นิยามอาชีพ
วิเคราะห์ วิจัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพที่เกิดขึ้นกับอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อันได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ปรับปรุงกระบวนการผลิต และแปรรูปอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในด้านคุณค่าทางอาหารไม่เป็นโทษต่อร่างกาย ราคายุติธรรม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
วิเคราะห์ วิจัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพที่เกิดขึ้นกับอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อันได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ปรับปรุงกระบวนการผลิต และแปรรูปอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในด้านคุณค่าทางอาหารไม่เป็นโทษต่อร่างกาย ราคายุติธรรม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
ลักษณะของงานที่ทำ
ประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาเรื่องเทคโนโลยีการอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยได้พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การอาหารขึ้นในภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการอาหาร นักวิทยาศาสตร์การอาหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เลือกใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต หรือแปรรูปอาหาร
2. บริหารและวางแผนกระบวนการแปรรูปอาหาร หรือถนอมอาหาร
3. จัดหาและเตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ
4. มีความรอบรู้เรื่องเงื่อนไขของฤดูกาลการผลิตสินค้าการเกษตร ตลอดจนแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณค่าในการผลิต
5. วิจัยพัฒนา ค้นคว้าผลิตภัณฑ์อาหาร และกระบวนการแปรรูป ถนอมอาหาร และเทคนิคการผลิตสินค้าใหม่ๆ
6. จัดเตรียมวัตถุดิบ ตรวจบันทึก และจัดซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการ
7. ให้คำแนะนำดูแลและควบคุมบุคลากร ในสายงานการผลิต
8. ควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลิตภัณฑ์อาหาร ให้มีคุณค่าได้มาตรฐานทางโภชนาการ
9. มีความรู้ด้านการตลาดและต้นทุนการผลิต
ประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาเรื่องเทคโนโลยีการอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยได้พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การอาหารขึ้นในภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการอาหาร นักวิทยาศาสตร์การอาหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เลือกใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต หรือแปรรูปอาหาร
2. บริหารและวางแผนกระบวนการแปรรูปอาหาร หรือถนอมอาหาร
3. จัดหาและเตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ
4. มีความรอบรู้เรื่องเงื่อนไขของฤดูกาลการผลิตสินค้าการเกษตร ตลอดจนแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณค่าในการผลิต
5. วิจัยพัฒนา ค้นคว้าผลิตภัณฑ์อาหาร และกระบวนการแปรรูป ถนอมอาหาร และเทคนิคการผลิตสินค้าใหม่ๆ
6. จัดเตรียมวัตถุดิบ ตรวจบันทึก และจัดซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการ
7. ให้คำแนะนำดูแลและควบคุมบุคลากร ในสายงานการผลิต
8. ควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลิตภัณฑ์อาหาร ให้มีคุณค่าได้มาตรฐานทางโภชนาการ
9. มีความรู้ด้านการตลาดและต้นทุนการผลิต
สภาพการจ้างงาน
ในภาคราชการผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ตามข้อกำหนดของ
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดยผู้จบวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับอัตราเงินเดือนๆ ละ 7,260 บาท
ในภาคเอกชนผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะได้รับอัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนๆ ละประมาณ 12,000 – 20,000 บาท พร้อมทั้งสวัสดิการ และการได้รับโบนัสประจำปี
ในภาคราชการผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ตามข้อกำหนดของ
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดยผู้จบวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับอัตราเงินเดือนๆ ละ 7,260 บาท
ในภาคเอกชนผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะได้รับอัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนๆ ละประมาณ 12,000 – 20,000 บาท พร้อมทั้งสวัสดิการ และการได้รับโบนัสประจำปี
สภาพการทำงาน
ผู้ประกอบอาชีพนี้ อาจทำงานทั้งในโรงงานผลิต และในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยต้องใส่เครื่องแบบการปฏิบัติงาน และสวมอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล
นักวิทยาศาสตร์การอาหาร อาจต้องปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรอาหาร และต้องปฏิบัติงานทั้งในโรงงานผลิตและ
ห้องปฏิบัติการทดลอง โดยต้องใส่เครื่องป้องกันอนามัยและความปลอดภัยส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ หมวก ผ้ากันเปื้อน หรือเครื่องแบบที่ทางสถานประกอบกิจการจัดเตรียมไว้ให้
ผู้ประกอบอาชีพนี้ อาจทำงานทั้งในโรงงานผลิต และในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยต้องใส่เครื่องแบบการปฏิบัติงาน และสวมอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล
นักวิทยาศาสตร์การอาหาร อาจต้องปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรอาหาร และต้องปฏิบัติงานทั้งในโรงงานผลิตและ
ห้องปฏิบัติการทดลอง โดยต้องใส่เครื่องป้องกันอนามัยและความปลอดภัยส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ หมวก ผ้ากันเปื้อน หรือเครื่องแบบที่ทางสถานประกอบกิจการจัดเตรียมไว้ให้
คุณสมบัติผู้ประกอบอาชีพ
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร
2. มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม
3. มีความรู้ในเรื่องการควบคุมต้นทุนการผลิต
4. มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
