I. สิ่งที่ควรรู้
1. คะแนน GAT & PAT มีอายุ 2 ปี สำหรับระบบแอดมิชชั่นส์ 2554 จะใช้เลือกคะแนน GAT & PAT ได้ตั้งแต่รอบกรกฎาคม 2552 จนถึงรอบมีนาคม 2554 รวม 6 ครั้ง โดยระบบจะเลือกรอบที่คะแนนดีที่สุดในแต่ละวิชา (แยกพิจารณารายวิชาได้นะครับ เช่น GAT สูงสุดในรอบมีนาคม 2554 PAT5 สูงสุดในรอบกรกฎาคม 2552 เป็นต้น)
2. คะแนนโอเน็ตใช้ 30% รหัส 01-05 วิชาละ 5% ส่วนรหัส 06-08 ต้องนำมาบวกกันแล้วหาร 3 เป็นอีก 5%
3. บางคณะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำ ถ้าเป็นโอเน็ตให้ดูเป็นรายวิชา ไม่ใช่คะแนนเฉลี่ยทุกวิชา โดยน้องมีสิทธิ์ได้ แต่ระบบประมวลผลให้เฉพาะผู้ที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ดังนั้นถ้าน้องจะยื่นคณะที่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ แต่น้องมีบางวิชาที่คะแนนไม่ถึงขั้นต่ำ ก็ถือว่าเลือกเสียอันดับฟรีๆ โดยคะแนนขั้นต่ำจะกำนหนดเป็น % ดังนั้นถ้าเป็นคะแนน GAT & PAT เปลี่ยนจาก % เป็น 300 คะแนนเต็มต้องคูณ 3
4. น้องต้องมีองค์ประกอบทุกส่วนของคณะหรือสาขาวิชาที่น้องจะเลือก หากขาดวิชาใดวิชาหนึ่ง แม้ว่าคะแนนรวม 30,000 คะแนนน้องจะถึงคะแนนต่ำสุดเมื่อประมวลผลมาแล้ว ก็ไม่ถูกตัดชื่อออกจากรหัสคณะนั้น เนื่องจากองค์ประกอบไม่ครบ ก็ถือว่าเลือกเสียอันดับฟรีๆ
5. อันดับคณะให้เลือกได้สูงสุด 4 อันดับ จะเลือก 1 อันดับก็ได้ 2 หรือ 3 อันดับก็ได้
6. หากอันดับสุดท้ายมีคนคะแนนเท่ากันหลายคน ถ้าเป็นคณะทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงคณะที่เน้นการปฏิบัติการจะไม่รับหมด เพราะมีข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ทางการศึกษาที่อาจไม่เพียงพอ แต่ทางเป็นคณะทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะรับมาทั้งหมด
7. แอดมิชชั่นส์จะประมวลผลคณะที่น้องเลือกแค่เพียง 1 คณะเท่านั้น ไม่ได้ระบุว่าคะแนนน้องผ่านคณะไหนบ้างแล้วให้เลือก โดยคณะอันดับ 1 ที่น้องเลือกจะถูกประมวลผลก่อน และมีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกก่อน อันดับที่ 2 3 และ 4 ก็รองลงมา ดังนั้นการเลือกอันดับคณะควรเรียงจากคณะที่อยากเรียนมากที่สุดไว้เป็นอันดับ 1 แล้วรองๆ ลงมาถึงอันดับ 4 แต่ 4 อันดับคณะนั้นเราต้องชอบและถนัดหมดนะ
เพิ่มเติม
8. การเลือกคณะที่มีแบ่งเป็นพื้นฐานวิทย์ พื้นฐานศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เลือกที่ถนัดด้านวิทย์ กับด้านศิลป์ ได้คัดเลือกเข้ามาเท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งไม่ได้ห้ามนะครับว่าจะต้องเลือกตามแผนการเรียนที่น้องเรียนมา น้องสายศิลป์เลือกสอบพื้นฐานวิทย์ได้ ถ้ามีคะแนน PAT ตามที่กำหนด น้องสายวิทย์ก็เลือกสอบพื้นฐานศิลป์ได้ ถ้ามีคะแนน PAT ตามที่กำหนดเช่นกัน
