วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รู้จักไหม "การศึกษาตลอดชีวิต" ป.ตรี ชื่อนี้แห่งเดียวในไทย


สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต ชื่อสาขาแปล๊กแปลก ในคณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ต้องมีน้องๆ ชาว Dek-D ตั้งกระทู้ถามทุกปีว่าคือสาขาอะไร นี่ต้องเรียนกันไปตลอดชีวิต ไม่มีจบเลยไหมเนี่ย  วันนี้พี่เกียรติได้ไปขอข้อมูลจากรุ่นพี่ผู้เรียนจริงมาแล้ว พี่เขาก็เรียนจบแล้วนะ ไม่ได้เรียนไปตลอดชีวิตไม่จบเสียทีแต่อย่างใด ฮ่าๆๆ สาขานี้อยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ แต่เรียน 4 ปีค่ะ


เด็กดีดอทคอม :: รู้จักไหม "การศึกษาตลอดชีวิต" ป.ตรี ชื่อนี้แห่งเดียวในไทย   
       สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพที่เข้าใจถึงการเรียนรู้ของคนเราทุกคน ว่าไม่ได้จบกันเพียงในโรงเรียน หรือแค่วัยเรียนเท่านั้น แต่ทุกคนสามารถ "เรียน" กันได้ตลอดชีวิต จากทุกสถานในโลก ทุกแหล่งการเรียนรู้ ตามโอกาส ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม มีทั้งคนที่ขาดโอกาสในการเรียนได้เรียนเพิ่มพูน คนทำงานที่ต้องได้รับการอบรม นักเรียนที่ต้องออกไปเรียนรู้จากนอกห้องเรียน ฯลฯ  เรียกว่า เด็กจนชราขนาดไหน ก็ต้องเรียนรู้กันตลอดทั้งชีพนี้เลยค่ะ

          นักศึกษาในสาขานี้จึงมีความสามารถในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้แก่ทุกคนที่อยากจะรู้ คนที่อยากจะอบรม คนที่ต้องการการศึกษา ในโอกาส เวลา และสถานที่ที่เหมาะสม (ถ้าเป็นคุณครูก็จัดสอนกันในโรงเรียนใช่ไหมล่ะ แต่ชนชาวการศึกษาตลอดชีวิต จะเป็นนักกิจกรรมที่จัดกิจกรรมกันได้ทุกทีเลยล่ะ) 

         ดังนั้น นักศึกษาสาขานี้ก็จะต้องจัดกิจกรรมกัน เรียนทฤษฎีแล้ว ก็ต้องไปออกพื้นที่จริงสักหน่อย! (เห็นว่าปี 3 จะลงพื้นที่มากที่สุดล่ะ) แต่น้องๆ ไม่ต้องห่วงว่าต้องไปลุยโคลนออกป่ากันตลอดนะ เขาบอกว่าจัดกิจกรรมได้ทุกที่ ดังนั้นพิพิธภัณฑ์ วัด ที่ท่องเที่ยว ที่ทำงานของหน่วยงานไหนๆ ก็ไป(อาจ)ขอไปได้ อิอิ ได้รับประสบการณ์ไม่น้อยทีเดียว


ชาวการศึกษาตลอดชีวิตจะได้เรียนเรื่องรูปแบบการศึกษา ที่มีทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการเรียนรู้แบบต่างๆ ที่จัดทั้งในชุมชน ในหน่วยงาน และหลักการจัดกิจกรรมแก่กลุ่มคนวัยต่างๆ
          
        เมื่อจบไปสามารถประกอบอาชีพ นักวิชาการศึกษา นักจัดกิจกรรม ฝ่ายอบรมในหน่วยงาน นักทรัพยากรบุคคล และอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่แม้ว่าสาขานี้จะไม่ได้เน้นให้ไปเป็นครู แต่ก็สามารถเทียบโอนประสบการณ์ใบประกอบวิชาชีพครูได้ (เพราะโดยพื้นฐานแล้วต้องเรียนวิชาของคณะศึกษาศาสตร์นั่นเอง) แต่ต้องไปหาที่ฝึกสอนเองหลังเรียนจบ อย่างน้อย 1 ปีเช่นกัน โดยส่วนมากจึงไปทำงานอื่นๆ ในแนวนักกิจกรรมหรือเรียนต่อกันมากกว่าค่ะ 

เด็กดีดอทคอม :: รู้จักไหม "การศึกษาตลอดชีวิต" ป.ตรี ชื่อนี้แห่งเดียวในไทย


รายวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษา 
         "ในห้องเรียนอาจารย์ก็จะสอนว่าภูมิปัญญาคืออะไร เราจะไปศึกษาเรื่องภูมิปัญญาได้อย่างไร มีเทคนิคอะไรบ้างในการลงชุมชน เช่น วิธีพูดกับคนในชุมชน การเขียนแผนที่เดินดิน การเขียนผังชุมชน การทำปฏิทินฤดูกาล ผังเครือญาติ เป็นต้น หลังจากที่เราเรียนทฤษฎีแล้ว เราก็ต้องลงชุมชนเพื่อศึกษาเรื่องที่เราเสนออาจารย์ไว้ งานส่วนใหญ่จะเป็นวิชากลุ่มมากกว่า เพราะนักการศึกษาตลอดชีวิตมีหน้าที่อำนวยความสะดวก (facilitator) จึงต้องฝึกหลักความร่วมมือจากทุกคนในกลุ่ม บางกลุ่มก็ไปถึงลพบุรี เพชรบุรี จนเชียงใหม่ ตามแต่อยากจะไปกัน เวลาทำงานก็ใช้เวลาตั้งแต่ 3 วันจนเป็นสัปดาห์ก็มี ซึ่งก็ต้องมีการวางแผน ดูว่าจะต้องไปขอข้อมูลกับใครบ้าง จะกินอยู่ นอนหลับอย่างไร จะเดินทางอย่างไร ฯลฯ จนในที่สุดทำรายงานออกมาเป็นรูปเล่มที่สวยงาม งานในแต่ละวิชาของสาขา ก็จะมีขั้นตอนเรียนคล้ายๆ กันแบบนี้ ต่างแต่หลักทฤษฎีของวิชานั้นๆ..."

เด็กดีดอทคอม :: รู้จักไหม "การศึกษาตลอดชีวิต" ป.ตรี ชื่อนี้แห่งเดียวในไทย


      สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต: Lifelong Education เปิดสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เรียนที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ (ทับแก้ว) นครปฐม ตลอด 4 ปีค่ะ
         สาขาที่ใกล้เคียงคือ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พี่เกียรติว่าโดยหลักสูตรแล้ว น่าจะบอกว่าเป็นฝาแฝดกันก็ยังได้นะ อิอิ)



เป็นสาขาที่น่าสนใจใช่ไหมล่ะ 
การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตของชาวไทยทุกคน

สอบสัมภาษณ์ มศว: แฟ้มผลงานแบบไหน โดนใจกรรมการ!!