5. มีความรู้เรื่องมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการผลิต และกฎหมายอาหารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น ข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อาหาร Halal, Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ฯลฯ
6. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร
2. มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม
3. มีความรู้ในเรื่องการควบคุมต้นทุนการผลิต
4. มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
5. มีความรู้เรื่องมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการผลิต และกฎหมายอาหารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น ข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อาหาร Halal, Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ฯลฯ
6. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
ผู้ที่สนใจในอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้
ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า แล้วสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
ในระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี ภาคสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพดังกล่าว
ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า แล้วสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
ในระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี ภาคสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพดังกล่าว
โอกาสในการมีงานทำ
จากการที่ประเทศไทยมีนโยบาย ที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลก (Kitchen of the World) โดยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ตามโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ และสร้างนวัตกรรมการผลิตที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์
สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ มีประมาณ 29 แห่ง ซึ่งผลิตบุคลากรได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่น โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานอาหารแช่เยือกแข็ง โรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ผลิตไส้กรอก โรงงานผัก ผลไม้อบแห้ง โรงงานขนมปัง อาหารขบเคี้ยว โรงงานผลิตภัณฑ์นม โรงงานผลิตเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ และโรงงานผลิตไวน์ผลไม้ เป็นต้น
จากการที่ประเทศไทยมีนโยบาย ที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลก (Kitchen of the World) โดยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ตามโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ และสร้างนวัตกรรมการผลิตที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์
สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ มีประมาณ 29 แห่ง ซึ่งผลิตบุคลากรได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่น โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานอาหารแช่เยือกแข็ง โรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ผลิตไส้กรอก โรงงานผัก ผลไม้อบแห้ง โรงงานขนมปัง อาหารขบเคี้ยว โรงงานผลิตภัณฑ์นม โรงงานผลิตเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ และโรงงานผลิตไวน์ผลไม้ เป็นต้น
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
สำหรับผู้ประกอบอาชีพนักวิทยาศาสตร์การอาหาร ควรค้นคว้าหาความรู้ หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก และเมื่อมีความพร้อม ความสามารถ ก็อาจได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน จนถึงตำแหน่งสูงสุดตามเงื่อนไขและข้อตกลงขององค์กรนั้นๆ
สำหรับผู้ประกอบอาชีพนักวิทยาศาสตร์การอาหาร ควรค้นคว้าหาความรู้ หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก และเมื่อมีความพร้อม ความสามารถ ก็อาจได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน จนถึงตำแหน่งสูงสุดตามเงื่อนไขและข้อตกลงขององค์กรนั้นๆ
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
อาจารย์ นักวิชาการ วิทยากรชุมชน นักธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูป ผู้ผลิตอาหารอนามัย (Organic Food) ผู้แทนการขายอาหารเสริมต่างๆ ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป หรือเครื่องดื่ม ผลิตไวน์ผลไม้ ผู้นำเข้าสินค้าอาหาร และส่งออก ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านการผลิตอาหารกับวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ และโรงงานนักชิมไวน์ เป็นต้น
อาจารย์ นักวิชาการ วิทยากรชุมชน นักธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูป ผู้ผลิตอาหารอนามัย (Organic Food) ผู้แทนการขายอาหารเสริมต่างๆ ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป หรือเครื่องดื่ม ผลิตไวน์ผลไม้ ผู้นำเข้าสินค้าอาหาร และส่งออก ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านการผลิตอาหารกับวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ และโรงงานนักชิมไวน์ เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0 2940 6158, 0 2579 5325–7
www.ku.ac.th
ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.chula.ac.th
มหาวิทยามหิดล www.mahidol.ac.th
สถาบันราชภัฏ www.fstrabhat.ac.th
สถาบันอาหาร National Food Institute www.nfi.or.th
Department of Export Promotion Ministry of Commerce: www.depthai.go.th, www.thaitrade.com
คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0 2940 6158, 0 2579 5325–7
www.ku.ac.th
ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.chula.ac.th
มหาวิทยามหิดล www.mahidol.ac.th
สถาบันราชภัฏ www.fstrabhat.ac.th
สถาบันอาหาร National Food Institute www.nfi.or.th
Department of Export Promotion Ministry of Commerce: www.depthai.go.th, www.thaitrade.com
เนื้อหาดีดีจาก กรมการจัดหางาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น