9. การสมัครคัดเลือกระบบแอดมิชชั่นส์ จะสมัครกี่รอบก็ได้ แต่ระบบจะยึดเอาการสมัครที่ชำระเงินครั้งล่าสุดไปใช้ประมวลผลครับ แสดงว่า น้องสมัครไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะชำระเงินหรือไม่ก็ตาม อยากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็สมัครใหม่ แล้วชำระเงิน ใครแก้บ่อยก็สมัครบ่อย จ่ายหลายรอบนะครับ แต่ระบบจะยึดเอาการชำระเงินครั้งล่าสุด
10. การสอบสัมภาษณ์เป็นเพียงการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ และวัดทัศนคติเบื้องต้น จะไม่มีการให้คะแนน เพื่อคัดออกแล้ว นอกจากที่จะแสดงกิริยาก้าวร้าว ไม่น่ารักมากๆ ส่วนแฟ้มสะสมงานไม่บังคับว่าต้องมีทุกคน เพราะไม่มีผลต่อการพิจารณาครับ ถ้ามีก็ดีตรงที่ถ้าอาจารย์กรรมการเปิดอ่านก็จะหาเรื่องคุยจากแฟ้มสะสมงานของเราได้ แต่ถ้าไม่มีเวลาเตรียมก็ไม่เสียหายอะไรครับ
II. วิธีการคำนวณคะแนนแอดมิชชั่นส์
ง่ายที่สุด น้องดาวน์โหลดโปรแกรมคำนวณคะแนนของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยจะสมบูรณที่สุดครับ กด Downlaod เลย http://www.cuas.or.th/document/ADM54SUMSCORE_RAR.rar หากน้องได้หนังสือระเบียบการสมัครมาแล้วก็ใช้ประกอบกัน สำหรับดูรหัสคณะ
III. การเตรียมตัวก่อนเลือกอันดับแอดมิชชั่นส์
การที่เราจะได้ศึกษาต่อในคณะที่ใช่ สาขาวิชาที่ชอบ แล้วมีอนาคตที่สดใสนั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ข้อนี้ครับ
1. สำรวจตัวเอง ก่อนเลยว่า เราชอบเรียนทางด้านไหนมากที่สุด ถนัดอะไร ม.6 แล้วหนูต้องหาให้ได้นะ อย่าคิดเพียงว่า เรียนได้อยู่ละ หรือคิดเพียงว่าให้ติดจุฬาฯ เรื่องเรียนค่อยไปเริ่มต้นใหม่ เพราะการเรียนในมหาวิทยาลัยถ้าเราชอบเรียน มีความมุ่งมั่น มีความฝัน แน่นอนหนักยังไงก็ทำได้ ทำอะไรในสิ่งที่ชอบมันย่อมสำเร็จเสมอ และอย่าลืมว่าสิ่งที่จะตัดสินใจเรียนไปอย่างน้อย 4 ปีเนี่ย มันเป็นอนาคตทั้งชีวิตของเราได้เลย หากเลือกเรียนในสิ่งที่ไม่ได้ชอบจริงๆ มันอึดอัดนะ เช่น การเรียนครุศาสตร์ น้องต้องชอบในด้านการศึกษาและการสอน เนื่องจากเป็นคณะที่ภาระงานมาก และต้องมีความรับผิดชอบ หากน้องไม่ได้ชอบจริงๆ เมื่อมาเรียนก็จะรู้สึกอึดอัด เหนื่อย การเป็นครูไม่ใช่ว่าใครจะเป็นได้ครับ ต้องมีใจรักในวิชาชีพถึงจะเรียนและมีอนาคตที่มีความสุข ดังนั้นอยากให้น้องหาตัวเองให้เจอจริงๆ ก่อนตัดสินใจนะครับ
2. ศึกษาข้อมูล น้องๆ ลองค้นหาข้อมูลการศึกษาในคณะหรือสาขาวิชาที่น้องสนใจดู ง่ายที่สุดคือ เว็บไซต์สถาบันครับ หรือจะสอบถามในบอร์ดการศึกษาของเว็บเด็กดีก็ได้ เพื่อให้รู้แนวทางการศึกษาของคณะหรือสาขาวิชานั้นว่า เรียนอย่างไร มีหลักสูตรเป็นอย่างไร ดูรายวิชาที่เรียนว่าเป็นแบบที่เราสนใจหรือถนัดหรือไม่ บรรยากาศการเรียนดีหรือไม่ ขอบเขตการศึกษาเหมาะกับตัวเรามากน้อยเพียงใด เพื่อจะช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกคณะนะครับ
IV. หลักการเลือกอันดับแอดมิชชั่นส์