            สวัสดีครับ 
เป็นที่รู้กันดีว่า สอบสัมภาษณ์รับตรง มศว นั้นขึ้นชื่อมาก ว่าเป็นการสัมภาษณ์ที่ใช้ระบบ แพ้คัดออก นั้นหมายถึงใครไม่โดนใจก็จะถูกคัดออกทันที เหลือไว้ตามจำนวนที่รับจริงเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่แปลกที่คนมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ ต่างงัดทุกเทคนิคมาพิชิตใจกรรมการ ไม่ว่าจะเรื่องบุคลิก หรือแฟ้มผลงาน ว้าวว O_O

            วันนี้ตามคำเรียกร้องของชาว Dek-D พี่ลาเต้ ก็เลยมีเทคนิคการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในห้องสอบสัมภาษณ์ และการทำแฟ้มผลงาน Portfolio ให้ถูกใจกรรมการมาฝากกันครับ คัดเอาเฉพาะเด็ดๆ ของสอบสัมภาษณ์รับตรง มศว โดยเฉพาะ จะมีอะไรไปดูกันเลย

 วิธีแก้ปัญหาเมื่อตอบคำถามไม่ได้
            
ในการสอบสัมภาษณ์แต่ละคณะของ มศว คงไม่มีสูตรไหนที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าเราจะโชคดีเจอคณะกรรมการท่านไหน บางท่านดูแค่การแต่งกายก็ให้ผ่าน บางท่านต้องขอฟังเสียงดูสติปัญญาความคิดความอ่านกันซักหน่อย แต่ทั้งหมดทั้งมวลการสอบสัมภาษณ์ ก็ต้องมีการพูดคุย และซักถาม แต่หากเราไปเจอคำถามที่เราตอบไม่ได้ เราจะทำยังไง

            คำถามที่อาจารย์ถามผมมา ผมไม่แน่ใจในข้อมูลครับ แต่ผมสัญญาครับว่า หากผมได้มาเป็นลูกศิษย์อาจารย์ที่สถาบันแห่งนี้ ผมจะหาคำตอบมาให้อาจารย์ให้ได้ครับ นี่เป็นประโยคที่ใช้แก้ขัด หรือประโยคแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่ดีที่สุด ในกรณีที่คณะกรรมการท่านโยนคำถามมา แต่เราไม่รู้

            หลายๆ คนที่เจอยิงคำถามแบบนี้แล้วตอบไม่ได้ ก็มักจะพุ่งคำตอบกลับไปเลยว่า ไม่ทราบครับ ไม่รู้ครับ แต่หากเปลี่ยน คำนั้นเป็น ไม่แน่ใจครับ หรือไม่มั่นใจในข้อมูลครับ ภาพลักษณ์ของเราก็จะดูดีขึ้นมาอีกเยอะเลยหละ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องตอบเหตุผลไปด้วยนะครับ ไม่ใช่ไม่แน่ใจแล้วจบเลย

เด็กดีดอทคอม :: สอบสัมภาษณ์ มศว: แฟ้มผลงานแบบไหน โดนใจกรรมการ!!

 ตัวช่วยเพื่อเพิ่มความมั่นใจในห้องสอบสัมภาษณ์

            แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้คณะกรรมการได้รู้จักเรามากขึ้น แต่จะเป็นคะแนน หรือไม่นั้นคงต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการด้วย การสอบสัมภาษณ์นั้นใจความสำคัญหลักๆ อยู่ที่ตัวตนของเราที่จะพูดจา และมีทักษะการนำเสนอตัวเองมากน้อยแค่ไหน แต่หากเราไม่พูดไม่เก่ง พูดไม่รู้เรื่อง ก็ควรที่จะมีตัวช่วยอย่าง แฟ้มสะสมผลงาน

            แฟ้มสะสมผลงานที่ดีนั้น ไม่ควรมีแต่ตัวหนังสือ หรือตัวอักษรบรรยายอย่างเดียวนะครับ เพราะคณะกรรมการท่านจะไม่ใส่ใจอ่านรายละเอียดต่างๆ อย่างแน่นอน กิจกรรมไหนที่เคยทำ หรือกิจกรรมไหนที่เคยเข้าร่วม หากมีรูปก็จัดการโพสลงไปเลยครับ แล้วค่อยอธิบายใกล้ๆ ว่างานนี้คือกิจกรรมอะไร ลองดูซิว่าในแฟ้มผลงาน 1 แฟ้ม จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับบบบ

1.หน้าปก
           ควรออกแบบให้สะดุดตาไปเลย แบบเห็นปุ๊บแล้วอยากหยิบขึ้นมาอ่านปั๊บ ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไปได้ นำเสนอตัวเองให้เต็มที่ แต่ที่สำคัญต้องเข้าใจง่าย และมีเนื้อหาครบถ้วน คือ เป็นของใคร ชั้นอะไร เรียนที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ฯลฯ (แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง) ส่วนนี้ถือเป็นหน้าตาด่านแรกของน้องๆ เลยนะครับ หากใครที่ไม่ค่อยมีไอเดียบรรเจิด ก็อย่าคิดมาก ก็เน้นทำแบบสะอาดๆ มีระเบียบก็น่าสนใจไม่น้อยครับ

2.ประวัติส่วนตัว
          นำเสนอตัวเองเต็มที่เช่นกันครับ ถ้าจะให้ดีขอแนะนำให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่เป็นภาษาไทย และชุดที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงความสามารถของตนให้แฟ้มดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเนื้อหาที่ใส่ไปก็แนะนำตัวไปเลย ชื่อ นามสกุล วันเกิด สุขภาพ นิสัย ความชอบ รวมถึงแนวคิด และความคาดหวังในอนาคตของเราที่ทำให้เขารู้จักตัวเรามากที่สุด ซึ่งจากหน้านี้แหละเขาจะรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร ส่วนฟอนท์ตัวหนังสือ พี่ลาเต้ แนะนำให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่มครับ โดยฟอนท์ที่ดูเรียบร้อยเป็นมืออาชีพ ก็จะมีพวก Angsana, Cordia เป็นต้น

 3.ประวัติการศึกษา
          ให้เขียนเรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุดมาจบที่ปัจจุบัน โดยเพื่อความแสดงศักยภาพในการเรียน และอาจจะบอกไปด้วยก็ได้ว่า แต่ละระดับที่เราเรียนมานั้นได้เกรดเฉลี่ยรวมเท่าไหร่ แต่หากใครที่ไม่มั่นใจเว้นไว้ก็ไม่เป็นไรครับ รายชื่อโรงเรียนก็เขียนให้เต็มยศเลยนะครับ ไม่ควรที่จะย่อ ส่วนระดับก็สามารถแยกเป็น ระดับประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้น

