภาพลักษณ์และข้อแตกต่างระหว่างนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน และรัฐบาล ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะมองว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนแต่งกายชุดนักศึกษาสไตล์แฟชั่น ที่รัดติ้ว กระโปรงสั้น มากกว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐบาล จนถึงกับแยกได้เลยว่า นี่คือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยใด แต่จากการได้สอบถามไปยังอาจารย์และผู้ดูแลเกี่ยวกับกิจการนักศึกษาโดยตรง ทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งมีมาตรการในการควบคุมเรื่องเครื่องแต่งกายของนักศึกษาที่เข้มงวดในระดับหนึ่ง นอกจากโครงการรณรงค์แล้ว หลายมหาวิทยาลัยยังมีอาจารย์ฝ่ายวินัยคอยเดินตรวจ และหักคะแนนนักศึกษา เริ่มต้นจากการตักเตือน และตัดคะแนนความประพฤติในที่สุด
ด้าน ผศ.ดร.วันวร จะนู ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ม.ธุรกิจบัณฑิต กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเอกชนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากกว่ามหาวิทยาลัยรัฐบาลเสียอีก เพราะว่ามหาวิทยาลัยเอกชนต้องห่วงภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยของรัฐบาลหลายแห่งอาจไม่จำเป็น ดูจากมหาวิทยาลัยเอกชนอื่นๆ เขาจะให้ความสำคัญกับเรื่องการแต่งกายของนักศึกษามาก มีมาตรการต่างๆ มากมาย ยกตัวอย่างผมเองที่เคยเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐบาลก็ไม่เคยมีการรณรงค์เรื่องนี้เท่าไหร่นัก เราก็แต่งกายค่อนข้างอิสระมากกว่า”
ตรงกันข้ามกับมหาวิทยาลัยรัฐบาลที่คนส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจในภาพลักษณ์ของนักศึกษาที่ออกมา แต่กลับพบว่า หลายมหาวิทยาลัยไม่ได้มีมาตรการที่เข้มงวด แต่ให้เหตุผลของความแตกต่างว่า การจะมองว่ามหาวิทยาลัยเอกชนแต่งกายผิดระเบียบมากกว่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด เพราะมหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งก็ได้มีมาตรการหรือโครงการรณรงค์เรื่องเครื่องแต่งกายเช่นเดียวกัน แต่อาจเป็นเพราะทัศนะคติที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่แรก อ.ลัดดาวัลย์ ผิวทองงาม รองจาก มศว. ได้อธิบายถึงความแตกต่างนี้ว่า
“อาจจะมีเรื่องของค่านิยมของตัวเด็กอยู่แล้วก่อนที่จะเลือกเข้าไปศึกษา มีทัศนะคติมุมมองกับเรื่องนี้ยังไง อย่าง มศว. ที่เป็นมหาลัยรัฐบาลส่วนใหญ่ก็จะมีแต่เด็กต่างจังหวัดที่สอบตรง เด็กที่แอดมิชชั่นเข้ามา ซึ่งเด็กเหล่านี้ก็อาจจะมีทัศนะคติที่ติดตัวมาพื้นๆ ไม่หวือหวา ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยเอกชนดังๆ เด็กก็ต้องมีฐานะหน่อย ก็อาจจะมีมุมมอง และทัศนคติอีกแบบหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้เข้มงวดมาก ถือว่าปานกลาง มีเพียงการกล่าวตักเตือนเท่านั้น ส่วนใหญ่เด็กๆ ก็จะรู้กันเองมากกว่า”
เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยศิลปากรที่มองเรื่องค่านิยมที่ติดตัวนักศึกษามาก็มีส่วนสำคัญในเรื่องการแต่งกายแต่ส่วนที่สำคัญและหล่อหลอมให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐบาลส่วนใหญ่มีทัศนะคติและค่านิยมไปในทิศทางเดียวกันนั่นก็คือ การดูแลจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง โดยเริ่มหล่อหลอมตั้งแต่ปี 1 ที่ได้เข้ามาให้น้องๆ ได้รับรู้ถึงค่านิยมของมหาวิทยาลัยหรือคณะนั้นๆ ด้วยเช่นกัน
