ครม.ไฟเขียวผ่านตลอดแล้วในการดำเนินการตามโครงการทุน ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๔ จำนวน ๑,๘๕๖ ทุน
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศธ. กล่าวว่า ครม.มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๔ โดยผูกพันงบประมาณดำเนินโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๓ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วจำนวน ๓๙๕,๐๓๖,๘๐๐ บาท และงบประมาณดำเนินการในปี พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๓ อีกจำนวน ๑๔,๐๙๗,๙๖๕,๐๕๐ บาท รวมงบประมาณดำเนินการตลอดโครงการจำนวนทิ้งสิ้น ๑๔,๔๙๓,๐๐๑,๘๕๐ บาท
ข้อมูลโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน
โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน เป็นนโยบายที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ ศธ.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ.ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าสายสามัญและสายอาชีพที่เรียนดีในอำเภอต่างๆ ทั่วประเทศได้มีโอกาสศึกษาต่อระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว ๓ รุ่น
โดยรุ่นที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗ มีผู้รับทุน ๙๒๑ คน, รุ่นที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ มีผู้รับทุน ๙๑๕ คน และรุ่นที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ มีผู้รับทุน ๖๘๙ คน รวมจำนวนผู้รับทุนทั้ง ๓ รุ่นจำนวน ๒,๕๒๕ คน ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้วจำนวน ๑,๒๗๕ คน
โดยรุ่นที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗ มีผู้รับทุน ๙๒๑ คน, รุ่นที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ มีผู้รับทุน ๙๑๕ คน และรุ่นที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ มีผู้รับทุน ๖๘๙ คน รวมจำนวนผู้รับทุนทั้ง ๓ รุ่นจำนวน ๒,๕๒๕ คน ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้วจำนวน ๑,๒๗๕ คน
การดำเนินโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๔
การจัดสรรทุน จำนวน ๑,๘๕๖ ทุน แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) ผู้รับทุนประเภท ๑ หมายถึง ผู้รับทุนที่มีผลการเรียนดี ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี ได้รับทุนศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวน ๙๒๘ ทุน/อำเภอ/เขต โดยจะให้ไปศึกษาในกลุ่มประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ๓๕ ประเทศ ดังนี้
- ทวีปอเมริกา ได้แก่ แคนาดา อาร์เจนตินา ชิลี เม็กซิโก และบราซิล
- ทวีปยุโรป ได้แก่ เบลเยียม ฮังการี โปรตุเกส ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สเปน ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ และรัสเซีย
- ทวีปเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย
- ทวีปแอฟริกา ได้แก่ อียิปต์ และแอฟริกาใต้
ยกเว้น หากผู้รับทุนประเภท ๑ มีความประสงค์ศึกษาในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก จะต้องเป็นกลุ่มสาขาวิชาที่ขาดแคลนด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น
๒) ผู้รับทุนประเภท ๒ หมายถึง ผู้รับทุนที่มีผลการเรียนดี ได้รับทุนศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นสาขาวิชาที่ขาดแคลนด้านวิทยาศาสตร์จำนวน ๙๒๘ ทุน/อำเภอ/เขต ซึ่งจะดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ เพื่อผลิตกำลังคนในสาขาวิชาที่ขาดแคลนเน้นด้านวิทยาศาสตร์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องไม่เกิน ๓ ปี โดยจะให้ไปศึกษาในประเทศทั้งที่ใช้ภาษาอังกฤษและไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
วิธีการคัดเลือกทุน
- สอบข้อเขียน จะสอบพร้อมกันทั่วประเทศทั้งทุนประเภท ๑ และประเภท ๒ โดยใช้ข้อสอบกลางวัดความรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน (Aptitude Test)
- สอบสัมภาษณ์ ผู้สอบผ่านข้อเขียนที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จะต้องได้คะแนนรวมวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ และได้คะแนนสูงสุด ๓ อันดับแรกของแต่ละอำเภอ/เขต กรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากันให้ถือเป็นผู้สอบได้ในอันดับเดียวกัน
เงื่อนไขและข้อผูกพัน
ผู้รับทุนทั้งสองประเภทที่สำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องทำงานในประเทศไทย ซึ่งสามารถเลือกปฏิบัติงานได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนตามความประสงค์ของผู้รับทุน สำหรับผู้รับทุนประเภท ๒ ให้ชดใช้ทุนโดยกลับมาทำงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ผู้รับทุนได้รับทุนตามสัญญา หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญา ให้ชดใช้เงินคืนตามจำนวนที่ใช้ไปพร้อมเบี้ยปรับจำนวนหนึ่งเท่า
กำหนดการดำเนินโครงการรุ่นที่ ๔
- การรับสมัคร ระหว่างวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ – ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
โดยยื่นใบสมัครได้ที่สถานศึกษา กรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแล้วให้สมัครที่สถานศึกษาที่นักเรียนสำเร็จการศึกษา
กรณีอำเภอ/เขตใดไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามภูมิลำเนาของผู้สมัครในวันและเวลาราชการ
ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.moe.go.th
โดยยื่นใบสมัครได้ที่สถานศึกษา กรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแล้วให้สมัครที่สถานศึกษาที่นักเรียนสำเร็จการศึกษา
กรณีอำเภอ/เขตใดไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามภูมิลำเนาของผู้สมัครในวันและเวลาราชการ
ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.moe.go.th
- สอบข้อเขียน วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖
- ประกาศผลผู้มีสิทธิ์ได้รับทุน วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖
- ปฐมนิเทศผู้มีสิทธิ์ได้รับทุน วันที่ ๑๙-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖
- อบรมเตรียมความพร้อมด้านภาษาและวัฒนธรรม ประมาณเดือนมิถุนายน – สิงหาคม ๒๕๕๖
- เริ่มเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ เดือนกันยายน ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการไปพิจารณาปรับกระบวนการคัดเลือกให้เร็วขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีเวลาเตรียมตัว จากเดิมที่อาจจะคัดเลือกในข่วงที่นักเรียนศึกษาอยู่ ม.6 ก็จะคัดเลือกตั้งแต่ ม.4-ม.5 เพื่อที่จะให้นักเรียนได้มีเวลาเตรียมตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังให้กระทรวงการต่าประเทศทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่นักเรียนทุนที่จบการศึกษาแล้ว อาทิ การให้ทดลองทำงานในหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
ที่มา - ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น