 4.รางวัล และผลงานที่ได้รับ
          เขียนเป็นลักษณะการเรียงลำดับได้เลยครับ โดยจะกำหนดเป็นปี พ.ศ. ก็จะน่าสนใจไม่น้อย เช่น พ.ศ. 2554 มีกิจกรรมอะไรบ้างที่เราเข้าร่วม หรือได้รับรางวัลเกียรติบัตรอะไรบ้าง หากกิจกรรมที่เราเข้าร่วม มีรูปประกอบด้วย ก็ลงในส่วนนี้ได้เลย ซึ่งส่วนที่เป็นรายชื่อรางวัลที่ได้รับ กับส่วนที่เป็นประมวลภาพควรจะอยู่คนละส่วนกัน ไม่ควรนำมาปนกันในหน้าเดียวกันครับ ซึ่งในส่วนนี้เขียนเป็นผลงาน พร้อมรูปประกอบเท่านั้นนะครับ อย่าเพิ่งใส่ประกาศนียบัตรลงไป ส่วนที่เป็นใบประกาศจะมีอีกส่วนหนึ่งอยู่ด้านท้ายครับ

 5.ผลงานที่ประทับใจ
           ส่วนนี้จะพิเศษมากกว่าผลงานทั่วไปครับ เพราะเป็นผลงานที่เราภาคภูมิใจ และประทับใจเต็มใจมากๆ ที่จะนำเสนอ ลักษณะการจัดการเขียนก็คล้ายๆ กับข้อก่อนหน้านี้ แต่สิ่งที่ควรเพิ่มควรจะมีการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบด้วยว่า ผลงานนี้เราภูมิใจอย่างไร เหนื่อยยากลำบากแค่ไหนกว่าจะได้มา ที่สำคัญอย่าลืมใส่รูปประกอบไปด้วย จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการดูไปด้วยครับ

6.กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน
           น้องๆ คนไหนที่เป็นประธานนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประธานชมรม หรือเครือข่ายกิจกรรมโรงเรียนต่างๆ ก็สามารถมานำเสนอได้ในส่วนนี้ครับ ส่วนใหญ่การทำกิจกรรมมักจะไม่มีประกาศนีบบัตร ซึ่งลักษณะการนำเสนอก็บอกไปเลยว่า ระดับ ม.1 ทำกิจกรรมอะไรบ้าง ม.2 ม.3 ม.4 ถึง ม.6ทำกิจกรรมอะไรบ้าง ตรงส่วนนี้จะรวมถึงการทำงานพิเศษ งานพาร์ทไทม์ก็ได้ ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการประมวลภาพกิจกรรมที่เราเคยทำ ข้อนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบ โดยหากใครมีเยอะ ย่อมเป็นที่สนใจของผู้อ่านมากๆ ครับ

 7.ผลงานตัวอย่าง
           หลายคนอาจจะบอกว่ามีความสามารถด้านจัดหน้า ออกแบบหนังสือ หรือผลงานด้านหัตถกรรม ก็มาสามารถนำมาใส่ตรงส่วนนี้ได้ รูปแบบการใส่ขอให้มาเป็นรูปภาพ ไม่ควรมาเป็นชิ้นงาน เพราะจะดูรกรุงรังไม่เป็นมืออาชีพครับ ในที่นี่อาจรวมถึงโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เราเคยทำไว้สมัยเรียนก็ได้ ปล.ไม่ต้องเซฟงานใส่ CD ไปให้กรรมการดูนะครับ เขาไม่มีเวลาเปิดดูหรอกคร้าบ

 8.ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ
           ในส่วนนี้แนะนำให้น้องๆ โชว์ความสามารถพิเศษของเราไปเลย อาจจะเป็นความสามารถพิเศษที่สอดคล้องกับคณะที่เราต้องการศึกษาต่อก็ได้ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือกีฬา ฯลฯ การเป็นพิธีกรหรือผู้นำเชียร์ ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษนะครับ

คณะที่บังคับต้องมี แฟ้มผลงาน ของสอบตรง มศว
          - คณะศิลปกรรมศาสตร์
          - วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม

 คณะที่ไม่ได้บังคับ แต่ควรมี แฟ้มผลงาน ของสอบตรง มศว
          - คณะศึกษาศาสตร์
          คณะพลศึกษา
            ปล. คณะอื่นๆ หากมีก็จะดีมากๆ

 ข้อควรจำก่อนไปสอบสัมภาษณ์สอบตรง มศว
          - นอกจากเอกสารที่จะต้องเอาไปให้ครบ อย่าลืมปากกา เพราะหากไม่มีจะชุลมุนมาก และหาซื้อ หรือหยิบยืมลำบาก
          - หากมีแฟ้มผลงานไป ทันทีที่เข้าห้องสัมภาษณ์ให้วางแฟ้มบนโต๊ะสอบเลย เพราะบางคณะ ทางกรรมการจะไม่ขอดู เราต้องนำเสนอเอง (โดยอาจจะปรึกษารุ่นพี่ๆ นิสิตที่มาดูแลพวกเราก่อนสอบสัมภาษณ์ก็ได้ว่า ควรจะนำเสนอแฟ้มผลงานอย่างไร)
          - เช็คให้ดีว่าคณะที่สอบติด สอบสัมภาษณ์ที่ไหน องค์รักษ์ หรือประสานมิตร เพราะ 2 ที่นี้ไกลกันมาก หากไปผิดคงไปอีกทีไม่ทันแน่ๆ

          ทั้งหมดนี้ก็เป็น เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ และขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน หรือ Portfolio นะครับ ทำขึ้นมาใครๆ ก็ทำได้ แต่ทำให้สวยน่าสนใจ ทำไม่ได้ทุกคนนะครับสุดท้ายนี้ พี่ลาเต้ ก็ขอฝากให้น้องๆ จงเน้นความเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด บางสิ่งในตัวเราที่เราคิดว่าไร้สาระ อาจจะน่าสนใจในสายตาคนอื่นๆ ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดี ผ่านข้อเขียน ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ในสนาม มศว ทุกคนคร้าบ

          สุดท้ายนี้ พี่ลาเต้ ปิดท้ายด้วย Clip Admission Reality ปี 2 ในตอน "แฟ้มผลงานของขวัญศรี เด็กศิลป์-จีน" ในแฟ้มของ พี่ขวัญ จะใส่อะไรอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

เลือกเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ พอจบมาเป็นปัญหาเลยค่ะ

ตอนนี้จบตรีบัญชีแล้วค่ะ ที่เรียนเพราะที่บ้านอยากให้เรียน เหตุผลคือหางานง่าย 

เราเคยขอเพื่อจะเรียนคณะที่เราชอบ แต่ก็โดนถามว่า "จบแล้วจะไปทำอะไร"

จนในที่สุดก็ต้องเรียนบัญชีค่ะ ก่อนเรียนยังเฉยๆไม่ได้อคติหรือต่อต้านกับบัญชี

แต่พอได้เรียนแล้วยากค่ะ กดดันมาก เพื่อนที่เรียนด้วยกันก็เก่งกันซะเหลือเกิน 

เวลาสอบเราตกมีนเป็นประจำ แต่ก็อดทนเรียนเพื่อให้ผ่านๆไปในแต่ละเทอม ไม่อยากย้าย major เพราะคิดว่าที่บ้านอยากให้เรียนก็เลย ทนเรียนให้ค่ะ