มาถึงเรื่องที่น่าปวดหัวที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจสมัครคัดเลือกแล้ว นั่นคือการเลือกคณะทั้ง 4 อันดับ พี่มีคำแนะนำดังนี้นะครับ
มาถึงเรื่องที่น่าปวดหัวที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจสมัครคัดเลือกแล้ว นั่นคือการเลือกคณะทั้ง 4 อันดับ พี่มีคำแนะนำดังนี้นะครับ
1. คณะอันดับ 1 ให้จริงใจกับตนเองไว้ว่าใจเราสนใจเรียนทางด้านไหน คณะไหน สาขาวิชาไหน เป็นความใฝ่ฝันจริงๆ เลือกไว้อันดับ 1 เลยครับ อย่าได้แคร์คะแนน คนอื่นจะคะแนนสูง รับจะน้อยเพียงใด ขอแค่เราเลือกเพื่อโอกาสอันมีค่าแม้จะน้อยนิดก็ตาม อันดับ 1 เค้าให้เลือกตามความฝันของเราครับ อย่าทำตัวเป็นแม่หมอ หมอเดา ชอบดูถูกตัวเองว่าคะแนนน้อยอ่ะ ไม่ติดหรอก ไม่เลือกดีกว่า ถ้าคนคิดแบบนี้ 1,000 คน คะแนนจะที่คิดว่าสูงมันก็ตกลงได้นะ อะไรก็คาดเดาไม่ได้หรอก ปาฏิหาริย์มีเสมอในแอดมิชชั่นส์ "รู้ว่าเสียงแต่คงต้องขอลอง" ถ้าไม่เลือกเสี่ยงแล้วประกาศผลมา คะแนนเรากลับเข้าคณะนี้ได้ นอกจากเสียใจแล้วจะเสียดายนะ
2. คณะอันดับ 2 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่สนใจหรือชอบในระดับหนึ่งรองลงมาจากคณะอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยที่ตัวเองสนใจ แนะนำว่าให้นำคะแนนของตนไปเทียบกับคะแนนต่ำสุดของแอดมิชชั่นส์ปี 2553 แค่ปีเดียว เพราะย้อนไปปี 2552 มันคนละองค์ประกอบ จำนวนรับก็แตกต่างจากระบบใหม่ อันดับ 2 ควรเกิน 100-1,000 คะแนน
3. คณะอันดับ 3 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่พอจะเรียนได้ ของมหาวิทยาลัยที่อาจจะคะแนนรองลงมาจากคณะอันดับ 2 ก็ได้ โดยเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่คะแนนไม่สูงมาก อย่าเลือกที่สูงเกินไปในอันดับนี้เพราะจะเกิดความเสี่ยงมากขึ้น อันดับ 3 ควรเกิน 1,000-2,500 คะแนน
4. คณะอันดับ 4 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่เราพอจะเรียนได้ ของมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนไม่สูงแล้วเราสะดวกที่จะไปเรียน ควรเป็นคณะที่เรียนได้ มีความสนใจอยู่นะ ไม่ใช่เลือกไว้ให้อันดับมันเต็มนะ เลือกอะไรที่เรียนได้ แล้วคะแนนของเรามีความเป็นไปได้ว่าน่าจะติดชัวร์ๆ อันดับ 4 เกิน 2,500 คะแนนขึ้นไปยิ่งดี จะได้ปลอดภัยมากขึ้น และอย่าลืมว่าหากอันดับ 1 และ 2 หลุดเราต้องเรียนคณะที่เลือกอันดับนี้นะ ต้องคิดให้ดีนะครับ และอย่าหวังสูงมากเกินไปนะ เลือกให้เราติดชัวร์ หากเลือกสูงเกิน แล้วพลาดหลุด 4 อันดับ มันเศร้ายิ่งกว่าไม่จบ ม.6 อีกนะ แนะนำให้น้องพิจารณาดีๆ
4. คณะอันดับ 4 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่เราพอจะเรียนได้ ของมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนไม่สูงแล้วเราสะดวกที่จะไปเรียน ควรเป็นคณะที่เรียนได้ มีความสนใจอยู่นะ ไม่ใช่เลือกไว้ให้อันดับมันเต็มนะ เลือกอะไรที่เรียนได้ แล้วคะแนนของเรามีความเป็นไปได้ว่าน่าจะติดชัวร์ๆ อันดับ 4 เกิน 2,500 คะแนนขึ้นไปยิ่งดี จะได้ปลอดภัยมากขึ้น และอย่าลืมว่าหากอันดับ 1 และ 2 หลุดเราต้องเรียนคณะที่เลือกอันดับนี้นะ ต้องคิดให้ดีนะครับ และอย่าหวังสูงมากเกินไปนะ เลือกให้เราติดชัวร์ หากเลือกสูงเกิน แล้วพลาดหลุด 4 อันดับ มันเศร้ายิ่งกว่าไม่จบ ม.6 อีกนะ แนะนำให้น้องพิจารณาดีๆ