“ส่วนสำคัญที่ช่วยหล่อหลอมค่านิยมเหล่านี้ เริ่มมาตั้งแต่ปี 1 ความเป็นปัจเจคที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลายจะถูกหลอมละลาย ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณกิจกรรมนักศึกษาที่มีส่วนช่วย พี่ๆ ก็มีส่วนช่วยให้น้องสามารถปรับตัวได้เมื่อเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัย อย่างวิทยาเขตเพชรบุรีที่นักศึกษาปี 1 ส่วนใหญ่ต้องมาอยู่หอใน พี่ๆ ก็จะมีส่วนช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด สังคมที่อยู่ก็จะมีแต่รุ่นพี่ อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย ไม่มีคนนอกอยู่ นั่นจึงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปแต่งกายวาบหวิว”
“ส่วนสำคัญที่ช่วยหล่อหลอมค่านิยมเหล่านี้ เริ่มมาตั้งแต่ปี 1 ความเป็นปัจเจคที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลายจะถูกหลอมละลาย ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณกิจกรรมนักศึกษาที่มีส่วนช่วย พี่ๆ ก็มีส่วนช่วยให้น้องสามารถปรับตัวได้เมื่อเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัย อย่างวิทยาเขตเพชรบุรีที่นักศึกษาปี 1 ส่วนใหญ่ต้องมาอยู่หอใน พี่ๆ ก็จะมีส่วนช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด สังคมที่อยู่ก็จะมีแต่รุ่นพี่ อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย ไม่มีคนนอกอยู่ นั่นจึงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปแต่งกายวาบหวิว”
“ตระหนักรู้…แต่ยากที่จะปฏิบัติตาม”
แม้ปัจจุบันจะยังมีชุดนักศึกษาแบบผิดระเบียบตามแฟชั่นให้เราได้พบเห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นส่วนน้อยจากมหาวิทยาลัยรัฐบาล หรือครึ่งๆ จากมหาวิทยาลัยเอกชน แต่ส่วนลึกๆ แล้วนิสิต-นักศึกษาส่วนใหญ่ตระหนักรู้ถึงประโยชน์และโทษของการแต่งกายผิดระเบียบ หรือวาบหวิว จนเกินขอบข่ายของชุดนักศึกษา รู้ว่าการแต่งโป๊จนเกินไปอาจนำมาซึ่งอาชญากรรมทางเพศได้ จากมุมมองของตัวนักศึกษาเองต้องบอกเลยว่า “ตระหนักรู้ แต่ก็ยากที่จะปฏิบัติตาม” ส่วนใหญ่เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งที่มหาวิทยาลัย และสิ่งที่อาจารย์กำลังสื่อสาร แต่การเข้าใจและรู้ว่าระเบียบของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร กับการปฏิบัติบางทีมันก็เป็นไปได้ยาก
แม้ปัจจุบันจะยังมีชุดนักศึกษาแบบผิดระเบียบตามแฟชั่นให้เราได้พบเห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นส่วนน้อยจากมหาวิทยาลัยรัฐบาล หรือครึ่งๆ จากมหาวิทยาลัยเอกชน แต่ส่วนลึกๆ แล้วนิสิต-นักศึกษาส่วนใหญ่ตระหนักรู้ถึงประโยชน์และโทษของการแต่งกายผิดระเบียบ หรือวาบหวิว จนเกินขอบข่ายของชุดนักศึกษา รู้ว่าการแต่งโป๊จนเกินไปอาจนำมาซึ่งอาชญากรรมทางเพศได้ จากมุมมองของตัวนักศึกษาเองต้องบอกเลยว่า “ตระหนักรู้ แต่ก็ยากที่จะปฏิบัติตาม” ส่วนใหญ่เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งที่มหาวิทยาลัย และสิ่งที่อาจารย์กำลังสื่อสาร แต่การเข้าใจและรู้ว่าระเบียบของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร กับการปฏิบัติบางทีมันก็เป็นไปได้ยาก