เกรดที่จบมาก็น้อยนิด ไม่ถึง 2.5  คือเอาพอผ่านจริงๆเลยค่ะ

จบมาไม่กี่เดือนนี้ เราก็ลองสมัครงานไป20กว่าที่ แล้วถูกเรียกสัมภาษณ์ไม่ถึง10ที่ อาจเป็นเพราะเกรดน้อย เลยทำให้ไม่เป็นที่น่าสนใจ

แต่เราเลือกไปสัมภาษณ์งานที่เดียว ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ต่างชาติที่เราสนใจ ฝ่ายHRให้เราทำเทสเกี่ยวบัญชีที่เรียนมา

เราถึงกับอึ้งเลยไม่คิดว่าจะถูกเทส แถมเราก็ทำไม่ได้เลยซักข้อเดียว  ยอมรับว่าความรู้บัญชีอ่อนมากค่ะ

ถ้าไปสมัครที่อื่นก็ต้องมีเทสแบบนี้อีกแน่ หรือไม่ก็สัมภาษณ์ความรู้บัญชี

(เคยมีอาจารย์ท่านนึงบอกว่า"ถึงจะจบบัญชี แต่ไม่จริงเสมอไปว่า จะมีงานทำทันที" ตอนแรกไม่เชื่อ ตอนนี้เชื่อเลยค่ะ)

ตอนนี้มาคิดได้ว่า ถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่ชอบ เราก็จะมีความสุขในการเรียน 

เรื่องที่ยากก็จะกลายเป็นสิ่งที่ท้าทายเรา เราอยากจะเอาชนะมัน เพราะว่าเราชอบและสนใจมันจริงๆ

และเราก็ทำมันได้ดีตามความสามารถของตัวเราเอง และเมื่อจบมา ถึงแม้ว่าตลาดแรงงานของคณะที่จบมาจะน้อย
แต่เชื่อเถอะว่า หางานได้แน่นอน เพราะจากที่เราไปสมัครงานมา เค้าต้องการคนเก่ง และความเข้าใจในด้านนั้นๆ
ถ้าน้องๆคนไหน ที่โดนบังคับให้เรียนแบบพี่ บอกเหตุผล บอกความชอบ บอกความตั้งใจของเราให้ท่านฟัง
เพื่อนของพี่บางคน เลือกเรียนตามที่พ่อแม่สั่ง แต่สุดท้ายทนเรียนไม่ไหว ซิ่วตอนปี3 
คือเรื่องซิ่วไม่ใช่เรื่องผิด หรือสายจนเกินไป แต่ถ้าเราเลือกถูกไปตั้งแต่แรก เราจะไม่เสียเวลาและไม่เสียเงินไปเปล่าๆค่ะ
อีกนิดนึงนะคะ ที่พ่อแม่ทำแบบนี้เพราะความรักและเป็นห่วงค่ะ ไม่ได้มีเจตนาจะทำร้ายความรู้สึกลูก
อันนี้เราเข้าใจดี และตอนนี้พ่อแม่เข้าใจเรามากขึ้น แล้วยังบอกอีกว่า ไม่คิดเลยว่าจะเป็นแบบนี้ไปได้
ในใจลึกๆของพ่อแม่เรา คงจะโทษตัวเอง .. แต่สำหรับเราตอนนี้ ในเมื่อมันแก้ไขอะไรไม่ได้ ก็ต้องเดินหน้าค่ะ
เป็นกำลังใจให้น้องที่จะแอดมิชชั่นปีนี้ทุกคนค่ะ
credit:dekd

ชีวิต "มัธยม"กับ "มหาวิทยาลัย" ต่างกันตรงไหน

อยู่ ๆ พี่ก็อยากเขียนบทนี้ขึ้นมา
เพราะคิดว่าน้อง ๆ ต้องสงสัยแน่นอนเลยช่ายยยป้ะ
ว่าเอ๊....ทำไมใครๆ ถึงพูดว่าชีวิตมหาวิทยาลัย มันไม่เหมือนชีวิตมัธยมเลย

พอพี่ได้มาอยู่มหาลัยจริงๆซึ่งนับถึงตอนนี้ก็ประมาณสองเดือนกว่าๆแล้ว
พี่ก็เริ่มเข้าใจ...ว่าทำไม อะไร อย่างไร เพราะอย่างนี้นี่เองง
!?!?!?

พูดในฐานะคนที่พ้นชีวิตมัธยมมา
ชีวิตมหาลัยไม่เหมือนกับชีวิตมัธยมจริงๆค่ะ
อย่างแรกที่สำคัญเลยคือ "อิสระ" ที่หาได้ยากจากชีวิตมัธยม
ไม่มีใครมาคอยคุม มาคอยจี้ว่าเสื้อออกนอกกางเกง
(ยกเว้นอ.บางคนจริงๆ ซึ่งเน้นว่าอาจจะเฉพาะคณะแพทย์)
จะเดินทางไปไหน จะกลับ จะมาเรียน จะโดด
ไม่มีใครว่า คุณรับผิดชอบชีวิตของคุณเอง
...แต่พี่ชอบนะ และพี่ก็พบว่าเพื่อนพี่ส่วนใหญ่ก็ชอบ

สิ่งต่อมาที่พี่เห็นคือ อย่างตอนมัธยมเราจะมีโรงอาหารเดียว
พักเที่ยงทีก็พักกันหลายระดับชั้น ก็ต้องวิ่งเอาของมาจอง
ปากกาเอย กระเป๋าเอย หรือของต่างๆไว้จองที่นั่งกินข้าว
แต่สำหรับมหาลัย พี่ไม่เคยเจอบรรยากาศนี้เลย
สำหรับที่นี่คือจะมีหลายโรงอาหารมาก เราอยากกินที่ไหนก็กิน
ถ้าโรงไหนเต็ม ก็ไปกินอีกโรง หรือไม่ก็ไปนั่งแทรกที่ที่ยังว่างอยู่
อื้มม...

และสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ
อย่างตอนมัธยม เราจะเจอเพื่อนตั้งแต่เช้ายันเย็น
อยู่ห้องเดียวกัน พักเที่ยงด้วยกัน ตอนเย็นเผลอๆกลับทางเดียวกันอีก
แต่สำหรับมหาลัย จะเจอเป็นบางคน และไม่ได้เจอตลอดเวลายันเย็น
ซึ่งน่าจะโชคดีสำหรับคณะพี่เพราะทุกคนเรียนเหมือนกันหมด
ไม่มีการลงตารางเรียนเอง คือ เค้าจัดตารางเรียนมาให้แล้วอ่ะ
พี่ก็เลยยังอารมณ์คล้ายๆมัธยม นั่นคือจะเจอเพื่อนหน้าเดิมๆอยู่บ้างเกือบทั้งวัน
แต่ก็จะไม่ค่อยดีตรงที่มันจะมีบางคนที่เรียนคนละเซกกับเราหมดเลย
เราก็จะไม่ได้เจอ ไม่ได้คุย และก็ไม่ค่อยได้พูดจาสนิทสนมกันเท่าไหร่
ยังมีหลายคนที่ยังไม่ได้คุยเลย อื้มม..