คำถามต้องห้าม
1. หนูจะติดมั้ยคะ = คิดซะว่าเราต้องติดสิ คำถามนี้ไม่มีใครตอบได้หรอกครับ แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการคัดเลือกเอง เค้าจะรู้ก็ต่อเมื่อประมวลผลแล้ว
2. คะแนนหนูได้เท่านี้มีความหวังมั้ยคะ = เอ๋า ถ้าเราตัดสินใจเสี่ยงเราต้องหวังเป็นธรรมดาครับ เรามีความสุขได้เพราะเราสมหวัง แต่กว่าจะสมหวังได้เราก็ต้องผ่านความทุกข์เพราะความหวัง จุดเริ่มต้นของความสมหวังอยู่ที่ว่าเรากล้าที่จะ เสี่ยง หรือไม่
3. คิดว่าแนวโน้มปีนี้คะแนนจะสูงขึ้นหรือต่ำลง = มันตอบยากนะครับ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างมากที่จะทำให้คะแนนต่ำสุดเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุด คือ การเลือกของน้องๆ ที่ไม่มีใครทราบก่อนการประมวลผลว่า คนเลือกมากน้อยเพียงใด ได้คะแนนเท่าไหร่บ้าง
V. ปัจจัยที่ทำให้คะแนนต่ำสุดเปลี่ยนแปลง
1. คะแนนเฉลี่ยโอเน็ต และ GAT & PAT ที่อาจจะเฟ้อขึ้น โดยเฉพาะ GAT รอบล่าสุดมีคะแนนเฉลี่ยสูงถึง 172 คะแนน แต่ถ้าย้อนไปดูเด็กแอดมิชชั่นส์ 2553 รอบที่คะแนนเฉลี่ยสูงสุด เป็นรอบมีนาคม 2553 แค่ 131 คะแนน ต่างกันเยอะมาก
2. กระแสนิยมในปีนั้นๆ มีผลมากเหมือนกันว่าคนจะไปเลือกอะไร เช่น ระยะนี้คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์ บูมขึ้น ก็อาจจะส่งผลให้คะแนนต่ำสุดสูงขึ้น
3. คะแนนต่ำสุดของปีก่อนหน้านั้น อันนี้มีผลทางจิตวิทยามากเลยล่ะ โดยเฉพาะคณะที่คะแนนต่ำสุดเวอร์ๆ ของสถาบันชื่อดัง เช่น คณะนิติศาสตร์ เลือกสอบภาษาฝรั่งเศส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น คณะที่คะแนนต่ำสุดน้อยๆ แบบนี้ คนที่อยากเรียนจุฬาฯ มักจะแห่ไปเลือก ระวังให้มากเลย
4. จำนวนรับที่เปลี่ยนแปลง น้องๆ ไม่ใช่แค่เอาคะแนนต่ำสุดไปเทียบอย่างเดียวนะ น้องต้องตรวจสอบดูว่าจำนวนรับเปลี่ยนแปลงไปมากหรือไม่ เช่น คณะครุศาสตร์ รูปแบบรับรวม จุฬาฯ ปีที่แล้วรับ 360 คน ปีนี้ลดเหลือ 245 คน ก็อาจจะส่งผลให้คะแนนต่ำสุดสูงขึ้นได้
5. เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่เปลี่ยน บางคณะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำขึ้นมาในปีนี้ หรืออาจจะยกเลิกไปในปีนี้ ให้น้องตรวจสอบดูก่อน เพราะอาจมีผลต่อคะแนนต่ำสุดด้วย
1. คะแนนเฉลี่ยโอเน็ต และ GAT & PAT ที่อาจจะเฟ้อขึ้น โดยเฉพาะ GAT รอบล่าสุดมีคะแนนเฉลี่ยสูงถึง 172 คะแนน แต่ถ้าย้อนไปดูเด็กแอดมิชชั่นส์ 2553 รอบที่คะแนนเฉลี่ยสูงสุด เป็นรอบมีนาคม 2553 แค่ 131 คะแนน ต่างกันเยอะมาก