โดยเฉพาะกับเด็กนักเรียนนักศึกษาสมัยที่เรียกว่า “Gen Y และ Gen Z” จะมีความเข้าใจว่า การแต่งกายให้ถูกระเบียบหรือสุภาพเรียบร้อยเหล่านี้ “มันไม่เกี่ยวกับการเรียน” ซึ่งถ้าเป็นคำพูดพวกนี้ในยุคสมัยที่เรากำลังเรียนหนังสือก็มักจะถูกอธิบายแบบนี้เหมือนกัน แต่อย่างกรณีการเข้าสอบมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่กลับพบว่า นักศึกษาแต่งกายมาเข้าสอบอย่างถูกระเบียบ เพราะรู้ว่าถ้าไม่แต่งมาก็จะไม่ได้เข้าห้องสอบตามกฎที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้
นางสาวช่อขวัญ วงศ์สุวรรณ์ นักศึกษาชั้นปี 3 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวถึงโครงการรณรงค์เรื่องเครื่องแต่งกายของนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยได้ทำการรณรงค์มานานแล้วแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนใหญ่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต จะแต่งกายผิดระเบียบถึงครึ่งต่อครึ่ง และมีทั้งผิดแบบชุดไปรเวท กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ และผิดระเบียบในชุดนักศึกษาที่รัดและสั้นจนเกินไป ปัจจุบันไม่มีใครมองว่าเครื่องแบบนักศึกษาคือยูนิฟอร์ม แต่มันคือแฟชั่น การใส่ชุดไปรเวทก็ไม่เซ็กซี่เท่ากับชุดนักศึกษา
“ฉันแต่งกายสุภาพไม่สุภาพ โป๊ไม่โป๊มันเกี่ยวอะไร ก็ตัวของฉันไม่มีผลกับการเรียน”
“เครื่องแบบนักศึกษาที่ถูกต้องตามระเบียบเป๊ะ นั้นเชยมาก เสื้อตัวโคร่งหรือกระโปรงยาวคลุมเข่า บางครั้งใส่แล้วก็ไม่เหมาะกับตัวเรา มันดูไม่สวยงาม ยอมรับว่าก็ไม่สามารถแต่งกายให้ถูกระเบียบเป๊ะได้ แต่นักศึกษาทุกคนก็รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรแต่งกายถูกระเบียบ อย่างเวลาเข้าสอบหรือไปติดต่อธุระที่มหาวิทยาลัยเราก็ต้องให้เกียรติสถานที่ด้วยเช่นกัน”
ถ้าไม่แต่งกายให้ถูกระเบียบมหาวิทยาลัยเป๊ะๆ ก็ควรใส่รองเท้าผ้าใบ ไม่ใช่ใส่รองเท้าแตะ ถ้าเป็นผู้หญิงก็ใส่เสื้อที่มิดชิด ไม่รัดติ้ว หรือกระโปรงไม่สั้นเกินไป ส่วนผู้ชายก็ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ค่อนข้างมีอิสระและเสรีมากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเรื่องของเครื่องแบบนักศึกษา โดยนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศักรินทร์ ไกรสิทธิ์ ก็ได้กล่าวถึงความเป็นเนเจอร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า แต่งตัวตามสบายได้แต่ก็ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ว่าจะต้องเป็นชุดสุภาพ ถ้าคิดจะใส่ชุดนักศึกษาแต่เป็นเสื้อรัดรูป กระโปรงสั้นๆ ให้ใส่เป็นชุดอะไรก็ได้แต่เป็นชุดที่สุภาพจะดีกว่า
“ในส่วนตัวผมคิดว่าชุดนักศึกษาเป็นชุดที่น่ารักนะครับ ถ้าใครใส่ชุดนักศึกษาเข้าไปเรียนอาจารย์ก็คงจะเอ็นดู อีกอย่างคือชุดนักศึกษาจำเป็นมากในงานพิธีการต่างๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นความเป็นระเบียบ ความสุภาพ และถูกกาลเทศะ ผมคิดว่านักศึกษาทุกคนรู้ว่าเราควรใส่ชุดอะไร เวลาไหน วิชาอะไรที่เราควรใส่ชุดนักศึกษา หรือไปรเวทได้”
หากถามว่าชอบไหมกับการที่จะต้องแต่งเครื่องแบบนักศึกษาก็คงจะมีทั้ง 2 คำตอบให้เราได้ยินนั่นก็คือ ทั้งชอบและไม่ชอบ ส่วนใหญ่ก็จะให้เหตุผลว่า ชอบเพราะไม่ต้องมานั่งคิดว่าวันนี้จะใส่อะไรไปเรียน แค่หยิบชุดนักศึกษามารีดแล้วก็ใส่ไป ส่วนคนที่บอกว่าไม่ชอบแต่งชุดนักศึกษา ก็จะมีเหตุผลว่า อยากแต่งชุดที่สวยงาม ตามกระแส มีเทรน ถ้าเลือกได้ก็อยากใส่ไปรเวทมากกว่า แต่พอถึงเวลาถ้ามีอาจารย์ตรวจ หรือมีสอบ นักศึกษาส่วนใหญ่ก็จะปฏิบัติตามแต่โดยดี