พี่เคยคุยกับเพื่อนคณะอื่น ที่เค้าลงตารางเรียนเอง
เค้าบอกว่า ตอนนี้เค้าอยู่กับเพื่อนเก่าเค้าเกือบหมด
เพราะว่าเวลาเรียนแต่ละวิชานั้นเค้าไม่ได้เรียนกับคนหน้าซ้ำเลย
เค้าบอกว่าพอเริ่มจะสนิทกับคนคนนึง เค้าก็พบว่ามันหมดเวลา
ต้องเปลี่ยนคาบ ซึ่งไปเจอกับเพื่อนใหม่อีกแล้ว
ทำให้เค้าไม่มีเวลาสนิทสนมกับใคร ทำให้รู้สึกไม่ค่อยสนิทกับใครเลย

โหยฟังแล้วพี่เศร้าเลยอ่ะ T-T

ก่อนหน้านี้พี่เคยได้ยินนะ ที่คนอื่นๆเคยพูดมาว่า
สมัยมหาลัย เราจะมีเพื่อนเยอะมากกกกกกกก
แต่พอจบไปเพื่อนที่ยังคบกันอยู่จริงๆมีไม่กี่คน
คือพี่เข้าใจนะว่าทำไม
เพราะว่าเรามีโอกาสได้รู้จักกับคนเยอะ
แต่ไม่มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับตัวเค้าจริงๆ
คือได้รู้จักกันแค่ผิวเผินอ่ะ สุดท้ายแล้วเมื่อจากกันก็ไม่มีความผูกพันกันเท่าไหร่
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับคนด้วย คณะด้วยอ่ะ

อย่างคณะพี่มีโอกาสได้เจอคนหน้าเดิมๆซ้ำๆบ่อย
พี่ก็เลยสนิทกับเพื่อนที่คณะนะ 
แต่ยังไงพี่ก็สนิทกับเพื่อนที่มาจากมัธยมด้วยกันมากกว่า
ซึ่งตอนนี้เราจะรีบตัดสินอะไรก็เร็วเกินไปเพราะว่าพี่เพิ่งอยู่มาสองเดือนเอง
อื้มม

เค้าบอกว่าบางทีการใช้ชีวิตแบบเด็กมหาลัย ก็อาจจะมีการเหงาบ้างอะไรบ้าง
เพราะเราอาจจะไม่ได้อยู่กับเพื่อนตลอดเวลา
อย่างน้อยก็ระหว่างรอเจอเพื่อน หรือไม่ก้ระหว่างเดินทางกลับหอ
แต่พี่ไม่ค่อยเหงานะ อยู่ที่ใจเราเองด้วย
ถ้าเราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เราก็จะไม่เหงานะ
อาจจะเพราะพอพี่กลับมาหอ ก็เจอเพื่อนสมัยมัธยมที่เป็นเมดอีกสองคน
เอ๊ะบอกไปยัง พี่อยู่หอกับเพื่อนอีกสองคน ที่เป็นเด็กบัญชีกับถาปัด
นั่นละ แล้วก็เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ม.ต้น สนิทกัน
อยู่แล้วก็สบายใจ อาจจะเพราะรู้จักกันมานานเลยรู้ว่าแต่ละคนเป็นยังไง
มีอะไรก็บ่นให้กันฟัง เหมือนอย่างที่เป็นตอนมัธยมน่ะ
แล้วคือพี่อาจจะโชคดีที่ได้เพื่อนที่คณะดีด้วยอ่ะ
อะไรๆมันก็เลยโอเคอ่า


พี่ก็อยากฝากไว้ว่า
อย่าเพิ่งรีบด่วนสรุปตัดสินใจสิ่งใดๆไปจากสิ่งที่ได้ยินมา
เพราะบางทีสิ่งที่เราเจอมันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นเคยพูดเคยว่าไว้
ฟังไว้บ้างแต่ก็ไม่ใช่ยึดถือเอาไว้ซะหมด

สำหรับตอนนี้พี่ก็อยากจะบอกว่า
พี่ชอบชีวิตมหาลัยมากเลย
ส่วนชีวิตมัธยมก็คือความทรงจำส่วนหนึ่งที่ดีมากอีกเช่นกัน
^_____________^

ยังไงก็สู้ๆทุกคนนะคะ

credit:dekd

หนทางใหม่! สู่การเป็นหมอกับ "แพทย์ มศว + นอตติงแฮม"


 สวัสดีค่ะน้อง ๆ ชาว Dek-D ทุกคน พี่แป้ง เชื่อว่าน้อง ๆ ที่เข้ามาในบทความนี้ต้องตาลุกวาวแน่นอน เพราะว่ามีโครงการแพทย์เพิ่มขึ้นมาอีกแล้วววว เป็นแพทย์แบบ "โกอินเตอร์" ซะด้วย ไปไกลถึงอังกฤษ เมื่อโอกาสมาถึงก็ต้องบอกต่อซิค่ะ โครงการที่ว่านี้ก็คือ "โครงการร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร" รายละเอียดเป็นยังไงบ้าง ไปดูกันเลย -->......
เด็กดีดอทคอม :: หนทางใหม่! สู่การเป็นหมอกับ "แพทย์ มศว + นอตติงแฮม"


   >> น่ารู้หลักสูตร   
       ชื่อหลักสูตร :  หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
       เวลาเรียน :  6 ปี
       สถานที่เรียน :
          ชั้นปีที่ 1 - 3 เรียนที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศสหราชอาณาจักร
          ชั้นปีที่ 4 - 6 เรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 


   >> คุณสมบัติเฉพาะของผู้มีสิทธิ์สมัคร (ทั่วประเทศ)   
       - อายุไม่น้อยกว่า 17 ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2556)
       - สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 หรือเทียบเท่า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
         ดังนี้

     กลุ่มที่ 1 ม.6 หรือ เทียบเท่า สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เกรด 4 เทอมไม่ต่ำกว่า 3.00 (ถ้าจบแล้วคิดเกรด 6 เทอม) และต้องผ่านการทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ 
IELTS ประเภท Academic อย่างน้อยระดับ 7.00 โดยแต่ละทักษะ(ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) จะต้องไม่ตํ่ากว่าระดับ 6.5

     กลุ่มที่ 2 เรียนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยเทียบเท่าระดับชั้นม.6 ที่ได้รับการเปรียบเทียบหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ที่สามารถเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ได้จากกระทรวงศึกษาธิการโดยมีเงื่อนไขคือ มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่เกรด 10 ถึง เกรด 11 หรือ 12 ไม่ต่ำกว่า 3.00 มีผลการสอบ
IGCSE ใน 3 รายวิชา คือ Biology, Chemistry และ Mathematics หรือ Physics โดยจะต้องมี คะแนนในวิชา Biology และ Chemistry ไม่ตํ่ากว่า A และวิชาอื่นไม่ตํ่ากว่า B และ ผ่านการทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ IELTS ประเภท Academic อย่างน้อยระดับ 7.00 โดยแต่ละทักษะ(ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) จะต้องไม่ตํ่ากว่าระดับ 6.5