2. กระแสนิยมในปีนั้นๆ มีผลมากเหมือนกันว่าคนจะไปเลือกอะไร เช่น ระยะนี้คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์ บูมขึ้น ก็อาจจะส่งผลให้คะแนนต่ำสุดสูงขึ้น
3. คะแนนต่ำสุดของปีก่อนหน้านั้น อันนี้มีผลทางจิตวิทยามากเลยล่ะ โดยเฉพาะคณะที่คะแนนต่ำสุดเวอร์ๆ ของสถาบันชื่อดัง เช่น คณะนิติศาสตร์ เลือกสอบภาษาฝรั่งเศส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น คณะที่คะแนนต่ำสุดน้อยๆ แบบนี้ คนที่อยากเรียนจุฬาฯ มักจะแห่ไปเลือก ระวังให้มากเลย
4. จำนวนรับที่เปลี่ยนแปลง น้องๆ ไม่ใช่แค่เอาคะแนนต่ำสุดไปเทียบอย่างเดียวนะ น้องต้องตรวจสอบดูว่าจำนวนรับเปลี่ยนแปลงไปมากหรือไม่ เช่น คณะครุศาสตร์ รูปแบบรับรวม จุฬาฯ ปีที่แล้วรับ 360 คน ปีนี้ลดเหลือ 245 คน ก็อาจจะส่งผลให้คะแนนต่ำสุดสูงขึ้นได้
5. เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่เปลี่ยน บางคณะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำขึ้นมาในปีนี้ หรืออาจจะยกเลิกไปในปีนี้ ให้น้องตรวจสอบดูก่อน เพราะอาจมีผลต่อคะแนนต่ำสุดด้วย
VI. คณะที่ใช่กับมหาวิทยาลัยที่ชอบ
คนที่ 1
อันดับ 1 รัฐศาสตร์ IR จุฬาฯ
อันดับ 2 อักษรศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 3 นิติศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 4 จิตวิทยา จุฬาฯ
คนที่ 2
อันดับ 1 นิติศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 2 นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
อันดับ 3 สังคมศาสตร์ (นิติศาสตร์) ม.เกษตร
อันดับ 4 นิติศาสตร์ มช.
น้องคิดว่าคนไหนจะเรียนในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีความสุข ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบในอนาคต อย่างคนที่ 1 ตกลงเค้าสนใจด้านไหน อยากเรียนด้านไหนเหรอ หรือขอให้ได้เป็นนิสิตจุฬาฯ พี่อยากจะบอกว่า อย่าได้เลือกเพราะอยากอยู่สถาบันดังๆ เพราะน้องจะดีใจ ภูมิใจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ติดเท่านั้น แต่พอเรียนไปๆ น้องจะเกิดคำถามกับตัวเองว่า ทำไมมันยาก ทำไมคนอื่นเค้าเรียนแล้วมีความสุข คนอื่นเรียนแล้วเรียนดีกว่าเรา ก็เพราะเค้าได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบและเป็นความถนัดของเค้าครับ น้องจะได้แต่ดูคนอื่นเค้าเรียนอย่างมีความสุข แต่น้องก็ทุกข์ไปวันๆ คิดไม่ต้องว่าเรียนในสิ่งที่ไม่ถนัด จบไปก็ได้ทำงานที่ไม่ได้ชอบจริงๆ
อนาคตที่ดีและมีความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถาบันครับ แต่ขึ้นอยู่กับใจว่าเราได้หาในสิ่งที่ชอบให้กับตัวเองหรือไม่ อย่างถ้าน้องคนที่ 1 เค้าได้อันดับ 3 จบไปทำงานสายนิติศาสตร์ กับคนที่ 2 เค้าได้อันดับที่ 4 จบไปทำงานสายนิติศาสตร์เหมือนกัน คนที่ 2 จะมีความสุขกับหน้าที่การงานมากกว่า ทำงานอย่างมีความสุข ผลงานออกมาดี มีความก้าวหน้ามากกว่า คนที่ 1 ก็ทำงานด้วยความจำทน เพราะจบมาแล้ว ก็ต้องทำในสายที่จบมา หรือไม่ก็ฉีกแนวไปเลย
