คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ทำการเปิดสอนหลักสูตร พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร เป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานอาชีพอุตสาหกรรมเกษตรควบคู่ไปกับการตลาด ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตให้เป็นนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีความรู้ความสามารถดีเยี่ยมในการที่จะคิดค้นพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ทาง อุตสาหกรรมเกษตรทั้งที่เป็นอาหาร กึ่งอาหาร และมิใช่อาหาร ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ด้วยการตระหนักในความสำคัญของการบรรจุที่มีต่อคุณภาพและการตลาดของผลิตภัณฑ์เกือบทุกประเภท กอปรกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจของประเทศและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลก ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบรรจุ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งมุ่งเน้นให้เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และ การบริหาร มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ และความสามารถในกระบวนการผลิตวัสดุบรรจุ การผลิตภาชนะบรรจุ ระบบการบรรจุ เครื่องจักร เครื่องมือทางการบรรจุ การออกแบบภาชนะบรรจุ ให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์และการตลาด
และเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ คณะอุตสาหกรรมเกษตรเป็นผู้นำในการเปิดหลักสูตรภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเสริมความเข้มแข็งในกระบวนการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการผลิตสารชีวภาพต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีการตัดต่อยีน การค้นหาและสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสมุนไพรเป็นการผสมผสานความรู้ด้านชีวเคมี จุลชีววิทยา และวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน
เมื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ เป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้จำนวนมหาศาลเข้าสู่ประเทศ แต่ยังคงขาดแคลนบุคลากรในระดับนักวิชาการและผู้ควบคุมการผลิต ที่มีความรู้ความสามารถในการที่จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการในระบบอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตรจึงได้ก่อตั้ง หลักสูตรวิทยาการสิ่งทอ จึงมุ่งเส้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในทุกขั้นตอนของการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐและเอกชน โดยกำหนดหลักสูตรให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสิ่งทอ เคมีสิ่งทอ กระบวนการผลิตสิ่งทอ และเทคโนโลยีการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนการออกแบบการตลาด และการจัดการสินค้าสิ่งทอ เพื่อให้สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศ
สุดท้ายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรรมเกษตรจำเป็นต้องสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ ในด้านการวิจัย และการปฏิบัติเชิงบริหาร เพื่อเป็นการเสริมความรู้ความชำนาญทางการบริหารและการจัดการเทคโนโลยีเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางอุตสาหกรรมเกษตร ที่มีวิสัยทัศน์ทางด้านการบริหารและการจัดการเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตรจึงได้มีโครงการจัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรขึ้น เพื่อผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเสริมให้บุคลากรทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรสามารถก้าวหน้า ในตำแหน่งบริหารงานในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและเป็นการพัฒนาวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร
สุดท้ายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรรมเกษตรจำเป็นต้องสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ ในด้านการวิจัย และการปฏิบัติเชิงบริหาร เพื่อเป็นการเสริมความรู้ความชำนาญทางการบริหารและการจัดการเทคโนโลยีเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางอุตสาหกรรมเกษตร ที่มีวิสัยทัศน์ทางด้านการบริหารและการจัดการเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตรจึงได้มีโครงการจัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรขึ้น เพื่อผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเสริมให้บุคลากรทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรสามารถก้าวหน้า ในตำแหน่งบริหารงานในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและเป็นการพัฒนาวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร
ปัจจุบัน คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดสอนทั้งหมด 6 ภาควิชา คือ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ และภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร เปิดสอนทั้งหมดในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ทั้งนี้นิสิตระดับปริญญาตรีทุกคนต้องผ่านการฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อนำความรู้ทางทฤษฏีไปประยุกต์ใช้ และเป็นการเตรียมความพร้อมในการทำงานของนิสิตในอนาคต
รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก จากหกพันล้านคนในปัจจุบัน เป็นหนึ่งหมื่นล้านคน ในปี 2050 ตามการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก และปรากฏการณ์โลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยทั่วโลกต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ในขณะที่ปี 2015 การเปิดประชาคมอาเซียนนั้น ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายมิติเช่นกัน และผลกระทบนั้นมีทั้งวิกฤตและโอกาส ดังนั้น ”อุตสาหกรรมเกษตร” จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เช่น การคิดค้นพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างความแตกต่าง การผลิตสินค้าให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน รวมไปถึงการขนส่งและโลจิสติกส์ ให้สามารถถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี คณะอุตสาหกรรเกษตร มก.ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนการสอนต้นแบบสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย ได้สร้างสรรค์บัณฑิตคุณภาพและผลงานวิจัยต่างๆมากมาย และเชื่อมั่นว่า ความสำคัญของสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตรที่มีต่อสังคมในระดับประเทศและระดับนาชาติ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในยุคของการแข่งขันการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ”