     กลุ่มที่ 3 เรียนจบหรือกำลังเรียนโรงเรียนมัธยมในต่างประเทศเทียบเท่าระดับชั้นม.6 ในสาขาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โดยมีเงื่อนไขคือ มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่เกรด 10 ถึง เกรด12 ไม่ต่ำกว่า 3.00 มีผลการสอบ 
IGCSEใน 3 รายวิชา คือ Biology, Chemistry และ Mathematics หรือ Physics โดยจะต้องมี คะแนนในวิชา Biology และ Chemistry ไม่ตํ่ากว่า A และวิชาอื่นไม่ตํ่ากว่า B และ ผ่านการทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ IELTS ประเภท Academic อย่างน้อยระดับ 7.00 โดยแต่ละทักษะ(ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) จะต้องไม่ตํ่ากว่าระดับ 6.5

   >> กำหนดการ   
เด็กดีดอทคอม :: หนทางใหม่! สู่การเป็นหมอกับ "แพทย์ มศว + นอตติงแฮม"

   >> การสมัคร   
  • สมัครได้ทางอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ถึง วันที่ 21 ธันวาคม 2555 ที่http://admission.swu.ac.th
  • เมื่อสมัครสอบแล้วต้องชำระเงินภายใน 1 วันหลังจากที่บันทึกข้อมูลไป โดยค่าสมัครสอบ 600 บาทค่ะ
  • เมื่อชำระเงินแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ถ้าจะเปลี่ยนจะต้องชำระเงินใหม่อีกรอบค่ะ คือการสมัครซ้ำนั่นเอง โดยจะถือการสมัครครั้งสุดท้ายเป็นสำคัญ และไม่คืนเงินค่าสมัครรอบแรกให้นะคะ
  • หลังจากชำระเงินไปแล้ว 3 วันก็สามารถเช็คเลขที่นั่งสอบได้ หมายถึงว่าชำระเงินเรียบร้อยแล้ว แต่ว่าก็ต้องตรวจสอบว่ามีสิทธิ์เข้าสอบหรือไม่ ในวันที่ 28 ธันวาคม 2555
  • สมัครทางอินเตอร์เน็ตแล้วต้องส่งเอกสารไปทางไปรษณีย์ด้วยนะคะ ภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2555 (แบบลงทะเบียนเท่านั้น) หากส่งเอกสารไม่ครบจะไม่ได้รับการพิจารณาเลย
******* ผู้เข้าศึกษาโครงการร่วมฯ นี้ไม่สามารถร้องขอย้ายเข้าเรียนในโครงการปกติได้

อ่านรายละเอียดแบบเต็ม ๆ ---> ลากเม้าท์มาจิ้มตรงนี้
credit:dekd

เจาะลึก!! รับตรง ม.เชียงใหม่ 16 โครงการรวด (มีทุน)

สิ้นสุดการรอคอย เมื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แจ้งระเบียบการรับตรง "โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและชุมชน" มาทีเดียวเลย 16 โครงการรวด!! มาแบบจัดเต็มนะฮ้า ......... มีทุนหลายโครงการเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ทั้งรับทั่วประเทศและเขต 17 จังหวัดภาคเหนือ แต่ละโครงการมีข้อกำหนดอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

เด็กดีดอทคอม :: เจาะลึก!! รับตรง ม.เชียงใหม่ 16 โครงการรวด (มีทุน)

 
กำหนดการสมัคร


15 สิงหาคม - 5 กันยายน 2555                                                                                                                                                   
ดำเนินการสมัคร ทาง www.reg.cmu.ac.th โดยชำระเงินผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขา และส่งใบสมัคร หลักฐานการชำระเงิน ,Portfolio (ตามที่คณะกำหนด) ให้สำนักทะเบียนและประมวลผลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
16 พฤศจิกายน 2555 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ ทาง www.reg.cmu.ac.th
24-25 พฤศจิกายน 2555
ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ทุกโครงการต้องมาสอบสัมภาษณ์ และ/หรือ ทดสอบความรู้ทางด้านวิชาการตามที่คณะกำหนด ณ คณะที่ได้รับการคัดเลือก และเข้ารับการตรวจร่างกาย
11 ธันวาคม 2555ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ที่ www.reg.cmu.ac.th
12 - 14 ธันวาคม 2555 ผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ แจ้งยืนยันเข้าศึกษา หรือสละสิทธิ์การเข้าศึกษา ทาง www.reg.cmu.ac.th



โครงการที่ 1 โครงการรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 >>> คณะแพทยศาสตร์ (ทุน) 
   * 20 คน : 10 คนแรกจากทั่วประเทศ 10 คนต่อมาจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ
   * กำลังศึกษาอยู่ชั้นม.6 สายวิทย์-คณิต ทุกโรงเรียนทั่วประเทศ
   * GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.75
   * ผ่านการอบรม สอวน.ค่าย 2 และได้เป็นตัวแทนศูนย์ในการเข้าสอบแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ หรือ ผ่านการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย(สอบแข่งขันรอบที่ 1) และได้รับการคัดเลือกเข้าแข่งขันรอบที่ 2 ของ สสวท. ตามสาขาที่กำหนดได้แก่ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์



 >>> คณะเทคนิคการแพทย์ (สาขาวิชากิจกรรมบำบัด 20 คน,สาขาวิชารังสีเทคนิค 3 คน)
   *  กำลังศึกษาอยู่ชั้นม.6 สายวิทย์-คณิต GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
   *  พิจารณาจากคะแนนสอบ GAT และ PAT 2 โดยเรียงคะแนนรวมจากมากไปหาน้อย


 >>> คณะวิทยาศาสตร์ (มีทุน) 6 สาขา 20 คน
   *  กำลังศึกษาอยู่ชั้นม.6 สายวิทย์-คณิต GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
   *  มีผลคะแนนการสอบ GAT และ PAT 1 / PAT 2


 >>> คณะวิศวกรรมศาสตร์ (มีทุน) 10 สาขา 176 คน
   *  มี GPAX 4 เทอม (ม.4-5) ไม่ต่ำกว่า 3.00
   *  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3.50 และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3.50
   *  PAT 1 และ PAT 3 ไม่น้อยกว่า 50 คะแนน


 >>> คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (10 คน)
   *  กำลังศึกษาอยู่ชั้นม.6 สายวิทย์-คณิต GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
   *  GAT ไม่น้อยกว่า 70% และ PAT 4 ไม่น้อยกว่า 65%
   *  แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)  ผลงานทางด้านศิลปะและการออกแบบ,รายละเอียดย่อประวัติส่วนตัว,หนังสือรับรองว่าผลงานทุกชิ้นที่ทำขึ้นในแฟ้มผลงานเป็นของผู้สมัครจริง