“ในส่วนตัวผมคิดว่าชุดนักศึกษาเป็นชุดที่น่ารักนะครับ ถ้าใครใส่ชุดนักศึกษาเข้าไปเรียนอาจารย์ก็คงจะเอ็นดู อีกอย่างคือชุดนักศึกษาจำเป็นมากในงานพิธีการต่างๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นความเป็นระเบียบ ความสุภาพ และถูกกาลเทศะ ผมคิดว่านักศึกษาทุกคนรู้ว่าเราควรใส่ชุดอะไร เวลาไหน วิชาอะไรที่เราควรใส่ชุดนักศึกษา หรือไปรเวทได้”
หากถามว่าชอบไหมกับการที่จะต้องแต่งเครื่องแบบนักศึกษาก็คงจะมีทั้ง 2 คำตอบให้เราได้ยินนั่นก็คือ ทั้งชอบและไม่ชอบ ส่วนใหญ่ก็จะให้เหตุผลว่า ชอบเพราะไม่ต้องมานั่งคิดว่าวันนี้จะใส่อะไรไปเรียน แค่หยิบชุดนักศึกษามารีดแล้วก็ใส่ไป ส่วนคนที่บอกว่าไม่ชอบแต่งชุดนักศึกษา ก็จะมีเหตุผลว่า อยากแต่งชุดที่สวยงาม ตามกระแส มีเทรน ถ้าเลือกได้ก็อยากใส่ไปรเวทมากกว่า แต่พอถึงเวลาถ้ามีอาจารย์ตรวจ หรือมีสอบ นักศึกษาส่วนใหญ่ก็จะปฏิบัติตามแต่โดยดี
เครื่องแบบ…ไม่มีผลต่อการเรียนเก่งหรือไม่เก่ง
จากความเห็นของนักศึกษาส่วนใหญ่ในเรื่องทัศนะคติเกี่ยวกับเครื่องแบบนักศึกษา ให้ความหมายตรงกันว่า ไม่ว่าพวกเขาจะแต่งกายอย่างไรก็ไม่มีผลกับการเรียนอย่างแน่นอน เครื่องแบบนักศึกษาไม่ได้ทำให้พวกเขาเรียนเก่งขึ้น หรือแย่ลง สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงองค์ประกอบภายนอก และถึงแม้ว่าเครื่องแบบนักศึกษาจะไม่มีผลต่อการเรียนก็จริง แต่ทุกคนก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า“เครื่องแบบนักศึกษา คือ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย”
ในมุมมองของนักศึกษาธรรมศาสตร์ เห็นด้วยว่า “การแต่งกายอย่างไรก็ไม่มีผลกับการเรียน เรามีหน้าที่มาเรียนเราก็ต้องโฟกัสที่การเรียนเป็นหลัก ไม่ได้สนใจว่าเราต้องแต่งกายอย่างไร สวยงาม หล่อ เท่ห์ เข้ามาเรียน แต่งตัวตามสบาย และเหมาะสมกับบริบทของการเรียน แต่ถ้าแต่งตามสบายแต่ดูไม่สุภาพ ก็ไม่เห็นด้วย เราจึงได้มีการรณรงค์ให้แต่งกายในชุดสุภาพเข้าไปเรียน เพราะว่ามันก็เป็นการให้เกียรติกับสถาบัน อาจารย์ผู้สอน และที่สำคัญก็เป็นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน”
จากความเห็นของนักศึกษาส่วนใหญ่ในเรื่องทัศนะคติเกี่ยวกับเครื่องแบบนักศึกษา ให้ความหมายตรงกันว่า ไม่ว่าพวกเขาจะแต่งกายอย่างไรก็ไม่มีผลกับการเรียนอย่างแน่นอน เครื่องแบบนักศึกษาไม่ได้ทำให้พวกเขาเรียนเก่งขึ้น หรือแย่ลง สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงองค์ประกอบภายนอก และถึงแม้ว่าเครื่องแบบนักศึกษาจะไม่มีผลต่อการเรียนก็จริง แต่ทุกคนก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า“เครื่องแบบนักศึกษา คือ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย”
ในมุมมองของนักศึกษาธรรมศาสตร์ เห็นด้วยว่า “การแต่งกายอย่างไรก็ไม่มีผลกับการเรียน เรามีหน้าที่มาเรียนเราก็ต้องโฟกัสที่การเรียนเป็นหลัก ไม่ได้สนใจว่าเราต้องแต่งกายอย่างไร สวยงาม หล่อ เท่ห์ เข้ามาเรียน แต่งตัวตามสบาย และเหมาะสมกับบริบทของการเรียน แต่ถ้าแต่งตามสบายแต่ดูไม่สุภาพ ก็ไม่เห็นด้วย เราจึงได้มีการรณรงค์ให้แต่งกายในชุดสุภาพเข้าไปเรียน เพราะว่ามันก็เป็นการให้เกียรติกับสถาบัน อาจารย์ผู้สอน และที่สำคัญก็เป็นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน”
