สมาร์ทโฟน หรือโทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสารยุคปัจจุบันที่แสนจะสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการสื่อสาร บันเทิงก็ดี แต่รู้หรือไม่ว่าการนำสมาร์ทโฟนเข้ามาในห้องนอนด้วย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่หลายๆคนทำกัน จะมีผลเสียมากกว่าที่เราคิดเสียอีกนะ
แสงสีฟ้าจากมือถือหยุดยั้งการทำงานของเมลาโทนินได้
แสงสีฟ้าที่ว่านี้ถูกค้นพบโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแล้วว่า เป็นตัวการที่ระรานฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่คล้ายนาฬิกาธรรมชาติในร่างกายของเรา อีกทั้งยังเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับพักผ่อนอย่างถูกจังหวะเวลา ดังนั้นเมื่อมีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ในห้องนอนก็จะทำให้เรานอนหลับไม่สนิท นอนหลับดึกกว่าที่ควรจะเป็น
ความยั่วยวนให้เล่นต่อ จนนอนไม่หลับ
นักวิจัยชาวนอร์เวย์ค้นพบว่า อุปกรณ์สื่อสารและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จะเย้ายวนใจจนทำให้ผู้เล่นวางไม่ลง อีกทั้งแสงสว่างหน้าจอ รวมไปถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆอาจทำให้สมองตื่นตัวจนลืมความรู้สึกง่วง และสำหรับคนที่อ่อนไหวต่อเสียงเตือนของสมาร์ทโฟนมากๆ แบบที่ต้องตื่นมาเช็กโทรศัพท์เป็นระยะ นิสัยนี้อาจทำให้สร้างความเคยชินจนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
น้ำหนักขึ้นไม่รู้ตัว
อย่างที่บอกว่าสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสาเหตุที่ทำให้เรานอนไม่หลับ ทั้งนี้ก็มีผลการวิจัยยืนยันจากทั้งสถาบัน One childhood, Brigham Young University และสถาบันการพยาบาลพบว่า การที่ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบต่อทำงานของระบบเผาผลาญของร่างกาย อีกทั้งยิ่งนอนดึกมากเท่าไรก็เท่ากับมีเวลาให้กินอาหารมากขึ้นเท่านั้น
นอนดึกตื่นสายอันตรายกว่าที่คิด
ผลสำรวจจาก NSF พบว่า กลุ่มเด็กอาสาที่พกสมาร์ทโฟน, แท็บเลต และโน๊ตบุ๊กเข้าห้องนอนด้วย มีสถิติการนอนหลับสั้นกว่า นอกจากนี้เด็กกลุ่มดังกล่าวก็มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำที่ด้อยลง ศักยภาพในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็ไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังพบความเหนื่อยล้าในระหว่างวัน และสัญญาณสุขภาพที่น่าเป็นห่วงอีกหลายประการ
อยู่บนเตียงแต่ไม่ยอมนอนจะยิ่งนอนหลับยาก
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการนอนหลับแนะนำให้ใช้เตียงนอนเพื่อนอนหลับพักผ่อนอย่างเดียวเท่านั้น หรือหากลองนอนไปแล้วสักพักแต่ตายังสว่าง ให้ลุกจากเตียงมาอ่านหนังสือหรือฟังเพลงจนรู้สึกง่วงอีกครั้ง แล้วค่อยกลับไปนอน และอย่าหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาแชทหรือเปิดทีวีดูเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นคงไม่ได้นอนจนเกือบสว่างแน่ๆ
ข้อมูลจาก: sharesara
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น