 >>> คณะมนุษยศาสตร์
   *  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50 /เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ 4 เทอมไม่น้อยกว่า 3.50 /มีประสบการณ์ในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
   *  สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50 /เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาฝรั่งเศส (ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต) 4 เทอมไม่น้อยกว่า 3.50 /เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4 เทอมไม่น้อยกว่า 3.00 / PAT 7.1 , คะแนน DELF / DALF หรืออื่น ๆ ที่เทียบเท่า 50% ขึ้นไป
   *  สาขาวิชาภาษาเยอรมัน GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.25 /เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาเยอรมัน 4 เทอมไม่น้อยกว่า 3.50/ เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4 เทอมไม่น้อยกว่า 3.00 / PAT 7.2 , คะแนน DELF / DALF หรืออื่น ๆ ที่เทียบเท่า 50% ขึ้นไป
   *  สาขาวิชาประวัติศาสตร์ GPAX 4 เทอม (ม.4-5) ไม่ต่ำกว่า 3.00 / สอบ GAT
   *  สาขาวิชาบ้านและชุมชน GPAX 4 เทอม (ม.4-5) ไม่ต่ำกว่า 3.00 / เกรดเฉลี่ยวิชาคณิต วิทย์ ภาษาไทย สังคม และภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 3.00
   *  สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.25
   *  สาขาวิชาปรัชญา GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.25  / เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาไทย สังคม และภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 3.00
   *  สาขาวิชาจิตวิทยา  GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
   *  สาขาวิชาภาษาไทย GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50 / ผลการเรียนด้านภาษาไทยระดับดีมาก / แฟ้มสะสมงานย้อนหลัง 5 ปีเน้นผลงานกิจกรรมด้านภาษาไทย / มีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งระดับโรงเรียน – ระดับชาติ
   *  สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น GPAX 4 เทอม (ม.4-5) ไม่ต่ำกว่า 3.00 / เกรดเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต)ไม่น้อยกว่า 3.50 / PAT 7.3 ไม่น้อยกว่า 50%
   *  สาขาวิชาภาษาจีน GPAX 4 เทอม (ม.4-5) ไม่ต่ำกว่า 3.00 / เกรดเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต)ไม่น้อยกว่า 3.50 / PAT 7.4 ไม่น้อยกว่า 50%
   *  สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50


เด็กดีดอทคอม :: เจาะลึก!! รับตรง ม.เชียงใหม่ 16 โครงการรวด (มีทุน)


 >>> คณะบริหารธุรกิจ (80 คน)
   *  GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
   *  ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคมศึกษาและภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 3.00
   *  สอบ GAT และ PAT 1


 >>> คณะเศรษฐศาสตร์ (40 คน)
   *  GPAX 4 เทอม (ม.4-5) ไม่ต่ำกว่า 3.00
   *  ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคมศึกษาและภาษาต่างประเทศ แต่ละวิชาไม่น้อยกว่า 3.00
   *  สอบ GAT และ PAT 1


 >>> คณะสังคมศาสตร์ (8 คน)
   *  GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
   *  สอบ GAT


 >>> คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 
   *  GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
   *  ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระสังคมศึกษา ภาษาไทย และรายวิชาภาษาอังกฤษ รวมกันไม่น้อยกว่า 3.50
   *  แฟ้มสะสมผลงานกิจกรรมนอกหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชาการด้านรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง (Portfolio) (ส่งพร้อมใบสมัคร)
   *  สอบ GAT และ PAT 1 หรือ PAT 7
   *  สาขาวิชาการระหว่างประเทศ ต้องส่งเรียงความเรื่อง “โลกของฉัน โลกโลกาภิวัตน์" ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4


 >>> คณะวิจิตรศิลป์
   *  สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ จิตรกรรม ประติมากรรม GPAX 4 เทอม (ม.4-5) ไม่ต่ำกว่า 3.00 /ส่งแฟ้มประวัติทางด้านศิลปะมาพร้อมใบสมัครเพื่อประกอบการพิจารณา
   *  สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00 / ต้องทำการทดสอบวิชาวาดเส้น / เขียนบรรยายทัศนคติต่อการทำงานศิลปะของตนเอง / สร้างผลงานศิลปะ โดยเลือกเทคนิคและแนวคิดตามความถนัด
   *  สาขาวิชาศิลปะไทย GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00 / ส่งแฟ้มภาพภาพถ่ายผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และสำเนาเกียรติบัตรอื่น ๆ ที่ได้รับมาพร้อมใบสมัคร
   *  สาขาวิชาการออกแบบ GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.25 / ส่งแฟ้มภาพถ่ายผลงานและ/หรือภาพถ่ายกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปะ และงานสร้างสรรค์พร้อมทั้งสำเนาเกียรติบัตรอื่น ๆ ที่ได้รับมาพร้อมใบสมัคร
   *  สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00 / ส่งแฟ้มผลงานศิลปะภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจทางด้านการถ่ายภาพของผู้สมัครโดยส่งมาพร้อมใบสมัคร
   *  สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.25 / GAT ไม่น้อยกว่า 60% และ PAT 6 ไม่น้อยกว่า 60% / แนบเกียรติบัตรทางภาษาอังกฤษ (ถ้ามี) / ส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (รายละเอียดหน้า 30)


 >>> วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
   *  สาขาวิชาแอนนิเมชัน GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00 / GPAX วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมกันไม่น้อยกว่า 3.50 หรือ ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดโครงการตามกำหนด(หน้า 32) และ มี GPAX คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมกันไม่น้อยกว่า 3.00 / สอบ GAT และ PAT 1 , PAT 2 หรือ PAT 7 / มีแฟ้มประวัติส่วนตัวและสะสมงาน (Portfolio)
   *  สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรนานาชาติ) GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00 / GPAX วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมกันไม่น้อยกว่า 3.00 และ GPAX ภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 3.00 / ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดโครงการตามกำหนด(หน้า 32) / สอบ GAT และ PAT 1 , PAT 2 / แฟ้มประวัติส่วนตัวและสะสมงาน (ถ้ามี)
   *  สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00 / สายวิทย์ GPAX วิทย์ คณิต และ ภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 3.25 และ สอบ GAT และ PAT 1 , PAT 2 / สายศิลป์ GPAX วิทย์ คณิต และ ภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 3.50 และ สอบ GAT และ PAT 7 / แฟ้มประวัติส่วนตัวและสะสมงาน (ถ้ามี)



โครงการที่ 2-16 
1 of 9


โครงการที่ 2 โครงการพัฒนาและส่งเสริมเยาวชนดีเด่นทางการกีฬา 

   *  เป็นนักกีฬาทีมชาติ เยาวชนทีมชาติ หรือเป็นนักกีฬาตัวแทนประเทศไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติที่ดำเนินการ โดยสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือกรมพลศึกษา หรือคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย
   *  เป็นนักกีฬาที่เข้าแข่งขันกีฬาแห่งชาติ หรือกีฬาเยาวชนแห่งชาติ หรือกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือกีฬาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย (รอบสุดท้าย) โดยได้ลำดับที่ 1 – 3
   *  ประวัติ ผลงานและความสามารถทางกีฬาดีเด่นภายในระยะเวลาย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี (นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553) โดยมีการเล่นกีฬาและฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง
   *  สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โครงการที่ 3 โครงการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์  ( วิศวะสู่ชุมชน)