ด้าน นายภานุพงศ์ เงาะลำดวน นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ม.ศิลปากร ได้แสดงความคิดเห็นต่อความสำคัญของเครื่องแบบนักศึกษาว่า แม้การใส่เครื่องแบบจะไม่มีผลกับการเรียนก็จริง แต่มันแสดงถึงภาระหน้าที่ที่เรากำลังดำเนินอยู่ในขณะนั้น
“เครื่องแบบก็เหมือนกับการใส่หัวโขนอย่างหนึ่ง ในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมปกติ เดินปนกันไปปนกันมา เราจะรู้ไหมว่าใครเป็นโจร ใครเป็นตำรวจถ้าเขาไม่ใส่ยูนิฟอร์ม เราจะรู้ไหมว่าใครเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และเราจะรู้ไหมว่าใครเป็นนักศึกษาเหมือนเรา? คุณจะไม่รู้อะไรเลยถ้าไม่จำแนกกลุ่มคนพวกนี้ออกมา แต่ถ้าถามว่ามันเป็นการบังคับให้เขาต้องทำตามไหม อันนี้มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่เขาต้องเรียนรู้และเลือกเพื่อตัวของเขาเองมากกว่า”
การที่นักศึกษาจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยใดก็ตาม นอกจากความรู้ที่ได้ตักตวงออกไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะต้องได้ไปนั่นก็คือทักษะทางสังคม ถ้ามีความรู้อย่างเดียวแต่ไม่รู้จักมารยาททางสังคมเลย มันก็เท่ากับว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” อย่างเรื่องการแต่งกายก็เป็นเรื่องของกาลเทศะ ต้องรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ถ้าอยู่ในมหาวิทยาลัยสถานะคือนิสิต-นักศึกษา จะต้องรู้ว่าควรจะแต่งตัวอย่างไร ตราบใดที่ยังมีเข็มและตรามหาวิทยาลัยติดอยู่ที่หน้าอก พวกคุณคือ “ภาพลักษณ์” ของมหาวิทยาลัย ที่ไม่ใช่เรียบร้อยอยู่ภายในรั้วของมหาวิทยาลัยเท่านั้น เวลาออกไปข้างนอกก็ควรที่จะรักษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน.
“เครื่องแบบก็เหมือนกับการใส่หัวโขนอย่างหนึ่ง ในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมปกติ เดินปนกันไปปนกันมา เราจะรู้ไหมว่าใครเป็นโจร ใครเป็นตำรวจถ้าเขาไม่ใส่ยูนิฟอร์ม เราจะรู้ไหมว่าใครเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และเราจะรู้ไหมว่าใครเป็นนักศึกษาเหมือนเรา? คุณจะไม่รู้อะไรเลยถ้าไม่จำแนกกลุ่มคนพวกนี้ออกมา แต่ถ้าถามว่ามันเป็นการบังคับให้เขาต้องทำตามไหม อันนี้มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่เขาต้องเรียนรู้และเลือกเพื่อตัวของเขาเองมากกว่า”
การที่นักศึกษาจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยใดก็ตาม นอกจากความรู้ที่ได้ตักตวงออกไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะต้องได้ไปนั่นก็คือทักษะทางสังคม ถ้ามีความรู้อย่างเดียวแต่ไม่รู้จักมารยาททางสังคมเลย มันก็เท่ากับว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” อย่างเรื่องการแต่งกายก็เป็นเรื่องของกาลเทศะ ต้องรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ถ้าอยู่ในมหาวิทยาลัยสถานะคือนิสิต-นักศึกษา จะต้องรู้ว่าควรจะแต่งตัวอย่างไร ตราบใดที่ยังมีเข็มและตรามหาวิทยาลัยติดอยู่ที่หน้าอก พวกคุณคือ “ภาพลักษณ์” ของมหาวิทยาลัย ที่ไม่ใช่เรียบร้อยอยู่ภายในรั้วของมหาวิทยาลัยเท่านั้น เวลาออกไปข้างนอกก็ควรที่จะรักษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน.
Credit Manager
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น