เด็กจุฬาฯ ไม่ว่าจะคณะไหน คณะดังๆ ก็มีเด็กซิ่วไม่น้อย ก็เพราะเค้าเป็นคนที่ 1 ที่เลือกเข้าจุฬาฯ มาเพราะใช้สถาบันตอบสนองคุณค่าทางจิตใจ แต่ 1 ปีที่ผ่านไปตัวเองกลับรู้สึกสุขไม่จริง เรียนไปวันๆ ก็ไร้ทิศทางและแรงบันดาลใจ เพราะไม่ได้ชอบด้านนี้จริงๆ หลังๆ เริ่มเรียนไม่เต็มที่เพราะเตรียมตัวซิ่วไปด้วย ซิ่วได้ก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ซิ่วไม่ได้ตามที่หวังก็ต้องกลับมารับความจริงที่อยู่ข้างหลังอีกครั้ง ดังนั้นโอกาสแรกของเราครั้งนี้ คิดให้ดีดีกว่านะครับ
สรุปจะเห็นว่า การจะมีความสุขหรือประสบความสำเร็จในอนาคต สถาบันไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญเท่าใจเรา คนไม่จบปริญญาตรีจุฬาฯ ก็ประสบความสำเร็จและพัฒนาตนเองได้ไม่ต่างกัน อยากจะเตือนน้องๆ ที่กำลังเหมือนคนที่ 1 ว่า น้องคิดดีหรือยังที่จะให้ความสำคัญกับสถาบันโดยไม่ได้คิดถึงความชอบที่มากที่สุดของตัวเอง เพราะน้องจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้ไม่มีความสุขอย่างแท้จริง จุฬาฯ อยู่แล้วจะไม่มีความสุขถ้าไม่ได้เรียนในคณะที่ถนัดจริงๆ แต่สถาบันอื่นๆ แม้ว่าชื่อเสียงไม่ดัง แต่ก็มีเอกลักษณ์ มีความน่าอยู่ในแบบฉบับของสถาบันนั้นๆ ถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่ชอบ เราจะปรับตัวแล้วใช้ชีวิตในสถาบันอย่างมีความสุขได้เองครับ
ลองไปคิดดีๆ นะครับ
VII. วิธีการประมวลผลคะแนนแอดมิชชั่นส์
น้องๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่า 4 อันดับที่เลือกไปแล้วเค้าประมวลผลอย่างไร ทำไมคะแนนติดกันแต่เราเลือกอันดับ 1 ไม่ติด คนเลือกอันดับ 2 ติดซะงั้น วิธีเป็นเช่นนี้ครับ
1. ระบบจะจัดเรียงคะแนนผู้สมัครที่เลือกอันดับ 1 ของทุกรหัสคณะเป็น list ให้ครบตามจำนวนรับของรหัสคณะนั้นเป็นขั้นตอนแรก เช่น รหัส 0036 รับ 245 คน ก็เรียงอันดับ 245 คนแรกที่เลือกรหัสนี้เป็นคณะอันดับ 1 ดังนั้นก็จะมีคนที่เลือกอันดับ 1 แล้วคะแนนไม่อยู่ในอันดับตามจำนวนรับ
ที่นี้ล่ะครับ มันจะเกิดเหตุการณ์แทรกอันดับ แล้วดันคนตกอันดับลงมาเรื่อยๆ
2. ระบบจะนำคนที่เลือกอันดับ 1 แล้วคะแนนไม่อยู่ในอับดับตามจำนวนรับของทุกรหัสคณะ มาพิจารณาอันดับ 2 ก็จะดูว่าคะแนนคณะอันดับ 2 มากกว่าต่ำสุดของคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ของรหัสคณะนั้นหรือไม่ ถ้าเกินก็จะเอารายชื่อไปแทรก list ดังนั้นมีคนตกอันดับ 1 แล้วยิ่งมาแทรกมาก คนที่เลือกอันดับ 1 แล้วมีอันดับอยู่ท้าย list ในขั้นตอนที่ 1 ก็ถูกคนกลุ่มอันดับ 2 ที่ไม่ติดอันดับ 1 มาแทรกอันดับบนใน list จนตก list ไปในที่สุด ระบบจะพิจารณาเรื่อยๆ จนคณะประมวลคณะอันดับที่ 2 ของคนที่ไม่อยู่ใน list ขั้นตอนที่ 1 และคนที่ถูกแทรกในขั้นตอนที่ 2 เบียดตกลงมาพิจารณาคณะอันดับที่ 2 ใหม่อีก