   *  กำลังศึกษาอยู่ชั้นม.6 (เรียนชั้น ม.4 , ม.5 , ม.6 ติดต่อกัน 3 ปี) และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพัฒนาภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี
   *  เป็นบุตรของผู้ที่มีฐานะยากจน หรือมีรายได้ของครอบครัวไม่เกิน 125,000 บาทต่อปี และมีทรัพย์สินรวมน้อยกว่า 300,000 บาท หรือ มีผู้ปกครองเป็นผู้ได้ขึ้นทะเบียนคนยากจน
   *  ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 (4 เทอม) ไม่น้อยกว่า 3.00
   *  ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (แต่ละกลุ่ม) ไม่น้อยกว่า 3.25
   *  PAT 1 และ PAT 3 ไม่น้อยกว่า 50 คะแนน

โครงการที่ 4 โครงการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

   * มีภูมิลำเนาและศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตพัฒนาภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี
   * สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นม. 6 สายวิทย์ GPAX ไม่น้อยกว่า 2.50
   * สอบ GAT และ PAT 4




โครงการที่ 5 โครงการบัณฑิตเพื่อชุมชน 

   * เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาและศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอรอบนอกอำเภอเมือง หรือพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองใน 17 จังหวัดในเขตพัฒนาภาคเหนือ
   * มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกกลุ่มสาระชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 (4 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
   * ผู้สมัครเขียนบทความในหัวข้อ “บ้านและชุมชนในทัศนคติของข้าพเจ้า” แนบมาพร้อมกับใบสมัคร
โครงการที่ 6 โครงการนักคิดเพื่อสังคม 

   * ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกกลุ่มสาระชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 (4 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
   * ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ ชั้น ม.4-ม.5 ไม่น้อยกว่า 2.75
   * เป็นประธานโครงการฯ หรือเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญในการดำเนินโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแนบหลักฐานมาพร้อมกับใบสมัคร
   * ส่งแฟ้มประวัติส่วนตัวฉบับสำเนาพร้อมใบสมัคร



โครงการที่ 7 โครงการส่งเสริมนักเขียนและกวีล้านนา

   * เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตพัฒนาล้านนา 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงรายลำพูนลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน
   * มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกกลุ่มสาระชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 (4 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
   * มีผลงานด้านร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง หรือคำประพันธ์ล้านนาที่ได้รับรางวัลระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศหรือที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ มาแล้ว
   * ส่งแฟ้มประวัติส่วนตัวฉบับสำเนาพร้อมใบสมัคร

โครงการที่ 8 โครงการสื่อสารมวลชนเพื่อสังคม

   * มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 (4 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
   * เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ทำประโยชน์ให้กับสังคม
   * แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) มีอาจารย์ที่ปรึกษารับรอง
   * มีผลคะแนนการสอบ GAT และ PAT โดยไม่นำผลคะแนนสอบ GAT และ PAT มาพิจารณาการคัดเลือก(แต่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ)



โครงการที่ 9 โครงการสื่อสารมวลชนสู่ชนบท

   * มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 (4 เทอม) ไม่น้อยกว่า 3.00
   * เป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนนอกเขตอำเภอเมืองใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี
   * แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) มีอาจารย์ที่ปรึกษารับรอง
   * มีผลคะแนนการสอบ GAT และ PAT โดยไม่นำผลคะแนนสอบ GAT และ PAT มาพิจารณาการคัดเลือก(แต่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ)

โครงการที่ 10 โครงการผู้มีความสามารถพิเศษทางการสื่อสารมวลชน

   * มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 (4 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
   * เป็นผู้มีความสามารถพิเศษด้านการสื่อสารมวลชน
   * แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) มีอาจารย์ที่ปรึกษารับรอง
   * มีผลคะแนนการสอบ GAT และ PAT โดยไม่นำผลคะแนนสอบ GAT และ PAT มาพิจารณาการคัดเลือก(แต่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ)




โครงการที่ 11 โครงการช้างเผือกคณะเศรษฐศาสตร์

   * เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
   * เป็นผู้ที่เข้าร่วมโครงการ “ตอบปัญหาเศรษฐกิจการเงินกับธนาคารแห่งประเทศไทย” ประจำปีการศึกษา 2555
   * GPAX 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00 (ม.4-5 หรือเทียบเท่า)
   * GPAX กลุ่มสาระวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ แต่ละกลุ่มไม่น้อยกว่า 3.00
   * สอบ GAT และ PAT 1 โดยยึดผลคะแนนครั้งที่ได้สูงสุด
โครงการที่ 12 โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนฯ( วมว.)

   * เป็นนักเรียนจากโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์โรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วมว.) และเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ยังคงรักษาสภาพการเป็นนักเรียนในโครงการ วมว.
   * กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เท่านั้น
   * เป็นผู้ศึกษาอยู่ใน 5 โรงเรียนที่กำหนด



โครงการที่ 13 โครงการเด็กดีมีที่เรียน 

   * เป็นผู้ที่กระทำความดี มีคุณธรรม จริยธรรมจนเป็นที่ประจักษ์ และอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือชุมชนและสังคมมาโดยตลอด
   * เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
   * ต้องมีผลคะแนนการสอบ GAT และ PAT
   * ส่งแฟ้มสะสมผลงานและ/หรือประกาศเกียรติคุณ ที่แสดงว่าเป็นผู้ที่กระทำความดี มีคุณธรรม จริยธรรมจนเป็นที่ประจักษ์ และอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือชุมชน
   * ส่งหนังสือรับรองว่าเป็นผู้กระทำความดี มีคุณธรรม จริยธรรม จนเป็นที่ประจักษ์ และอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือชุมชนจากผู้นำชุมชน เชน่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ


โครงการที่ 14 โครงการสำนึกรักบ้านเกิดเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

   * เป็นนักเรียนที่มีภูมิลำเนาและศึกษาในโรงเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารหรือพื้นที่สูงในเขต 17 จังหวัดพัฒนาภาคเหนือ และมีความต้องการกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว
   * กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ของโรงเรียนมัธยมศึกษา 17 จังหวัดในเขตพัฒนาภาคเหนือใน (สายวิทย์เท่านั้น)
   * GPAX ไม่น้อยกว่า 2.00 โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2.00 และกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2.00
   * สอบ GAT และ PAT 1 , PAT 2

โครงการที่ 15 โครงการผู้มีแววเป็นนักนิติศาสตร์

   * เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 GPAX ไม่น้อยกว่า 3.00
   * เป็นผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับกฎหมายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เช่นการตอบปัญหา ประกวดเรียงความหรือบทความ ฯลฯ ที่จัดโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา องค์กรศาล หรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ระดับประเทศ ภูมิภาค หรือจังหวัด และเป็นผู้ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
   * สอบ GAT และ PAT เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือก (มี 3 รูปแบบ)



โครงการที่ 16 โครงการพิเศษสำหรับนักเรียนพิการ

   * เป็นผู้พิการซึ่ง มีบัตรประจำตัวผู้พิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
   * เป็นนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และมีประเภทความพิการตามกำหนด

***ระเบียบการฉบับเต็ม  <<คลิก ๆ 
credit:dekd