การจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประจำปี 2015 (Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings 2015)
ล่าสุด! วันนี้ (4 ธันวาคม 2557) เวลา 03.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย Times Higher Education หรือ THE สำนักจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกชื่อดังจากประเทศอังกฤษ ได้มีการประกาศผล การจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประจำปี 2015 (Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings 2015)
โดย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ในปีนี้ ของ Times Higher Education หรือ THE ได้จัด 100 อันดับมหาวิทยาลัยใน 22 ประเทศ ได้แก่ 5 ประเทศในกลุ่มประเทศ BRICS หรือ กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยประเทศ Brazil, Russia, India, China, South Africa และ 17 ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging economies) ประกอบด้วย Czech Republic, Hungary, Malaysia, Mexico, Poland, Taiwan, Thailand, Turkey, Chile, Colombia, Egypt, Indonesia, Morocco, Pakistan, Peru, Philippines และ UAE
(ภาพจาก BRICS & Emerging Economies Rankings 2015 results: China racing ahead : http://www.timeshighereducation.co.uk/news/brics-and-emerging-economies-rankings-2015-results-china-racing-ahead/2017339.article )
3 มหาวิทยาลัยของไทย ติด 100 อันดับ The Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings 2015
โดยในปีนี้ มี 3 มหาวิทยาลัยของไทย ติดเข้าไปใน 100 อันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประจำปี 2015 (Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings 2015) คือ
อันดับที่ 49 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อันดับที่ 63 มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 90 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ถือว่าปีนี้มหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับลดลง โดยในปีที่แล้วมี 5 มหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ คือ
อันดับที่ 29 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ตารางแสดงจำนวนมหาวิทยาลัยของแต่ละประเทศที่ติดอันดับ
อันดับที่ 90 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ถือว่าปีนี้มหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับลดลง โดยในปีที่แล้วมี 5 มหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ คือ
อันดับที่ 29 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อันดับที่ 52 มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับที่ 82 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อันดับที่ 85 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อันดับที่ 89 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยในปีนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งอันดับของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับตกลง และเป็นที่น่าเสียดายที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลุดโผไม่ติดอันดับในปีนี้
โดยในปีนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งอันดับของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับตกลง และเป็นที่น่าเสียดายที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลุดโผไม่ติดอันดับในปีนี้
ตารางแสดงจำนวนมหาวิทยาลัยของแต่ละประเทศที่ติดอันดับ
ระเบียบวิธีวิจัยของการจัดอันดับ BRICS & Emerging Economies Rankings 2015 วัด 5 ด้าน ด้วย 13 ตัวชี้วัดศักยภาพ
สำหรับ ระเบียบวิธีวิจัยของการจัดอันดับ ของ Times Higher Education หรือ THE สำนักจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกชื่อดังจากประเทศอังกฤษ ที่ใช้ใน 100 อันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประจำปี 2015 (Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings 2015) ยังคงมีหลักเกณฑ์คล้ายๆ กับ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประจำปี 2014-2015 (Times Higher Education World University Rankings 2014-2015) ประกอบด้วย 5 ด้าน 13 ตัวชี้วัดศักยภาพ คือ
1. Teaching: The learning environment (30%) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน คุณภาพการสอน สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา
2. Research: Volume, Income, Reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
3. Citations: Research influence (20%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
4. Industry income: Innovation (10%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น
5. International outlook: Staff, Students and Research (10%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก อาจารย์, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
ดูรายละเอียด 100 อันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประจำปี 2015 (Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings 2015) ของ Times Higher Education หรือ THE คลิกที่นี่
3. Citations: Research influence (20%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
4. Industry income: Innovation (10%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น
5. International outlook: Staff, Students and Research (10%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก อาจารย์, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
ดูรายละเอียด 100 อันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประจำปี 2015 (Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings 2015) ของ Times Higher Education หรือ THE คลิกที่นี่
บทความโดย :
ภราดร เทพสุภา (P'Dome Eduzones)
ภราดร เทพสุภา (P'Dome Eduzones)
บรรณาธิการข่าวการศึกษา www.eduzones.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น