3. ระบบจะพิจารณาคณะอันดับ 3 ของคนที่ถูกเบียดตก list ขั้นตอนที่ 2 หรือไม่เคยอยู่ใน list ทั้ง 2 ขั้นตอน โดยจับแทรกอันดับใน list อีก ก็จะมีคนที่ตก list มาอีก
4. ระบบจะพิจารณาคณะอันดับ 4 ครั้งสุดท้ายครับ อันดับ 4 ถ้าถูกเบียดตก หรือไม่ได้รับการพิจารณาก็พลาดการคัดเลือกในที่สุด
ดังนั้นถ้าชื่อน้องอยู่ใน list ขั้นตอนที่ 1 คือเลือกคณะอันดับ 1 แล้วอยู่อันดับบนๆ คะแนนสูงมาก เช่น นิติศาสตร์ ได้ 25,000 ต่อให้ผ่าน 4 ขั้นตอน จะถูกคนอื่นแทรกยังไงก็ไม่ตก list แน่นอน กลายเป็นเทวดา นางฟ้า บน list อยู่วันยังค่ำ
แต่ถ้าเราอยู่ท้ายๆ list ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ก็จงภาวนาว่าอย่าให้คนอื่นมาเบียดจนตก list ไป
สรุป คือ คะแนนสำคัญกว่าอันดับคณะ แม้ว่าเราจะเลือกคณะนี้อันดับ 1 ถ้าคะแนนเราน้อยกว่าอีกคนที่เลือกคณะนี้เป็นอันดับ 2 ถ้าเค้าไม่ถูกจัดใน list ขั้นตอนแรก คือ คณะอันดับ 1 ที่เค้าเลือกคะแนนไม่ถึง เค้าจะมีมาแทรกอันดับบนใน list ที่เราอยู่ อันดับเราก็ตกลงมา และมีโอกาสติดสูงกว่าเรานะ
VIII. วันประกาศผล
ประกาศก่อนทุกปีครับ ก่อนวันประกาศผลทางการที่แจ้งวัน 4-5 วันเลย วันประกาศผลยอดฮิต คือ 4-7 พฤษภาคม ต้นเดือนพฤษภาคมเมื่อไหร่ น้องๆ เกาะติดหน้าจอคอมพิวเตอร์รอฟังข่าวได้เลย แต่ก็อย่าลืมพักผ่อน ไม่กดดันตัวเอง อย่าไปกังวลมาก คนจะติดอันดับ 1 อะไรก็ฉุกไม่อยู่นะ
IX. เทคนิคการสัมภาษณ์
"มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์" เป็นคำที่น้องๆ ทุกคนอยากเห็นเมื่อประกาศผลมากที่สุด เมื่อวันสอบสัมภาษณ์มาถึงเราควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้นะครับ
1. แต่งกายด้วยชุดนักเรียนที่ดูเรียบร้อย น่ารัก เหมาะสมกับการเป็นนักเรียน
2. ดูแลความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะผม เล็บ อย่ามาแบบเหงื่อโชกนะครับ
3. เดินทางมาที่สถานที่สอบสัมภาษณ์ก่อนเวลาสัก 15-30 นาที เพื่อทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย และสำรวจสถานที่ต่างๆ
4. เตรียมเอกสารให้ครบ อย่าลืมรับรองสำเนาถูกต้องนะครับ
5. สิ่งแรกที่เจออาจารย์กรรมการ อย่าลืมมารยาทอันดีงาม "การไหว้"
6. ทำตัวเป็นนางงามเข้าไว้นะครับ "ยิ้ม พูดเพราะ แอ๊บน่ารักไว้แต่พองาม"
7. ตอบคำถามที่เป็นตัวเอง ซื่อสัตย์ ไม่สร้างภาพ และสำรวม
8. ก่อนกลับก็อย่าลืมลาด้วย "สวัสดีครับ/ค่ะ" หากน้องมีอะไรสงสัยประการใดถามอาจารย์กรรมการได้เลยนะครับ แต่อย่ายาวนะ สั้นๆ พอ
คำถามที่มักจะพบเจอในการสอบสัมภาษณ์
- แนะนำตัวเอง
- ข้อมูลการศึกษา
- สิ่งที่สนใจ
- สภาพครอบครัว รายได้ ความจำเป็นต่างๆ
- แสดงเหตุผลที่ต้องการศึกษาต่อในคณะนี้
- ทำไมถึงอยากเรียนคณะนี้
- ทำไมถึงต้องเรียนที่นี่
- หากไม่ได้เลือกคณะนี้เป็นอันดับ 1 ก็จะถามว่าทำไมถึงอยากเรียนในคณะอันดับ 1 แล้วจะเรียนคณะที่ติดได้ไหม
- หากอยู่ต่างจังหวัดก็อาจจะถูกถามว่า ทำไมไม่เรียนสถาบันใกล้บ้าน