ด้าน รศ.ดร.สิริ ชัยเสรี คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มก. กล่าวว่า คณะอุตสาหกรรมเกษตร มก. จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2523 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากผลผลิตผลทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมให้ตอบสนองต่อคงความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถส่งออกและแข่งขันในตลาดโลกได้
สำหรับการประกอบอาชีพของบัณฑิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร สามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ โรงงานอุตาสหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เช่น ทำงานในฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ รับราชการ เป็นอาจารย์ เป็นนักวิจัย ประกอบกิจการส่วนตัว หรือศึกษาต่อระดับสูงในสาขาต่างๆ
รศ.ดร.สิรี กล่าวต่อว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรและนิสิต คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำองค์ความรู้ไปสร้างสรรค์ผลงานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก
“ล่าสุดนักวิจัยภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้นำเสนอแนวคิดที่อาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการแปรรูปและความปลอดภัยในอาหารเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภค โดยการผลิตไส้บรรจุต้านจุลินทรีย์ เพื่อทำให้ไส้บรรจุไส้กรอกมีความสามารถในการทำลายแบคทีเรียก่อโรคที่มีอาหารเป็นพาหะ โดยเฉพาะเชื้ออลิสทีเรีย โมโนไซโทจีเนส ตัวการสำคัญในการคร่าชีวิตและทำให้ผู้คนมากมายล้มป่วย เช่นเดียวกับโรคระบาดครั้งใหญ่เมื่อปี 2008 ที่ประเทศแคนาดา งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เราได้ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกพร้อมบริโภค รวมถึงฮอทด็อก ที่มีความปลอดภัยตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาจนถึงมือผู้บริโภค อีกทั้งงานวิจัยดังกล่าว ยังได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ จากการประชุมวิชาการ Shelf Life International Meeting (SLIM)2012 ในหัวข้อ New Food Processing Technologies ณ เมือง Changwon สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา"
รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก จากหกพันล้านคนในปัจจุบัน เป็นหนึ่งหมื่นล้านคน ในปี 2050 ตามการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก และปรากฏการณ์โลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยทั่วโลกต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ในขณะที่ปี 2015 การเปิดประชาคมอาเซียนนั้น ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายมิติเช่นกัน และผลกระทบนั้นมีทั้งวิกฤตและโอกาส ดังนั้น ”อุตสาหกรรมเกษตร” จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เช่น การคิดค้นพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างความแตกต่าง การผลิตสินค้าให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน รวมไปถึงการขนส่งและโลจิสติกส์ ให้สามารถถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี คณะอุตสาหกรรเกษตร มก.ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนการสอนต้นแบบสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย ได้สร้างสรรค์บัณฑิตคุณภาพและผลงานวิจัยต่างๆมากมาย และเชื่อมั่นว่า ความสำคัญของสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตรที่มีต่อสังคมในระดับประเทศและระดับนาชาติ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในยุคของการแข่งขันการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ”
ด้าน รศ.ดร.สิริ ชัยเสรี คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มก. กล่าวว่า คณะอุตสาหกรรมเกษตร มก. จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2523 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากผลผลิตผลทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมให้ตอบสนองต่อคงความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถส่งออกและแข่งขันในตลาดโลกได้
สำหรับการประกอบอาชีพของบัณฑิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร สามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ โรงงานอุตาสหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เช่น ทำงานในฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ รับราชการ เป็นอาจารย์ เป็นนักวิจัย ประกอบกิจการส่วนตัว หรือศึกษาต่อระดับสูงในสาขาต่างๆ
รศ.ดร.สิรี กล่าวต่อว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรและนิสิต คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้นำองค์ความรู้ไปสร้างสรรค์ผลงานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก
“ล่าสุดนักวิจัยภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้นำเสนอแนวคิดที่อาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการแปรรูปและความปลอดภัยในอาหารเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภค โดยการผลิตไส้บรรจุต้านจุลินทรีย์ เพื่อทำให้ไส้บรรจุไส้กรอกมีความสามารถในการทำลายแบคทีเรียก่อโรคที่มีอาหารเป็นพาหะ โดยเฉพาะเชื้ออลิสทีเรีย โมโนไซโทจีเนส ตัวการสำคัญในการคร่าชีวิตและทำให้ผู้คนมากมายล้มป่วย เช่นเดียวกับโรคระบาดครั้งใหญ่เมื่อปี 2008 ที่ประเทศแคนาดา งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เราได้ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกพร้อมบริโภค รวมถึงฮอทด็อก ที่มีความปลอดภัยตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาจนถึงมือผู้บริโภค อีกทั้งงานวิจัยดังกล่าว ยังได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ จากการประชุมวิชาการ Shelf Life International Meeting (SLIM)2012 ในหัวข้อ New Food Processing Technologies ณ เมือง Changwon สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา"
Credit Manager.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น