- ตั้งโจทย์ตุ๊กตาถามทรรศนะตามบริบทของแต่ละสาขาวิชา เช่น ภาษาฝรั่งเศสก็อาจจะให้แสดงความคิดเห็นเป็นภาษาฝรั่งเศส หรือสังคมศึกษาก็ให้แสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
- คำถามท้าทาย กดดัน หรือกวนประสาท ยั่วโมโห เช่น มันหนักนะ ต้องเจอสิ่งนี้นะ จะไหวเหรอ
- การปรับตัวเข้าสู่ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เช่น ที่อยู่อาศัย การเดินทาง
ทั้งนี้ การสอบสัมภาษณ์ในระบบแอดมิชชั่นส์จะไม่มีการคัดออก ตอบได้เป็นพอ ไม่ต้องเครียดว่าให้ดีเลิศ ตราตรึงใจอาจารย์กรรมการ พยายามทำเหมือนว่าเค้าชวนเราคุย เราก็คุยด้วยอาการปกติ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ภาษากึ่งสนทนา เหมือนเราคุยกับผู้ใหญ่
2. ดูแลความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะผม เล็บ อย่ามาแบบเหงื่อโชกนะครับ
3. เดินทางมาที่สถานที่สอบสัมภาษณ์ก่อนเวลาสัก 15-30 นาที เพื่อทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย และสำรวจสถานที่ต่างๆ
4. เตรียมเอกสารให้ครบ อย่าลืมรับรองสำเนาถูกต้องนะครับ
5. สิ่งแรกที่เจออาจารย์กรรมการ อย่าลืมมารยาทอันดีงาม "การไหว้"
6. ทำตัวเป็นนางงามเข้าไว้นะครับ "ยิ้ม พูดเพราะ แอ๊บน่ารักไว้แต่พองาม"
7. ตอบคำถามที่เป็นตัวเอง ซื่อสัตย์ ไม่สร้างภาพ และสำรวม
8. ก่อนกลับก็อย่าลืมลาด้วย "สวัสดีครับ/ค่ะ" หากน้องมีอะไรสงสัยประการใดถามอาจารย์กรรมการได้เลยนะครับ แต่อย่ายาวนะ สั้นๆ พอ
คำถามที่มักจะพบเจอในการสอบสัมภาษณ์
- แนะนำตัวเอง
- ข้อมูลการศึกษา
- สิ่งที่สนใจ
- สภาพครอบครัว รายได้ ความจำเป็นต่างๆ
- แสดงเหตุผลที่ต้องการศึกษาต่อในคณะนี้
- ทำไมถึงอยากเรียนคณะนี้
- ทำไมถึงต้องเรียนที่นี่
- หากไม่ได้เลือกคณะนี้เป็นอันดับ 1 ก็จะถามว่าทำไมถึงอยากเรียนในคณะอันดับ 1 แล้วจะเรียนคณะที่ติดได้ไหม
- หากอยู่ต่างจังหวัดก็อาจจะถูกถามว่า ทำไมไม่เรียนสถาบันใกล้บ้าน
- ตั้งโจทย์ตุ๊กตาถามทรรศนะตามบริบทของแต่ละสาขาวิชา เช่น ภาษาฝรั่งเศสก็อาจจะให้แสดงความคิดเห็นเป็นภาษาฝรั่งเศส หรือสังคมศึกษาก็ให้แสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
- คำถามท้าทาย กดดัน หรือกวนประสาท ยั่วโมโห เช่น มันหนักนะ ต้องเจอสิ่งนี้นะ จะไหวเหรอ
- การปรับตัวเข้าสู่ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เช่น ที่อยู่อาศัย การเดินทาง
ทั้งนี้ การสอบสัมภาษณ์ในระบบแอดมิชชั่นส์จะไม่มีการคัดออก ตอบได้เป็นพอ ไม่ต้องเครียดว่าให้ดีเลิศ ตราตรึงใจอาจารย์กรรมการ พยายามทำเหมือนว่าเค้าชวนเราคุย เราก็คุยด้วยอาการปกติ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ภาษากึ่งสนทนา เหมือนเราคุยกับผู้ใหญ่
อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2121497#ixzz1KWWAUVZd
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น